Author: webmaster

ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าจำนวนมากที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ซึ่งนายจ้างหรือแรงงานต่างด้าวหลายๆ คนอาจไม่ทราบว่าทะเบียนบ้านของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่านั้นมีความสำคัญอย่างไรในการดำเนินการทำ MOU รวมถึงทะเบียนบ้านพม่าแตกต่างจากทะเบียนบ้านของไทยอย่างไร เรามาทำความเข้าใจในเรื่องนี้กัน -------------------------------------------------------------------------- ทะเบียนบ้านพม่า คืออะไร แตกต่างอย่างไรกับทะเบียนบ้านของไทย? ทะเบียนบ้านสัญชาติพม่า คือ เอกสารที่ใช้แสดงเลขที่ประจำบ้านของแต่ละบ้าน ในทะเบียนบ้านของบ้านแต่ละหลัง จะมีการแสดงรายชื่อของผู้อยู่อาศัย และเจ้าของบ้าน ซึ่งเจ้าของบ้านจะมีได้เพียง 1 คนเท่านั้น โดยในทะเบียนบ้านพม่าไม่มีการจำกัดจำนวนผู้อยู่อาศัย จะแตกต่างจากของไทยที่มีการจำกัดจำนวนผู้อยู่อาศัย ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ของที่อยู่อาศัย ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 หมวด 4 สุขลักษณะของอาคาร ในมาตรา 24 เพื่อประโยชน์ในการควบคุมมิให้อาคารใดมีคนอยู่มากเกินไปจนอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้อยู่ในอาคารนั้น ให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กําหนดจํานวนคนต่อจํานวนพื้นที่ของอาคารที่ถือว่ามีคนอยู่มากเกินไป ทั้งนี้โดยคํานึงถึงสภาพความเจริญ จํานวนประชากรและย่านชุมชนของแต่ละท้องถิ่น ได้มีการกำหนดจำนวนคนต่อจำนวนพื้นที่ของอาคารที่พักอาศัยไว้ โดยกำหนดว่าอาคารที่พักอาศัยต้องมีคนอยู่ไม่เกิน 1 คนต่อพื้นที่ 3 ตารางเมตรเท่านั้น ทั้งนี้ในทะเบียนบ้านพม่ามีการระบุรายละเอียดต่างๆ เช่น รายชื่อคนที่อาศัยอยู่ในทะเบียนบ้าน ที่อยู่ บ้านเลขที่ สถานะที่เกี่ยวข้องกับคนในครอบครัว วันเดือนปีเกิด เลขที่บัตรประชาชน...

ต่อใบอนุญาตทำงาน สามารถพาแรงงานต่างด้าวไปตรวจคลินิกได้ไหม? หรือ ต้องไปตรวจที่โรงพยาบาลเท่านั้น? ประกาศกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงาน ที่มีการประกาศออกมานั้น มีจำนวนแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 2,459,785 คน (ข้อมูลล่าสุดจากกรมการจัดหางาน เดือนมิถุนายน 2563) ได้มีการแบ่งแรงงานต่างด้าวออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ แรงงานประเภทฝีมือ 155,193 คน แรงงานตลอดชีพ 241 คน ชนกลุ่มน้อย 42,555 คน แรงงานประเภททั่วไป 2,261,796 คน โดยแรงงานประเภททั่วไป แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ แรงงานพิสูจน์ สัญชาติเดิม กลุ่มนี้ใบอนุญาตจะสิ้นสุดในเดือน กุมภาพันธ์ 2564 แรงงานที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานตาม MoU 992,756 คน (สัญชาติพม่า 509,786 คน สัญชาติลาว...

เป็นที่ทราบกันดีว่า สถานการณ์โรคระบาดของไวรัสโควิด-19  ส่งผลทำให้ทางกระทรวงแรงงาน กรมจัดหางาน ได้มีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ โดยมีนโยบายชะลอการอนุมัติแรงงานนำเข้าแรงงานต่างด้าว ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม2563 เป็นต้นมา จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ ดังนั้น ทางบริษัท นำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ จ๊อบส์ เวิร์คเกอร์ เซอร์วิส จำกัด จึงงดรับงานบริการ ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน เนื่องจาก นโยบายดังกล่าวข้างต้น  ซึ่งในขณะนี้ได้ผ่านระยะเวลามานานพอสมควร และการระบาดของไวรัสโควิด – 19 เริ่มทุเลาลง แต่ทางภาครัฐยังคงไม่มีนโยบายในการอนุมัตินำเข้าแรงงานต่างด้าวเหมือนเดิม     เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม สำหรับการดำเนินงาน เรื่องนำเข้าแรงงานต่างด้าว ทางบริษัท ฯ จึงเล็งเห็นว่า ควรเตรียมความพร้อมในเรื่องการรับบริการลูกค้าไว้ล่วงหน้า เพื่อจะได้ทราบถึงปริมาณงาน และดำเนินการด้านเอกสาร เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับ ยื่นหน่วยงานราชการ เมื่อมีนโยบายเปิดอนุมัตินำเข้าแรงงานต่างด้าว  ดังนั้น ทางบริษัทจึงมีนโยบาย เปิดรับงานบริการ MOU ล่วงหน้า โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 7...

เมื่อแรงงานต่างด้าวมีบุตร ­­­­ แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย อาจมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ทำให้นายจ้างเกิดความสงสัยว่า เมื่อแรงงานต่างด้าวตั้งครรภ์ต้องทำอย่างไร สามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้หรือไม่ มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง เรามาไขข้อข้องใจเรื่องนี้กัน สิทธิการคลอดบุตรแรงงานต่างด้าว แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยและขึ้นทะเบียนถูกต้องจะได้รับความคุ้มครองจากสำนักงานประกันสังคมทั้ง 7 กรณี รวมถึงการคลอดบุตร เมื่อแรงงานต่างด้าวตั้งครรภ์สามารถดำเนินการฝากครรภ์และคลอดบุตรตามสิทธิประกันสังคมได้  โดยการคลอดบุตรตามสิทธิประกันสังคม ผู้ประกันตนชายที่เป็นคุณพ่อสามารถเบิกค่าคลอดบุตรแทนภรรยาได้ โดยประกอบด้วย ค่าคลอดบุตรแบบเหมาจ่าย จำนวน 13,000 บาท/ครั้ง (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง) เงินสงเคราะห์บุตร เดือนละ 600 บาท โดยจะได้รับตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน หากผู้ประกันตนชายเป็นผู้เบิกเงินค่าคลอดบุตร จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์หยุดงานเพื่อการคลอดบุตร จำนวน 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นเวลา 90 วัน เหมือนกับฝ่ายหญิง ดังนั้น หากจะให้ฝ่ายชายเป็นผู้ใช้สิทธิประกันสังคมคลอดบุตร อาจต้องพิจารณาดูดี ๆ ก่อน เพราะจะเสียสิทธิเงินสงเคราะห์หยุดงานไป ในกรณีคลอดบุตรแฝด ผู้ประกันตนชายจะมีสิทธิได้รับเงินประกันสังคม...

ในภาวะปัจจุบันที่ประเทศไทยยังจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพวกเขาเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศให้เดินไปข้างหน้าได้ เป็นหน้าที่ของนายจ้างที่ต้องดูแลแรงงานต่างด้าวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง และสามารถเข้าถึงประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่แรงงานทุกคนควรจะได้รับ ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่าว่าปัจจุบันแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยกำลังประสบกับปัญหาสุขภาพด้านใดบ้าง จากการศึกษาภาวะสุขภาพและโรคที่สำคัญของคนต่างด้าวในประเทศไทย พบว่าภาวะสุขภาพและโรคติดต่อที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุดคือวัณโรค รองลงมาคือโรคเอดส์ การฉีดวัคซีนเพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคซิฟิลิสและโรคหนองใน นอกจากนี้ยังมีโรคท้องร่วง โรคไข้เลือดออก โรคเท้าช้าง โรคเรื้อน โรคไวรัสตับอักเสบบี และโรคมาลาเรีย ที่เป็นปัญหาด้านสุขภาพของแรงงานต่างด้าวเช่นกัน สำหรับภาวะสุขภาพและโรคไม่ติดต่ออาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยด้านสุขภาพส่วนตัวของแรงงาน เช่น การตั้งครรภ์ โรคเบาหวาน ความผิดปกติในทารกแรกเกิด ความดันโลหิตสูง สารเสพติดให้โทษและพิษสุราเรื้อรัง  เนื้อร้ายที่เต้านมและเนื้อร้ายที่ปากมดลูก/มดลูก หรืออาจมาจากการทำงาน เช่น การได้รับอุบัติเหตุขณะทำงาน ภาวะซึมเศร้า เครียด หรือโรคจิตเวชอื่น ๆไม่เพียงแต่ตัวแรงงานเองที่เผชิญอยู่กับปัญหาด้านสุขภาพต่าง ๆ จากรายงานพบว่าเด็กต่างด้าวจำนวนมากมีน้ำหนักน้อยและรูปร่างเล็กกว่าเด็กไทยที่ มีอายุเท่ากัน เนื่องจากเด็กต่างด้าวเหล่านี้ไม่มีเอกสารประจำตัว ทำให้ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรค หรือได้รับไม่ครบตามเกณฑ์ นอกจากนี้ยังมีเด็กส่วนหนึ่งประสบภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งเกิดจากการได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ ปัญหาเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็กเท่านั้น แต่ยังมีผลไปถึงภาระการรักษาพยาบาลของพ่อแม่เด็กอีกด้วย การบริการด้านสุขภาพที่แรงงานต่างด้าวสามารถเข้าถึงได้ แรงงานต่างด้าวที่มีสัญชาติกัมพูชา ลาว...

ปัจจุบันผู้ประกอบการตัดสินใจจ้างแรงงานต่างด้าวให้เข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากจะได้แรงงานที่มีทักษะการทำงานตรงกับความต้องการและมีอัตราค่าจ้างที่ถูกกว่าแรงงานไทย แต่ถ้าขาดการสื่อสารที่ดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างต่างด้าวก็อาจทำให้งานมีความเสียหาย ต้องเสียทั้งเงินและเวลามากขึ้นกว่าเดิม การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ทำความรู้จักกับ 'การสื่อสาร' เมื่อพูดถึงคำว่า ‘การสื่อสาร’ หลาย ๆ คนคงจะนึกถึงการพูดคุยกันเป็นอย่างแรก เพราะเป็นวิธีที่เราคุ้นเคยที่สุด แต่อันที่จริงแล้วรูปแบบของการสื่อสารมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยแบบตัวต่อตัว การส่งข้อความ ไปจนถึงการแสดงออกทางสีหน้าท่าทาง โดยรูปแบบของการสื่อสารสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ การสื่อสารโดยใช้ภาษาพูด (Verbal Communication) เช่น การพูดคุยโดยตรง การเขียนรายงานผลการดำเนินงาน การจัดทำคู่มือการทำงาน เป็นต้น การสื่อสารโดยไม่ใช้การพูด (Nonverbal Communication) เช่น การสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่าง การทำภาพประกอบอธิบายวิธีการทำงาน เป็นต้น ในการทำงานจริงนายจ้างจำเป็นต้องใช้การสื่อสารทั้ง 2 รูปแบบ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับแรงงานต่างด้าว และในการสื่อสารทั้ง 2 รูปแบบนี้ หากเป็นไปได้นายจ้างควรมีการสื่อสารแบบสองทาง คือ มีการอธิบายงานและให้ลูกจ้างสามารถถามคำถามได้ เพื่อลดการสื่อสารที่คลาดเคลื่อน...

การจ้างแรงงานต่างด้าวมีข้อปฏิบัติหลายอย่างที่นายจ้างควรรู้ ตั้งแต่การเริ่มเข้าทำงานที่นายจ้างต้องแจ้งกับนายทะเบียนประจำสำนักจัดหางาน รวมถึงการแจ้งออกของแรงงานต้างด้าวที่มีเงื่อนไขการลาออกแตกต่างกันไป ดังนั้นเป็นเรื่องที่นายจ้างควรศึกษาเพื่อให้เป็นไปตามความถูกต้องและลดความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้น สิทธิเงื่อนไขการออกของแรงงานต่างด้าวมีดังต่อไปนี้ สิทธิการลาออกจากงานของลูกจ้าง แม้ว่าแรงงานจะต้องทำงานตามที่ใบอนุญาตทำงานกำหนดจนครบสัญญาจ้าง แต่แรงงานต่างด้าว MOU สามารถขอลาออกจากงาน หรือขอเปลี่ยนนายจ้างได้ในบางกรณี ซึ่งการลาออกจากงานของลูกจ้างสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. ลูกจ้างออกจากงานโดยไม่มีสิทธิ์เปลี่ยนนายจ้าง กรณีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อแรงงานต่างด้าวต้องออกจากงานโดยที่นายจ้างไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือทำความผิด เช่น แรงงานต่างด้าวต้องการออกจากงานเองหรือละทิ้งการทำงาน และไม่ได้จ่ายค่าเสียหายให้กับนายจ้าง เช่น ค่าใช้จ่ายในการนำเข้าคนต่างด้าวมาทำงาน ซึ่งคํานวณมาจากสัดส่วนของระยะเวลาที่คนต่างด้าวคนนั้นได้ทํางานไปแล้ว โดยจะถือว่าใบอนุญาตทำงานและสิทธิการอยู่อาศัยในประเทศไทยสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ออกจากงาน 2. ลูกจ้างออกจากงานโดยมีสิทธิ์เปลี่ยนนายจ้าง กฎหมายไทยให้สิทธิและความเท่าเทียมกับแรงงานต่างด้าว โดยกำหนดให้แรงงานต่างด้าว MOU สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ แต่ต้องมีสาเหตุของการลาออกมาจากนายจ้าง ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ นายจ้างเลิกจ้างหรือเสียชีวิต นายจ้างทำทารุณกรรมหรือทำร้ายลูกจ้าง นายจ้างจ่ายเงินไม่ตรงกับสัญญาว่าจ้าง หรือไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน นายจ้างล้มละลายหรือลดกำลังการผลิต เนื่องจากไม่มีงานให้กับแรงงานต่างด้าว สภาพการทำงานหรือสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานอาจจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย จิตใจ สุขภาพอนามัย หรือชีวิตของลูกจ้าง ในกรณีที่นายจ้างทำความผิด แรงงานต่างด้าวจะต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์เพื่อแจ้งต่อนายทะเบียน รวมถึงหานายจ้างใหม่ให้ได้ภายในเวลา 30 วัน โดยแรงงานต่างด้าวสามารถทำงานกับนายจ้างใหม่ได้ไม่เกินระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญานำเข้าแรงงานต่างด้าว การแจ้งออกแรงงานต่างด้าว เมื่อแรงงานต่างด้าวลาออกจากงานแล้ว นายจ้างจะต้องแจ้งออกภายใน 15 วันที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด...

ปัจจุบันนายจ้างหรือผู้ประกอบการหลาย ๆ คนเลือกที่จะจ้างแรงงานต่างด้าวมากกว่าแรงงานไทย เนื่องจากมองว่าจ่ายค่าแรงถูกกว่า ได้แรงงานที่มีความขยันขันแข็งมากกว่า และมีบางอาชีพที่แรงงานไทยไม่ต้องการทำ เช่น งานในโรงงานอุตสาหกรรม งานก่อสร้าง งานขนของ เป็นต้น แม้ว่าแรงงานต่างด้าวจะสามารถเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและได้รับสิทธิประโยชน์หลายอย่างเหมือนกับคนไทย แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องอาชีพ เพราะมีงานบางประเภทที่คนต่างด้าวทำได้ไม่ผิดกฎหมาย และงานที่แรงงานต่างด้าวห้ามทำโดยเด็ดขาด เพื่อเป็นการรักษาโอกาสในการทำงานและวิชาชีพของคนไทย แรงงานต่างด้าวทำอาชีพอะไรได้บ้าง นายจ้างอาจมีความกังวลว่ากฎหมายจะจำกัดอาชีพสำหรับคนต่างด้าวจนไม่สามารถจ้างแรงงานต่างด้าวมาทำงานที่ตนต้องการได้ แต่ความจริงแล้วอาชีพที่คนต่างด้าวสามารถทำได้ในปี 2562 มีความหลากหลาย โดยยังคงยึดตามมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวปี 2560 ซึ่งกำหนดให้คนต่างด้าวทำงานได้ทั้งหมด 3 แบบ รวม 12 อาชีพ ดังนี้ แบบไม่มีเงื่อนไข 1 อาชีพ ได้แก่  กรรมกร แบบมีเงื่อนไข คือ คนต่างด้าวต้องเป็นลูกจ้าง เป็นงานที่ขาดแคลนแรงงาน อนุญาตให้ทำได้เท่าที่จำเป็น โดยไม่กระทบต่อโอกาสการมีงานทำของคนไทย 8 อาชีพ ได้แก่ กสิกรรม เลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ หรือประมง ยกเว้นงานที่ใช้ความชำนาญงานเฉพาะสาขา...

นายจ้างหรือผู้ประกอบการหลายคนต้องการแรงงานจำนวนมาก แต่ประสบปัญหาแรงงานในประเทศไทยไม่เพียงพอ ทำให้การจ้างแรงงานต่างด้าวก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะสามารถจ้างได้จำนวนมาก และแรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่มักทนงาน แต่การนำเข้าแรงงานต่างด้าวนั้นจำเป็นต้องเข้าใจกฎหมายหลายข้อเพื่อปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง มาดูสิ่งที่นายจ้างควรรู้เมื่อจ้างแรงงานต่างด้าวกัน การทำ MOU  รู้หรือไม่ว่า การจ้างแรงงานต่างด้าวจะต้องทำ MOU จึงจะถือว่าแรงงานเข้ามาทำงานอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งค่าใช้จ่ายในการทำ MOU ของแต่ละประเทศทั้งลาว กัมพูชา เมียนมาร์ จะแตกต่างกัน โดยการนำเข้าแรงงานต่างด้าวตาม MOU สามารถทำได้ 2 วิธี คือ 1. นายจ้างดำเนินงานด้วยตัวเอง 2. ดำเนินการผ่านบริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยถ้าหากนำเข้าแรงงานผ่านบริษัทตัวแทนจะสามารถทำได้ง่ายกว่า เพราะรับรองได้ว่าถูกต้องตามกฎหมายแน่นอน ไม่ต้องเสียเวลาศึกษาเอง สวัสดิการ แรงงานต่างด้าว  แรงงานต่างด้าวทุกคนที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมายจะต้องทำประกันสังคม โดยนายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป จะต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนภายใน 30 วัน ซึ่งนายจ้างขึ้นทะเบียนได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครหรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่ แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส.1-01) ต้องใช้เอกสารดังนี้ กรณีจดทะเบียนนิติบุคคล แบบฟอร์มขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส.1-01) แผนที่และภาพถ่ายของสถานประกอบการ หลักฐานแสดงตัวของนายจ้าง เช่น บัตรประจำตัวประชาชน...

หากลองสังเกตดี ๆ จะพบว่าตู้เอทีเอ็มของหลาย ๆ ธนาคารไม่ได้มีแค่ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ยังมีภาษาเพื่อนบ้านของเราอย่างภาษาพม่าเพิ่มเข้ามาด้วย เนื่องจากปัจจุบันแรงงานต่างด้าว ไม่ว่าจะเป็นคนลาว กัมพูชา หรือเมียนมาร์ก็สามารถเปิดบัญชีธนาคารในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ลูกจ้างสามารถออมเงินและโอนเงินไปให้ครอบครัวของตน โดยไม่ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางหรือโอนเงินผ่านนายหน้า ส่วนนายจ้างก็สามารถจ่ายเงินเดือนให้กับแรงงานต่างด้าวได้อย่างสะดวกสบาย โดยเฉพาะนายจ้างที่มีลูกจ้างเป็นจำนวนมาก จ๊อบส์ เวิร์คเกอร์ เซอร์วิส จึงรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการเปิดบัญชีธนาคารสำหรับแรงงานต่างด้าวมาให้นายจ้างทุกท่าน มีอะไรน่าสนใจบ้าง ไปดูกัน เปิดบัญชีธนาคารให้แรงงานต่างด้าวไม่ยากอย่างที่คิด หากพูดถึงการทำธุรกรรมทางการเงินที่ธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นการเปิดบัญชี การฝาก/ถอน การโอนเงิน หลาย ๆ คนคงมองว่าเป็นอะไรที่ยุ่งยาก ยิ่งถ้าเป็นการดำเนินการให้กับคนที่ไม่ได้มีสัญชาติไทยแล้วก็ยิ่งน่าหนักใจเป็นอีกเท่าตัว แต่ความจริงแล้วชาวต่างชาติและแรงงานต่างด้าวสามารถเปิดบัญชีธนาคารในประเทศไทยได้ไม่ยาก เพียงแค่นำเอกสารสำคัญไปให้ครบ โดยธนาคารส่วนใหญ่จะกำหนดให้ชาวต่างชาติหรือแรงงานต่างด้าวที่ต้องการเปิดบัญชีในประเทศไทยใช้เอกสาร ดังนี้ กรณีชาวต่างชาติหรือแรงงานต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงาน ใช้หนังสือเดินทาง (Passport) และใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) หรือเอกสารประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู)  สำหรับแรงงานต่างด้าวและชาวต่างชาติที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ส่วนใหญ่ไม่สามารถเปิดบัญชีได้ เนื่องจากธนาคารต้องการหลักฐานยืนยันว่าผู้ที่มาเปิดบัญชีทำงานอยู่ในประเทศไทยจริง หากอยู่ระหว่างการรอรับใบอนุญาตทำงาน สามารถใช้เอกสารที่หน่วยราชการออกให้ใช้แทนได้...