Author: webmaster

ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาแรงงานต่างด้าวถือเป็นกลุ่มบุคคลสำคัญที่มีส่วนช่วยพัฒนาธุรกิจให้เดินหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ แทบทุกบริการหรือกลุ่มงานอุตสาหกรรมจำเป็นต้องใช้ทักษะ ความเชี่ยวชาญจากพวกเขาเหล่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตามการนำเข้าแรงงานต่างด้าวในปัจจุบันมีข้อกำหนดระบุเอาไว้ชัดเจนว่าต้องทำตามเงื่อนไข MOU คำถามที่น่าสนใจสำหรับนายจ้างหลายคนคงหนีไม่พ้น MOU คืออะไร มีความสำคัญต่อการจ้างแรงงานต่างด้าวมากแค่ไหน มีคำตอบมาบอกแล้ว ตอบข้อสงสัย MOU คืออะไร MOU หรือ Memorandum Of Understanding หนังสือหรือเอกสารที่มีการบันทึกข้อตกลง หลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติต่าง ๆ เอาไว้เพื่อให้เกิดความเข้าใจกันในทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน บุคคลทั่วไป ทั้งนี้ต้องมีการลงลายมือชื่อของตัวแทนแต่ละฝ่ายในฐานะของการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันให้มีผลการบังคับใช้ตามรายละเอียดที่ระบุเอาไว้ อย่างไรก็ตามเนื้อหาใน MOU อาจระบุทุกสิ่งที่ต้องปฏิบัติลงไปอย่างชัดเจนเพื่อขจัดข้อสงสัย ความกังวลใจ หรืออาจมีการอธิบายข้อมูลแบบหลวม ๆ โดยหวังให้ทุกฝ่ายเห็นพ้องและปฏิบัติตามความเหมาะสม MOU แรงงานต่างด้าว คืออะไร ขณะที่ MOU แรงงานต่างด้าว คือ เป็นหนังสือที่มีการทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศไทย เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา เกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ ในการนำเข้าแรงงานของทั้ง 3 ประเทศที่จะเข้ามาทำงานในราชอาณาจักรไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย...

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในหลายสายอาชีพ หรือกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมแทบทั้งหมดจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าวเข้ามาเป็นพนักงานสำหรับจัดการหน้าที่ต่าง ๆ ให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าไปได้อย่างคล่องตัว ซึ่งองค์กรใดหากต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวก็ควรต้องรู้วิธีนำเข้าแรงงานเหล่านี้อย่างถูกต้องเพื่อให้มั่นใจว่าไม่ใช่การกระทำที่ผิดกฎหมายเพราะหากถูกตรวจสอบก็อาจต้องเสียค่าปรับหรือถึงขั้นจำคุกกันเลยทีเดียว นายจ้างที่กำลังจะนำเข้าแรงงานต่างด้าวครั้งแรกต้องอ่านข้อมูลเหล่านี้เลย การนำเข้าแรงงานต่างด้าวต้องทำตามข้อกำหนด MOU สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับนายจ้างที่ต้องการแรงงานต่างด้าวต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของ MOU (บันทึกข้อตกลง) โดยสามารถทำได้ดังนี้ ยื่น Demand Letter (คำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าว) ส่งไปยังตัวแทนของประเทศต้นทางให้ทำการคัดเลือกแรงงานที่มีความเหมาะสม เมื่อประเทศต้นทำดำเนินการเรียบร้อยก็จะส่งบัญชีรายชื่อกลับมาให้ ยื่นบัญชีแรงงานไปยังเอเจนซี่ของประเทศต้นทางพร้อมแนบเอกสาร  ตท.2 และเอกสารประกอบอื่น ๆ ไปยัง สจจ. / สจก. ซึ่งเอกสารได้แก่  หนังสือรับรองบริษัท (กรณีนิติบุคคล) บัตรประชาชนนายจ้าง ทะเบียนบ้านนายจ้าง แผนที่สถานที่ทำงาน รูปถ่ายสถานที่ทำงานและที่พักของแรงงานต่างด้าว หากเป็นกิจการก่อสร้างต้องมีสัญญาว่าจ้างการก่อสร้าง รายละเอียดความต้องการเกี่ยวกับสวัสดิการต่าง ๆ ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 1,900 บาท ทั้งนี้หากนายจ้างดำเนินการด้วยตนเองทั้งหมดต้องทำการวางเงินประกันตั้งแต่ 1,000 บาท สูงสุด 100,000 บาท...

ทุกวันนี้การจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานถือเป็นสิ่งที่นายจ้างจำนวนมากนิยมทำในหลายประเภทธุรกิจ ด้วยปัจจัยสำคัญคือแรงงานเหล่านี้ถูกคัดสรรมาอย่างดีในด้านของการมีทักษะ บวกกับความขยัน อดแทน มุ่งมั่นในหน้าที่ของตนเอง อย่างไรก็ตามการจะจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของ MOU ซึ่งทั้งตัวนายจ้างและลูกจ้างต่างด้าวทุกคนควรรู้เอาไว้เพื่อปฏิบัติตามขั้นตอนให้ถูกต้อง ไม่กังวลใจด้านการถูกปรับหรือส่งตัวกลับประเทศ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ MOU ของแรงงานต่างด้าว การทำ MOU ของแรงงานต่างด้าวเป็นเงื่อนไขสัญญาระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ว่าด้วยเรื่องของการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศไทยภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในด้านของการจ้างงาน (Memorandum of Understanding : MOU)  ทุกอย่างต้องเป็นไปตามขั้นตอน มีค่าใช้จ่ายเห็นพ้องว่าเหมาะสมกับทุกฝ่าย และเมื่อครบวาระการทำงาน 4 ปี หลังจากนั้นเมื่อต่ออายุจะได้อีก 2 ปี และยังต่อได้อีก 2 ปี รวมทั้งสิ้นสามารถทำงานได้ตาม MOU  เป็นเวลา 8 ปี ก่อนจะส่งกลับประเทศ หรือกรณีที่มีมติ ครม. อื่นใดก็สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวได้ การลงนาม MOU...

ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันแรงงานต่างด้าวยังคงถือเป็นกำลังสำคัญในหลายภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ ทว่านับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคส่งผลกระทบโดยตรงต่อปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าว นั่นจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ทางคณะรัฐมนตรีต้องมีการประชุมเรื่องนี้กันอย่างเร่งด่วน กระทั่งมีมติ ครม. ออกมาล่าสุดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 เห็นชอบให้มีการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานต่างด้าวด้วยการปรับข้อกฎหมายบางตัวรองรับตามความเหมาะสมของสถานการณ์ในปัจจุบัน มาศึกษามติในเรื่องนี้กันได้เลย มติ ครม. ล่าสุด 5 กรกฎาคม 2566 แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานต่างด้าว คณะรัฐมนตรีได้มีการลงมติเห็นชอบในเรื่องแนวทางบริหารจัดการเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมายจากการเสนอของกระทรวงแรงงาน ทั้งกลุ่มแรงงานเถื่อน แรงงานที่ไม่มีเอกสาร การเข้ามาเมือไทงแบบผิดกฎหมาย แรงงานที่อยู่ตามสัญญา MOU 4 หรือ 6 ปี แล้วแจ้งออกเกิน 60 วัน รวมถึงผู้ที่ยังดำเนินการตามมติต่าง ๆ ไม่เรียบร้อย ประกอบด้วย 1. เห็นชอบด้านบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กลุ่มแรงงานที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ประสงค์ทำงานต่อสามารถอยู่ได้ชั่วคราวจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 แต่มีเงื่อนไขต้องดำเนินการตามประกาศที่กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงานได้ออกไว้ ได้แก่ 1.1 แรงงานต่างด้าว 4...

หากมองย้อนกลับไปในตลาดแรงงาน กลุ่มแรงงานต่างด้าวถือเป็นบุคคลที่เข้ามาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเมืองไทยมายาวนานหลายทศวรรษมาก ด้วยบางอาชีพคนไทยไม่นิยมทำกันแล้ว เช่น กรรมกรแบกหาม อาชีพด้านการเกษตร การประมง กลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง นั่นจึงเป็นเหตุผลให้สถานประกอบการหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการเลือกจ้างแรงงานต่างด้าว อย่างไรก็ตามการจัดการภายในที่ดีก็มีส่วนสำคัญเพื่อให้นายจ้างมั่นใจว่าพวกเขาจะไม่มีผลกระทบใด ๆ ตามมา ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้หากขาดการจัดการภายในแรงงานต่างด้าวที่ดี 1. ปัญหาในด้านเศรษฐกิจ ต้องอธิบายว่าแรงงานต่างด้าวไม่ได้สร้างความเสียหายในภาคเศรษฐกิจขนาดใหญ่อะไร แต่ในมุมของแรงงานไทยนี่เป็นสิ่งที่สร้างความน่ากังวลใจอยู่ไม่น้อยหากขาดการจัดการภายในที่ดี กลุ่มคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในบ้านเรามีเป้าหมายชัดเจนอยู่แล้วว่าพวกเขาต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เมืองไทยจ้างด้วยจำนวนเงินมากกว่า แม้อีกมุมของแรงงานไทยมองว่าไม่เพียงพอแต่เมื่อแรงงานต่างด้าวพึงพอใจนายจ้างก็พร้อมจ้างพวกเขามากกว่า ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาคครัวเรือนของแรงงานนั่นเอง 2. ปัญหาในด้านสังคม คนเราร้อยพ่อพันแม่ย่อมมีความคิด การกระทำแตกต่างกันออกไป สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้อย่างหนึ่งคือแรงงานต่างด้าวบางคนก็มักสร้างปัญหาให้กับสังคมไทยไม่น้อย เช่น การเสพยาเสพติด ปัญหาเชิงอาชญากรรม มีผลกระทบชัดเจนต่อคุณภาพชีวิตของคนไทยจำนวนไม่น้อย แม้จะบอกว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่แค่ต่างด้าวแต่คนไทยก็มักสร้างปัญหาเองได้ ทว่าในอีกมุมหนึ่งมันก็เป็นปัญหาที่ควรมีการจัดการภายในให้ดีเพื่อลดอัตราการเกิดขึ้น 3. ปัญหาในด้านสาธารณสุข  บุคลาการทางการแพทย์ของเมืองไทยต้องยอมรับว่ายังน้อยมากหากเทียบกับปริมาณคนไข้ที่เข้ารักษาตัวในแต่ละวัน เมื่อต้องบวกกับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานก็ทำให้ภาระงานของคนกลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้น ประสิทธิภาพในการรักษาย่อมลดลงเป็นเรื่องปกติ สร้างผลกระทบโดยตรงต่อแรงงานจำนวนไม่น้อย รวมถึงคนไทยทั่วประเทศ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ใช่ว่าพวกเขาไม่มีสิทธิ์เข้ารับการรักษาใด ๆ หากเจ็บป่วยทุกคนสามารถพบแพทย์เพื่อดูแลสุขภาพตนเอง เป็นพื้นฐานเท่าเทียมในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง 4. ปัญหาในด้านความมั่นคง อาจถูกมองเป็นเรื่องท้าย ๆ แต่ความจริงก็ยังมีกลุ่มคนต่างด้าวที่พยายามลักลอบเข้ามาในเมืองไทยอยู่พอสมควรโดยเฉพาะตามตะเข็บชายแดนที่มีแนวเขาสูง ป่ารกชัฏ ยากต่อการค้นหาตรวจตราของเจ้าหน้าที่ ในมุมของความมั่นคงอาจไม่ถึงขั้นมีการประท้วงของแรงงาน หรือมีการยึดพื้นที่ใด ๆ แต่คงไม่ใช่เรื่องดีอยู่แล้วหากมีคนพยายามหนีเข้ามายังประเทศไทย...

ยังคงเป็นคำถามในหลายอุตสาหกรรมแรงงานของเมืองไทย การที่นายจ้างตัดสินใจเลือกจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานเป็นการแย่งงานคนไทยจริงหรือไม่ มากไปกว่านั้นเหตุผลที่นายจ้างเลือกจ้างกลุ่มคนเหล่านี้ย่อมมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงอยากพาทุกคนมาทำความเข้าใจอย่างละเอียดเกี่ยวกับคำถามทั้งหมด เพื่อให้เกิดความกระจ่างพร้อมสร้างความมั่นใจว่าคนไทยเองยังคงมีงานที่ดีเหมาะกับทักษะแบบไร้กังวล แรงงานต่างด้าวแย่งงานคนไทยจริงหรือไม่ ลำดับแรกต้องทำความเข้าใจก่อนว่าจำนวนแรงงานต่างด้าวในเมืองไทยจากสถิติของสภาอุตสาหกรรมแห่งชาติ หรือ ส.อ.ท. มีกลุ่มคนเหล่านี้อยู่ประมาณ 1.4 ล้านคน ซึ่งเมื่อเทียบกับจำนวนแรงงานไทยแล้วยังนับว่าต่างกันอยู่พอสมควร ประกอบกับมีกฎหมายระบุชัดเจนเกี่ยวกับอาชีพที่แรงงานต่างด้าวไม่สามารถทำได้อยู่พอสมควร เช่น งานด้านการขับขี่ยานยนต์ งานเสริมสวย งานนายหน้า / ตัวแทน งานนวดไทย งานมัคคุเทศก์ งานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย งานหาบเร่ขายสินค้า ฯลฯ จาก 2 ปัจจัยนี้ก็พอจะบอกได้ในระดับหนึ่งว่าแท้จริงแล้วพวกเขาไม่ได้เข้ามาแย่งงานคนไทย แต่เป็นอีกกลุ่มคนสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าดีขึ้นกว่าเดิม เทียบง่าย ๆ ในช่วงที่เกิดโรคระบาดขึ้นหลายโรงงาน หลายอุตสาหกรรมต้องเผชิญกับวิกฤตขาดแรงงานจำนวนมาก ส่งผลถึงขั้นปรับกลยุทธ์ เปลี่ยนแนวทางของตนเองไปเลยก็มี อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับคือ จำนวนสถิติตัวเลขของแรงงานต่างด้าวนั้นคือกลุ่มคนที่มีการขึ้นบัญชีแบบถูกต้องตามกฎหมาย แต่ถ้าไปสำรวจแรงงานที่ทำงานจริงก็จะพบว่ายังมีแรงงานข้ามชาติอีกจำนวนไม่น้อยที่ทำงานแบบไม่มีใบอนุญาต และบางงานนายจ้างก็ยินดีรับพวกเขา นี่จึงอาจเป็นอีกเหตุผลที่สร้างความกังวลใจเรื่องคนไทยโดนแย่งงาน  แต่ทั้งนี้ก็ยังมีกฎหมายเรื่องบทลงโทษสำหรับผู้จ้างแรงงานต่างด้าวแบบไม่ถูกต้องตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งจะไม่มีการยกเว้นใด ๆ ทั้งสิ้น โทษมีตั้งแต่การสั่งปรับแรงงานตั้งแต่ 5,000 – 50,000...

กลุ่มธุรกิจบริการคืออีกประเภทที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของเมืองไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวด้วยเมืองไทยของเราแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย ยิ่งหลังการแพร่ระบาดที่ธุรกิจประเภทนี้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งธุรกิจจึงเกิดความต้องการแรงงานเป็นอย่างมาก แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีงานบางประเภทที่พนักงานคนไทยไม่ค่อยนิยมทำจนต้องอาศัยแรงงานต่างด้าว คำถามคือจะมีอาชีพไหนที่แรงงานเหล่านี้ทำได้บ้าง? เช็กลิสต์อาชีพของแรงงานต่างด้าวในปัจจุบัน ประกาศฉบับล่าสุดจากกระทรวงแรงงานได้มีการกำหนดห้ามแรงงานต่างด้าวประกอบอาชีพจำนวน 40 รายการ โดยมีอาชีพห้ามเด็ดขาดอยู่ 27 รายการ และงานให้ทำได้แบบมีเงื่อนไข 13 รายการ แบ่งออกได้ ดังนี้ 1. อาชีพห้ามแรงงานต่างด้าวทำเด็ดขาด งานแกะสลักไม้  งานขับขี่ยานยนต์ ยกเว้นงานขับรถยก (Forklift)  งานขายทอดตลาด  งานเจียระไนเพชร / พลอย  งานตัดผม / เสริมสวย  งานทอผ้าด้วยมือ  งานทอเสื่อ หรืองานทำเครื่องใช้ด้วยกก หวาย ฟาง ไม้ไผ่ ขนไก่ เส้นใย ฯลฯ  งานทำกระดาษสาด้วยมือ  งานทำเครื่องเขิน  งานทำเครื่องดนตรีไทย  งานทำเครื่องถม  งานทำเครื่องทอง / เงิน / นาก  ...

หลังการแพร่ระบาดของโรคที่ทำเอาทั่วโลกปั่นป่วนจนบางธุรกิจต้องบอกลาออกจากวงจรเศรษฐกิจไป แต่ฟ้าหลังฝนย่อมสวยงามเสมอ นับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 เรื่อยมาจนเข้าสู่ปี 2566 แนวโน้มเศรษฐกิจของเมืองไทยจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากการที่แรงงานต่างด้าวจำนวนมากกลับมาทำงานได้อีกครั้ง สร้างความร่วมมือระหว่างหลายภาคส่วนเข้าด้วยกันจับมือเดินหน้าเพื่อประโยชน์ในทุกฝ่ายที่ได้รับอย่างเหมาะสม สถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่กำลังเกิดขึ้นในปี 2566 จากรายงานของกองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2566 มีโอกาสเกิดการขยายตัวระหว่าง 2.7 – 3.7% ถือเป็นการเร่งให้เกิดการขยายตัวถึง 1.4% จากไตรมาสก่อนหน้า จากนั้นเมื่อมีการตัดเอาฤดูกาลออกผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาส 1 ของปี 2566 ขยายตัวจากไตรมาส 4 ของปี 2565 ประมาณ 1.9%  ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญมาจากการฟื้นตัวของธุรกิจท่องเที่ยว ด้านการอุปโภคบริโภคโดยรวมของภาคเอกชนก็จัดอยู่ในเกณฑ์น่าพึงพอใจและคาดว่ามีโอกาสขยายตัวถึง 3.7% การลงทุนในภาคเอกชนขยายตัว 1.9% ส่วนการลงทุนภาครัฐขยายตัว 1.6% มูลค่าการส่งออกสินค้าคิดเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 1.6% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วง 2.5 – 3.5% ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.4%...

ปฏิเสธไม่ได้ว่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันอัตราความต้องการของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเหตุผลหลายประการ ไม่ว่าภาคธุรกิจกลุ่มใดก็ตามมองว่าบุคคลเหล่านี้มีความสำคัญพร้อมช่วยต่อยอดผลลัพธ์ให้ออกมาน่าพึงพอใจ ช่วยสร้างการเติบโตของธุรกิจ และยังเป็นแรงขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย ซึ่งแนวโน้มที่เกิดขึ้นก็มีเหตุผลในตัวเองอยู่หลายด้านเช่นกัน  แนวโน้มแรงงานต่างด้าวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังโรคระบาด หากย้อนกลับไปในช่วงปี 2563 จำนวนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในเมืองไทยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ประมาณ 2.5 ล้านคน โดยเฉพาะในกรุงเทพมีเฉียด 5 แสนคน แต่หลังการแพร่ระบาดของโรคช่วง 2-3 ปี ก่อนหน้าอัตราแรงงานจึงลดลงเหลือราว 1.4 ล้านคน หรือกว่า 52% เหตุเพราะนอกจากความน่ากลัวของโรคแล้วบรรดาองค์กรหลายแห่งต้องมีการปรับตัว เปลี่ยนแนวทางการจ้างงาน รวมถึงจำนวนไม่น้อยต้องหยุดการทำงานชั่วคราว กระทั่งหลังความรุนแรงของโรคลดน้อยลง แนวโน้มแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในเมืองไทยกลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง จากสถิติช่วงไตรมาส 1 ปี 2566 กระทรวงแรงงาน ระบุว่ามีแรงงานต่างด้าวเข้ามาอยู่ทำงานมากกว่า 2.7 ล้านคน คิดเป็น 6.92% ของแรงงานทั้งหมดในเมืองไทย สูงกว่าช่วงก่อนโรคระบาดด้วยซ้ำ ซึ่งกลุ่มธุรกิจที่ให้ความสำคัญ ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้าง การเกษตร ปศุสัตว์ และงานด้านบริการต่าง ๆ ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของแรงงานต่างด้าว จากสถิติและตัวเลขที่ระบุเอาไว้คงพอเห็นภาพชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับความต้องการแรงงานต่างด้าวมีอัตราสูง...

ไม่ว่าจะมาจากประเทศใดก็ตามสิทธิมนุษยชนคือสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องได้รับความเท่าเทียมกันมากที่สุด ซึ่งแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในเมืองไทยเองก็จัดเป็นอีกกลุ่มคนสำคัญคอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจพร้อมสร้างผลงานชั้นยอดออกสู่สายตาโลก ด้วยเหตุนี้ทั้งนายจ้างและแรงงานจึงต้องทำความเข้าใจสิทธิ์ของแรงงานต่างด้าวเมื่อเข้ามาทำงานในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นสิทธิตามกฎหมายแรงงาน สิทธิด้านสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต สิทธิพื้นฐานของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย สิทธิพื้นฐานสำคัญเมื่อแรงงานต่างด้าวตัดสินใจเข้ามาทำงานในเมืองไทยคือเรื่องของสุขภาพอันเป็นไปตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งในส่วนนี้คือเรื่องของประกันสังคมและสิทธิประกันสุขภาพ มีข้อมูลน่าสนใจดังนี้ 1. ประกันสังคม หากเป็นแรงงานต่างด้าวที่มีรายชื่อเป็นพนักงานองค์กรชัดเจนจะต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมและจ่ายเงินสมทบไม่ต่างจากแรงงานไทย จากนั้นก็จะเข้าสู่สถานะของการเป็นผู้ประกันตน มีสิทธิด้านการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลที่ตนเองสังกัดหรืออยู่ในเครือข่ายแบบไม่ต้องเสียเงินตามเงื่อนไขที่กำหนดเอาไว้ ดังนี้ เมื่อขึ้นทะเบียนประกันสังคมแล้วต้องจ่ายเงินสมทบจำนวน 5% ของเงินเดือน (ไม่เกิน 750 บาท) นายจ้างจ่าย 5% และรัฐบาลไทยจ่าย 2.75%  แรงงานจะได้รับสิทธิประโยชน์รวม 7 รายการ ได้แก่ เจ็บป่วยหรือประสบอันตราย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ที่ไม่ได้เกี่ยวกับการทำงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน มีกองทุนเงินทดแทนโดยนายจ้างจะเป็นผู้จ่ายในอัตรา 0.2-1% ของค่าจ้างตามประเภทความเสี่ยงกิจการ เงินส่วนนี้แรงงานได้รับต่อเมื่อประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ สูญหาย หรือเสียชีวิตขณะทำงาน 2. สิทธิประกันสุขภาพ สำหรับแรงงานต่างด้าวที่มีการนำเข้าตาม MOU และทำงานประเภทแม่บ้าน เกษตรกร เลี้ยงสัตว์...