15 มิ.ย. นายจ้างควรทำอย่างไรเมื่อแรงงานต่างด้าวออกจากงาน
การจ้างแรงงานต่างด้าวมีข้อปฏิบัติหลายอย่างที่นายจ้างควรรู้ ตั้งแต่การเริ่มเข้าทำงานที่นายจ้างต้องแจ้งกับนายทะเบียนประจำสำนักจัดหางาน รวมถึงการแจ้งออกของแรงงานต้างด้าวที่มีเงื่อนไขการลาออกแตกต่างกันไป ดังนั้นเป็นเรื่องที่นายจ้างควรศึกษาเพื่อให้เป็นไปตามความถูกต้องและลดความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้น สิทธิเงื่อนไขการออกของแรงงานต่างด้าวมีดังต่อไปนี้ สิทธิการลาออกจากงานของลูกจ้าง แม้ว่าแรงงานจะต้องทำงานตามที่ใบอนุญาตทำงานกำหนดจนครบสัญญาจ้าง แต่แรงงานต่างด้าว MOU สามารถขอลาออกจากงาน หรือขอเปลี่ยนนายจ้างได้ในบางกรณี ซึ่งการลาออกจากงานของลูกจ้างสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. ลูกจ้างออกจากงานโดยไม่มีสิทธิ์เปลี่ยนนายจ้าง กรณีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อแรงงานต่างด้าวต้องออกจากงานโดยที่นายจ้างไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือทำความผิด เช่น แรงงานต่างด้าวต้องการออกจากงานเองหรือละทิ้งการทำงาน และไม่ได้จ่ายค่าเสียหายให้กับนายจ้าง เช่น ค่าใช้จ่ายในการนำเข้าคนต่างด้าวมาทำงาน ซึ่งคํานวณมาจากสัดส่วนของระยะเวลาที่คนต่างด้าวคนนั้นได้ทํางานไปแล้ว โดยจะถือว่าใบอนุญาตทำงานและสิทธิการอยู่อาศัยในประเทศไทยสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ออกจากงาน 2. ลูกจ้างออกจากงานโดยมีสิทธิ์เปลี่ยนนายจ้าง กฎหมายไทยให้สิทธิและความเท่าเทียมกับแรงงานต่างด้าว โดยกำหนดให้แรงงานต่างด้าว MOU สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ แต่ต้องมีสาเหตุของการลาออกมาจากนายจ้าง ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ นายจ้างเลิกจ้างหรือเสียชีวิต นายจ้างทำทารุณกรรมหรือทำร้ายลูกจ้าง นายจ้างจ่ายเงินไม่ตรงกับสัญญาว่าจ้าง หรือไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน นายจ้างล้มละลายหรือลดกำลังการผลิต เนื่องจากไม่มีงานให้กับแรงงานต่างด้าว สภาพการทำงานหรือสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานอาจจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย จิตใจ สุขภาพอนามัย หรือชีวิตของลูกจ้าง ในกรณีที่นายจ้างทำความผิด แรงงานต่างด้าวจะต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์เพื่อแจ้งต่อนายทะเบียน รวมถึงหานายจ้างใหม่ให้ได้ภายในเวลา 30 วัน โดยแรงงานต่างด้าวสามารถทำงานกับนายจ้างใหม่ได้ไม่เกินระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญานำเข้าแรงงานต่างด้าว การแจ้งออกแรงงานต่างด้าว เมื่อแรงงานต่างด้าวลาออกจากงานแล้ว นายจ้างจะต้องแจ้งออกภายใน 15 วันที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด...