Author: webmaster

ยังคงเป็นคำถามในหลายอุตสาหกรรมแรงงานของเมืองไทย การที่นายจ้างตัดสินใจเลือกจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานเป็นการแย่งงานคนไทยจริงหรือไม่ มากไปกว่านั้นเหตุผลที่นายจ้างเลือกจ้างกลุ่มคนเหล่านี้ย่อมมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงอยากพาทุกคนมาทำความเข้าใจอย่างละเอียดเกี่ยวกับคำถามทั้งหมด เพื่อให้เกิดความกระจ่างพร้อมสร้างความมั่นใจว่าคนไทยเองยังคงมีงานที่ดีเหมาะกับทักษะแบบไร้กังวล แรงงานต่างด้าวแย่งงานคนไทยจริงหรือไม่ ลำดับแรกต้องทำความเข้าใจก่อนว่าจำนวนแรงงานต่างด้าวในเมืองไทยจากสถิติของสภาอุตสาหกรรมแห่งชาติ หรือ ส.อ.ท. มีกลุ่มคนเหล่านี้อยู่ประมาณ 1.4 ล้านคน ซึ่งเมื่อเทียบกับจำนวนแรงงานไทยแล้วยังนับว่าต่างกันอยู่พอสมควร ประกอบกับมีกฎหมายระบุชัดเจนเกี่ยวกับอาชีพที่แรงงานต่างด้าวไม่สามารถทำได้อยู่พอสมควร เช่น งานด้านการขับขี่ยานยนต์ งานเสริมสวย งานนายหน้า / ตัวแทน งานนวดไทย งานมัคคุเทศก์ งานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย งานหาบเร่ขายสินค้า ฯลฯ จาก 2 ปัจจัยนี้ก็พอจะบอกได้ในระดับหนึ่งว่าแท้จริงแล้วพวกเขาไม่ได้เข้ามาแย่งงานคนไทย แต่เป็นอีกกลุ่มคนสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าดีขึ้นกว่าเดิม เทียบง่าย ๆ ในช่วงที่เกิดโรคระบาดขึ้นหลายโรงงาน หลายอุตสาหกรรมต้องเผชิญกับวิกฤตขาดแรงงานจำนวนมาก ส่งผลถึงขั้นปรับกลยุทธ์ เปลี่ยนแนวทางของตนเองไปเลยก็มี อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับคือ จำนวนสถิติตัวเลขของแรงงานต่างด้าวนั้นคือกลุ่มคนที่มีการขึ้นบัญชีแบบถูกต้องตามกฎหมาย แต่ถ้าไปสำรวจแรงงานที่ทำงานจริงก็จะพบว่ายังมีแรงงานข้ามชาติอีกจำนวนไม่น้อยที่ทำงานแบบไม่มีใบอนุญาต และบางงานนายจ้างก็ยินดีรับพวกเขา นี่จึงอาจเป็นอีกเหตุผลที่สร้างความกังวลใจเรื่องคนไทยโดนแย่งงาน  แต่ทั้งนี้ก็ยังมีกฎหมายเรื่องบทลงโทษสำหรับผู้จ้างแรงงานต่างด้าวแบบไม่ถูกต้องตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งจะไม่มีการยกเว้นใด ๆ ทั้งสิ้น โทษมีตั้งแต่การสั่งปรับแรงงานตั้งแต่ 5,000 – 50,000...

กลุ่มธุรกิจบริการคืออีกประเภทที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของเมืองไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวด้วยเมืองไทยของเราแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย ยิ่งหลังการแพร่ระบาดที่ธุรกิจประเภทนี้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งธุรกิจจึงเกิดความต้องการแรงงานเป็นอย่างมาก แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีงานบางประเภทที่พนักงานคนไทยไม่ค่อยนิยมทำจนต้องอาศัยแรงงานต่างด้าว คำถามคือจะมีอาชีพไหนที่แรงงานเหล่านี้ทำได้บ้าง? เช็กลิสต์อาชีพของแรงงานต่างด้าวในปัจจุบัน ประกาศฉบับล่าสุดจากกระทรวงแรงงานได้มีการกำหนดห้ามแรงงานต่างด้าวประกอบอาชีพจำนวน 40 รายการ โดยมีอาชีพห้ามเด็ดขาดอยู่ 27 รายการ และงานให้ทำได้แบบมีเงื่อนไข 13 รายการ แบ่งออกได้ ดังนี้ 1. อาชีพห้ามแรงงานต่างด้าวทำเด็ดขาด งานแกะสลักไม้  งานขับขี่ยานยนต์ ยกเว้นงานขับรถยก (Forklift)  งานขายทอดตลาด  งานเจียระไนเพชร / พลอย  งานตัดผม / เสริมสวย  งานทอผ้าด้วยมือ  งานทอเสื่อ หรืองานทำเครื่องใช้ด้วยกก หวาย ฟาง ไม้ไผ่ ขนไก่ เส้นใย ฯลฯ  งานทำกระดาษสาด้วยมือ  งานทำเครื่องเขิน  งานทำเครื่องดนตรีไทย  งานทำเครื่องถม  งานทำเครื่องทอง / เงิน / นาก  ...

หลังการแพร่ระบาดของโรคที่ทำเอาทั่วโลกปั่นป่วนจนบางธุรกิจต้องบอกลาออกจากวงจรเศรษฐกิจไป แต่ฟ้าหลังฝนย่อมสวยงามเสมอ นับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 เรื่อยมาจนเข้าสู่ปี 2566 แนวโน้มเศรษฐกิจของเมืองไทยจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากการที่แรงงานต่างด้าวจำนวนมากกลับมาทำงานได้อีกครั้ง สร้างความร่วมมือระหว่างหลายภาคส่วนเข้าด้วยกันจับมือเดินหน้าเพื่อประโยชน์ในทุกฝ่ายที่ได้รับอย่างเหมาะสม สถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่กำลังเกิดขึ้นในปี 2566 จากรายงานของกองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2566 มีโอกาสเกิดการขยายตัวระหว่าง 2.7 – 3.7% ถือเป็นการเร่งให้เกิดการขยายตัวถึง 1.4% จากไตรมาสก่อนหน้า จากนั้นเมื่อมีการตัดเอาฤดูกาลออกผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาส 1 ของปี 2566 ขยายตัวจากไตรมาส 4 ของปี 2565 ประมาณ 1.9%  ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญมาจากการฟื้นตัวของธุรกิจท่องเที่ยว ด้านการอุปโภคบริโภคโดยรวมของภาคเอกชนก็จัดอยู่ในเกณฑ์น่าพึงพอใจและคาดว่ามีโอกาสขยายตัวถึง 3.7% การลงทุนในภาคเอกชนขยายตัว 1.9% ส่วนการลงทุนภาครัฐขยายตัว 1.6% มูลค่าการส่งออกสินค้าคิดเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 1.6% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วง 2.5 – 3.5% ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.4%...

ปฏิเสธไม่ได้ว่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันอัตราความต้องการของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเหตุผลหลายประการ ไม่ว่าภาคธุรกิจกลุ่มใดก็ตามมองว่าบุคคลเหล่านี้มีความสำคัญพร้อมช่วยต่อยอดผลลัพธ์ให้ออกมาน่าพึงพอใจ ช่วยสร้างการเติบโตของธุรกิจ และยังเป็นแรงขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย ซึ่งแนวโน้มที่เกิดขึ้นก็มีเหตุผลในตัวเองอยู่หลายด้านเช่นกัน  แนวโน้มแรงงานต่างด้าวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังโรคระบาด หากย้อนกลับไปในช่วงปี 2563 จำนวนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในเมืองไทยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ประมาณ 2.5 ล้านคน โดยเฉพาะในกรุงเทพมีเฉียด 5 แสนคน แต่หลังการแพร่ระบาดของโรคช่วง 2-3 ปี ก่อนหน้าอัตราแรงงานจึงลดลงเหลือราว 1.4 ล้านคน หรือกว่า 52% เหตุเพราะนอกจากความน่ากลัวของโรคแล้วบรรดาองค์กรหลายแห่งต้องมีการปรับตัว เปลี่ยนแนวทางการจ้างงาน รวมถึงจำนวนไม่น้อยต้องหยุดการทำงานชั่วคราว กระทั่งหลังความรุนแรงของโรคลดน้อยลง แนวโน้มแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในเมืองไทยกลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง จากสถิติช่วงไตรมาส 1 ปี 2566 กระทรวงแรงงาน ระบุว่ามีแรงงานต่างด้าวเข้ามาอยู่ทำงานมากกว่า 2.7 ล้านคน คิดเป็น 6.92% ของแรงงานทั้งหมดในเมืองไทย สูงกว่าช่วงก่อนโรคระบาดด้วยซ้ำ ซึ่งกลุ่มธุรกิจที่ให้ความสำคัญ ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้าง การเกษตร ปศุสัตว์ และงานด้านบริการต่าง ๆ ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของแรงงานต่างด้าว จากสถิติและตัวเลขที่ระบุเอาไว้คงพอเห็นภาพชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับความต้องการแรงงานต่างด้าวมีอัตราสูง...

ไม่ว่าจะมาจากประเทศใดก็ตามสิทธิมนุษยชนคือสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องได้รับความเท่าเทียมกันมากที่สุด ซึ่งแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในเมืองไทยเองก็จัดเป็นอีกกลุ่มคนสำคัญคอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจพร้อมสร้างผลงานชั้นยอดออกสู่สายตาโลก ด้วยเหตุนี้ทั้งนายจ้างและแรงงานจึงต้องทำความเข้าใจสิทธิ์ของแรงงานต่างด้าวเมื่อเข้ามาทำงานในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นสิทธิตามกฎหมายแรงงาน สิทธิด้านสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต สิทธิพื้นฐานของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย สิทธิพื้นฐานสำคัญเมื่อแรงงานต่างด้าวตัดสินใจเข้ามาทำงานในเมืองไทยคือเรื่องของสุขภาพอันเป็นไปตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งในส่วนนี้คือเรื่องของประกันสังคมและสิทธิประกันสุขภาพ มีข้อมูลน่าสนใจดังนี้ 1. ประกันสังคม หากเป็นแรงงานต่างด้าวที่มีรายชื่อเป็นพนักงานองค์กรชัดเจนจะต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมและจ่ายเงินสมทบไม่ต่างจากแรงงานไทย จากนั้นก็จะเข้าสู่สถานะของการเป็นผู้ประกันตน มีสิทธิด้านการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลที่ตนเองสังกัดหรืออยู่ในเครือข่ายแบบไม่ต้องเสียเงินตามเงื่อนไขที่กำหนดเอาไว้ ดังนี้ เมื่อขึ้นทะเบียนประกันสังคมแล้วต้องจ่ายเงินสมทบจำนวน 5% ของเงินเดือน (ไม่เกิน 750 บาท) นายจ้างจ่าย 5% และรัฐบาลไทยจ่าย 2.75%  แรงงานจะได้รับสิทธิประโยชน์รวม 7 รายการ ได้แก่ เจ็บป่วยหรือประสบอันตราย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ที่ไม่ได้เกี่ยวกับการทำงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน มีกองทุนเงินทดแทนโดยนายจ้างจะเป็นผู้จ่ายในอัตรา 0.2-1% ของค่าจ้างตามประเภทความเสี่ยงกิจการ เงินส่วนนี้แรงงานได้รับต่อเมื่อประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ สูญหาย หรือเสียชีวิตขณะทำงาน 2. สิทธิประกันสุขภาพ สำหรับแรงงานต่างด้าวที่มีการนำเข้าตาม MOU และทำงานประเภทแม่บ้าน เกษตรกร เลี้ยงสัตว์...

หากพูดถึงความต้องการแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยนั้น นับว่ายังมีตัวเลขที่สูงและมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง Jobsworker ยังคงตอบโจทย์ในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้บุกเบิกธุรกิจบริการจัดหาแรงงานต่างด้าวแบบครบวงจร ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2544 นับเป็นเวลากว่า 20 ปีที่เราทำงานตรงนี้ และทำงานร่วมกับลูกค้านิติบุคคลเราน่าจะเคยทำงานให้มาเกิน 1000 แห่ง จึงสั่งสมประสบการณ์เรื่อยมาจนเกิดความเชี่ยวชาญ ความต้องการแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง พบข้อมูลที่เผยในเว็บไซต์กรมจัดหางานเกี่ยวกับการรายงานผลสำรวจจากกระทรวงแรงงานในปี 2564 ที่แสดงถึงความต้องการแรงงานต่างด้าวสูงกว่า 4 แสนราย แบ่งเป็น สัญชาติเมียนมา 256,029 คน สัญชาติกัมพูชา130,138 คน และสัญชาติลาว 38,536 คน  หากย้อนกลับไปในอดีตจะพบว่าประเทศไทย มีความต้องการแรงงานต่างด้าวที่สูงขึ้นทุกปี จากข้อมูลของสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน ซึ่งเผยในเอกสารรายงานสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจ การแรงงานระหว่างประเทศ และการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ บนเว็บไซต์กระทรวงแรงงาน พบว่า สถิติจำนวนแรงงานข้ามชาติ ในประเทศไทยย้อนหลังตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2554 จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2563 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา...

เอกสารแรงงานต่างด้าว เป็นเรื่องสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ ผู้ประกอบการที่ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว จะต้องดำเนินการส่วนนี้ให้ถูกต้อง หากเลือกใช้บริการบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าวก็ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ เช่นเดียวกับ Jobsworker ที่ก่อตั้งมากว่า 20 ปี และทำงานร่วมกับบริษัทต่างๆ มากกว่า 20 แห่ง จึงค่อนข้างแม่นยำในเรื่องของการจัดทำเอกสารแรงงานต่างด้าวที่ถูกต้อง ความสำคัญของเอกสารแรงงานต่างด้าว แรงงานต่างด้าวเมื่อเข้าประเทศมาเพื่อทำงาน จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องจะมีเอกสารที่พิสูจน์ได้ว่าผ่านการขึ้นทะเบียนแล้ว ทำให้เอกสารแรงงานต่างด้าวมีความสำคัญ กรณีที่มีการตรวจสอบ และพบว่าแรงงานต่างด้าวไม่มีเอกสารที่ถูกต้อง จะถูกส่งกลับประเทศ ส่วนผู้ประกอบการเองก็จะถูกดำเนินคดีตามข้อบังคับกฎหมายแรงงานต่างด้าว เอกสารแรงงานต่างด้าว มีอะไรบ้าง หนังสือเดินทาง (Passport) หรือเอกสารแทนหนังสือเดินทาง มีตราประทับ Non Immigrant L-A ที่ยังไม่หมดอายุ วีซ่าที่ยังไม่หมดอายุ ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) เล่มสีน้ำเงิน หรือใบอนุญาตทำงานที่ยังไม่หมดอายุ และต้องระบุนายจ้างตรงกับที่ทำงานปัจจุบัน บัตรประจำตัวซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู ต่างด้าว) ซึ่งด้านหลังมีใบอนุญาตทำงานและยังไม่หมดอายุ เอกสารทั้ง 4 อย่างนี้จะแสดงให้เห็นว่าแรงงานต่างด้าวคนนั้น เป็นแรงงานต่างด้าวที่ผ่านการขึ้นทะเบียนแล้ว...

ในครั้งนี้ทางบทความจะพูดถึงแรงงานข้ามชาติหรือแรงงานต่างด้าว โดยจะเป็นเนื้อหาที่เปรียบเทียบระหว่างการส่งต่อแรงงานต่างด้าวและการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านตัวแทน ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ในแง่ของผู้ประกอบการ ควรเลือกแบบไหนถึงจะดีกว่า ซึ่งเนื้อหาส่วนนี้ค่อนข้างสำคัญ เพราะผู้ประกอบการหลายคนยังไม่รู้ถึงความสำคัญของการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านตัวแทน โดยเฉพาะในแง่ของการกฎหมาย และอาจยังไม่รู้ถึงผลกระทบที่จะตามมาในภายหลัง แรงงานต่างด้าว คืออะไร? แรงงานต่างด้าว ก็คือคนทำงานในพื้นที่ที่ไม่ใช่พื้นที่ที่ตัวเองถือสัญชาติ อย่างในประเทศไทยหากมีคนทำงานชาติอื่นที่ไม่ใช่สัญชาติไทย ก็คือแรงงานต่างด้าว ทั้งนี้ยังได้มีการกำหนดความหมายตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 เอาไว้ว่า “คนต่างด้าว” หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย และกำหนดไว้ว่า คนต่างด้าวจะทำงานได้เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมการจัดหางานหรือเจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีมอบหมายเท่านั้น นอกจากนี้องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ได้ให้ความหมายของ “แรงงานข้ามชาติ” ไว้ในอนุสัญญาฉบับที่ 97 ว่าด้วยการอพยพเพื่อการทำงาน (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) มาตรา 11 คือ หมายถึง บุคคลที่ย้ายถิ่นจากประเทศหนึ่งเพื่อที่จะไปทำงานมากกว่าที่จะไปใช้จ่ายเงินของตนเอง และรวมถึงบุคคลใดๆ ที่โดยปกติแล้วได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้อพยพเพื่อทำงาน  การส่งต่อแรงงานต่างด้าว คืออะไร? การส่งต่อแรงงานต่างด้าว คือ การจัดหาแรงงานต่างด้าวแบบไม่ผ่านตัวแทนที่เป็นรูปบริษัทขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย เป็นการจัดหาผ่านบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ส่งต่อแรงงานต่างด้าวไปยังอีกบุคคลหนึ่ง ผู้ประกอบการมักจะหาแรงงานต่างด้าวจากคนรู้จัก...

เรื่องของการจ้างแรงงานข้ามชาติในสังคมไทย ก็มีทั้งการจ้างงานแบบถูกกฎหมายและผิดกฎหมายปะปนกัน ในแง่ของการจ้างแรงงานแบบถูกกฎหมาย มีการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวตามข้อกำหนดนั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไร อีกทั้งยังเป็นผลดีที่ช่วยแก้ไขปัญหาแรงงานขาดแคลนในบางสาขาอาชีพได้อีกด้วย แต่การจ้างแรงงานข้ามชาติแบบผิดกฎหมายนั้นแตกต่าง แม้จะแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานได้ส่วนหนึ่ง แต่ก็พบว่ามีปัญหาหลายอย่างตามมา ซึ่งทางบทความก็ได้รวบรวมเอาไว้ให้แล้ว ดังนี้   1.ปัญหาอาชญากรรม ผลกระทบของแรงงานเถื่อนหรือการจ้างแรงงานข้ามชาติแบบผิดกฎหมาย เรื่องแรกขอยกให้กับปัญหาอาชญากรรม ที่เป็นปัญหาอันดับต้นๆ ซึ่งจัดการได้ยากสำหรับแรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน แน่นอนว่าการจ้างแรงงานข้ามชาติแบบขึ้นทะเบียนนั้น แรงงานคนดังกล่าวจะมีชื่อในทะเบียน เท่ากับว่ามีตัวตนในประเทศไทย ทางการรับรู้ว่ามีบุคคลนี้อาศัยอยู่ในสถานะแรงงานข้ามชาติถูกกฎหมาย หากกระทำผิดก็จะสามารถติดตามตัวได้ง่ายกว่าแรงงานข้ามชาติที่ไม่มีการขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย  ขณะเดียวกันการจ้างแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายที่ไม่มีการขึ้นทะเบียน ซึ่งเท่ากับว่าไม่มีตัวตนอยู่ในประเทศไทย เมื่อกระทำความผิดหรือก่ออาชญากรรม ก็สามารถติดตามตัวได้ยาก ทำให้แรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายหรือที่เรียกว่าแรงงานเถื่อน มีโอกาสที่จะก่ออาชญากรรมได้ง่ายกว่าแรงงานที่ขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย จึงยกให้ปัญหานี้เป็นปัญหาอันดับต้นๆ ที่เป็นผลกระทบของเรื่องนี้ ดังนั้นในแง่ของผู้ประกอบการที่ต้องการจ้างแรงงานข้ามชาติ ควรขึ้นทะเบียนให้ถูกกฎหมายจะเป็นผลดีกว่า โดยเฉพาะในเรื่องของความปลอดภัยต่อตัวผู้ประกอบการเอง 2.ปัญหาสิ่งแวดล้อม  ผลกระทบถัดมาสำหรับการจ้างแรงงานเถื่อน ที่อาจมีอัตรามากเกินไปในพื้นที่หนึ่ง ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ เนื่องจากการขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติ ในหนึ่งพื้นที่ก็จะมีการจัดสรรจำนวนแรงงานที่พอดีกับพื้นที่นั้นๆ เมื่อพบว่าพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งมีความหนาแน่นแล้ว ทางการอาจมีการกระจายแรงงานไปยังพื้นที่อื่นๆ เพื่อลดความหนาแน่นลง ซึ่งจะมีจำนวนแรงงานที่พอดี ทำให้สามารถจัดการกับสิ่งต่างๆ ได้ง่าย เช่นสิ่งแวดล้อม ที่สามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า เมื่อมีแรงงานที่ไม่หนาแน่นหรือแออัดจนเกินไป  ตรงกันข้ามเมื่อมีแรงงานเถื่อนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง อาจทำให้เกิดความหนาแน่นของแรงงานข้ามชาติในพื้นที่มากเกินไป และทำให้ปริมาณผู้อยู่อาศัยในบริเวณนั้นมากเกินพอดี นำมาซึ่งปัญหาต่างๆ...

ไม่ว่าชนชาติใดย่อมมีสิทธิ์ได้รับการดูแลตามขั้นตอนพื้นฐานอย่างเท่าเทียม ซึ่งแรงงานต่างชาติทุกคนที่เข้ามาทำงานในเมืองไทยทุกอาชีพ ทุกตำแหน่ง ถือเป็นอีกบุคลากรสำคัญสำหรับพัฒนาธุรกิจให้แข็งแกร่ง เติบโตไปตามทิศทางและเป้าหมายที่องค์กรวางแผนเอาไว้ และยังมีส่วนในการพัฒนาประเทศไทยด้วย จึงไม่ใช่แค่การตอบแทนด้านเงินทอง หรือการดูแลสุขภาพกายเพียงอย่างเดียว แต่การสนับสนุน “สุขภาพจิต” ของพวกเขาก็เป็นอีกเรื่องที่นายจ้างควรทำ คำถามที่นายจ้างอาจสงสัยคือแล้วต้องทำอะไรบ้าง มาดูกันเลย คำแนะนำสำหรับนายจ้างเพื่อสนับสนุนสุขภาพจิตแรงงานต่างชาติ 1. มีการสอบถามพูดคุยกับแรงงานอยู่ตลอด คำแนะนำแรกสำหรับนายจ้างทุกคนเพื่อสนับสนุนและเข้าใจถึงความรู้สึก ความคิด และประเมินสุขภาพจิตของแรงงานต่างชาติได้อย่างตรงจุดมากที่สุด ควรมีการสอบถามพูดคุยกับพวกเขาอยู่ตลอด เช่น ทุกสัปดาห์มีการเรียกประชุมสอบถามการทำงาน ปัญหาที่พบเจอ หรือรับฟังข้อร้องเรียนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อาจพูดคุยแบบกลุ่ม แบบรายบุคคลก็ตามความเหมาะสม  ที่สำคัญพยายามบอกกับพวกเขาเสมอถึงความจริงใจที่นายจ้างมีให้ เช่น หากมีปัญหาระหว่างการทำงานสามารถเข้ามาพูดคุยได้ตลอด เพื่อให้ทุกคนสามารถสร้างผลลัพธ์ตามเป้าหมายขององค์กร เมื่อแรงงานต่างชาติรู้สึกว่าพวกเขาไม่กดดัน นายจ้างรับฟังและเข้าใจย่อมส่งผลดีต่อจิตใจและยินดีทำงานให้อย่างเต็มศักยภาพ 2. หากสังเกตถึงความเครียด ความกดดันที่เกิดขึ้น ควรสนับสนุนเรื่องจิตแพทย์ แม้จะบอกว่าทุกการทำงานเป็นเรื่องปกติที่ต้องมีความตึงเครียด ความกดดันต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ในฐานะนายจ้างก็ต้องคอยสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นต่อตัวแรงงานต่างชาติด้วยว่าบางพฤติกรรมผิดปกติไปจากเดิมหรือไม่ เช่น ผลลัพธ์ของงานที่ออกมาไม่ได้มาตรฐานแม้มีการพูดคุยตักเตือนบ่อยครั้งแล้วก็ตาม พนักงานขาดงานบ่อย มาสาย หรือหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงานสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลง ไม่ค่อยพูดจา เก็บตัวเงียบซึม...