กรกฎาคม 2020

ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าจำนวนมากที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ซึ่งนายจ้างหรือแรงงานต่างด้าวหลายๆ คนอาจไม่ทราบว่าทะเบียนบ้านของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่านั้นมีความสำคัญอย่างไรในการดำเนินการทำ MOU รวมถึงทะเบียนบ้านพม่าแตกต่างจากทะเบียนบ้านของไทยอย่างไร เรามาทำความเข้าใจในเรื่องนี้กัน -------------------------------------------------------------------------- ทะเบียนบ้านพม่า คืออะไร แตกต่างอย่างไรกับทะเบียนบ้านของไทย? ทะเบียนบ้านสัญชาติพม่า คือ เอกสารที่ใช้แสดงเลขที่ประจำบ้านของแต่ละบ้าน ในทะเบียนบ้านของบ้านแต่ละหลัง จะมีการแสดงรายชื่อของผู้อยู่อาศัย และเจ้าของบ้าน ซึ่งเจ้าของบ้านจะมีได้เพียง 1 คนเท่านั้น โดยในทะเบียนบ้านพม่าไม่มีการจำกัดจำนวนผู้อยู่อาศัย จะแตกต่างจากของไทยที่มีการจำกัดจำนวนผู้อยู่อาศัย ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ของที่อยู่อาศัย ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 หมวด 4 สุขลักษณะของอาคาร ในมาตรา 24 เพื่อประโยชน์ในการควบคุมมิให้อาคารใดมีคนอยู่มากเกินไปจนอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้อยู่ในอาคารนั้น ให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กําหนดจํานวนคนต่อจํานวนพื้นที่ของอาคารที่ถือว่ามีคนอยู่มากเกินไป ทั้งนี้โดยคํานึงถึงสภาพความเจริญ จํานวนประชากรและย่านชุมชนของแต่ละท้องถิ่น ได้มีการกำหนดจำนวนคนต่อจำนวนพื้นที่ของอาคารที่พักอาศัยไว้ โดยกำหนดว่าอาคารที่พักอาศัยต้องมีคนอยู่ไม่เกิน 1 คนต่อพื้นที่ 3 ตารางเมตรเท่านั้น ทั้งนี้ในทะเบียนบ้านพม่ามีการระบุรายละเอียดต่างๆ เช่น รายชื่อคนที่อาศัยอยู่ในทะเบียนบ้าน ที่อยู่ บ้านเลขที่ สถานะที่เกี่ยวข้องกับคนในครอบครัว วันเดือนปีเกิด เลขที่บัตรประชาชน...

ต่อใบอนุญาตทำงาน สามารถพาแรงงานต่างด้าวไปตรวจคลินิกได้ไหม? หรือ ต้องไปตรวจที่โรงพยาบาลเท่านั้น? ประกาศกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงาน ที่มีการประกาศออกมานั้น มีจำนวนแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 2,459,785 คน (ข้อมูลล่าสุดจากกรมการจัดหางาน เดือนมิถุนายน 2563) ได้มีการแบ่งแรงงานต่างด้าวออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ แรงงานประเภทฝีมือ 155,193 คน แรงงานตลอดชีพ 241 คน ชนกลุ่มน้อย 42,555 คน แรงงานประเภททั่วไป 2,261,796 คน โดยแรงงานประเภททั่วไป แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ แรงงานพิสูจน์ สัญชาติเดิม กลุ่มนี้ใบอนุญาตจะสิ้นสุดในเดือน กุมภาพันธ์ 2564 แรงงานที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานตาม MoU 992,756 คน (สัญชาติพม่า 509,786 คน สัญชาติลาว...

เป็นที่ทราบกันดีว่า สถานการณ์โรคระบาดของไวรัสโควิด-19  ส่งผลทำให้ทางกระทรวงแรงงาน กรมจัดหางาน ได้มีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ โดยมีนโยบายชะลอการอนุมัติแรงงานนำเข้าแรงงานต่างด้าว ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม2563 เป็นต้นมา จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ ดังนั้น ทางบริษัท นำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ จ๊อบส์ เวิร์คเกอร์ เซอร์วิส จำกัด จึงงดรับงานบริการ ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน เนื่องจาก นโยบายดังกล่าวข้างต้น  ซึ่งในขณะนี้ได้ผ่านระยะเวลามานานพอสมควร และการระบาดของไวรัสโควิด – 19 เริ่มทุเลาลง แต่ทางภาครัฐยังคงไม่มีนโยบายในการอนุมัตินำเข้าแรงงานต่างด้าวเหมือนเดิม     เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม สำหรับการดำเนินงาน เรื่องนำเข้าแรงงานต่างด้าว ทางบริษัท ฯ จึงเล็งเห็นว่า ควรเตรียมความพร้อมในเรื่องการรับบริการลูกค้าไว้ล่วงหน้า เพื่อจะได้ทราบถึงปริมาณงาน และดำเนินการด้านเอกสาร เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับ ยื่นหน่วยงานราชการ เมื่อมีนโยบายเปิดอนุมัตินำเข้าแรงงานต่างด้าว  ดังนั้น ทางบริษัทจึงมีนโยบาย เปิดรับงานบริการ MOU ล่วงหน้า โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 7...

เมื่อแรงงานต่างด้าวมีบุตร ­­­­ แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย อาจมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ทำให้นายจ้างเกิดความสงสัยว่า เมื่อแรงงานต่างด้าวตั้งครรภ์ต้องทำอย่างไร สามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้หรือไม่ มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง เรามาไขข้อข้องใจเรื่องนี้กัน สิทธิการคลอดบุตรแรงงานต่างด้าว แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยและขึ้นทะเบียนถูกต้องจะได้รับความคุ้มครองจากสำนักงานประกันสังคมทั้ง 7 กรณี รวมถึงการคลอดบุตร เมื่อแรงงานต่างด้าวตั้งครรภ์สามารถดำเนินการฝากครรภ์และคลอดบุตรตามสิทธิประกันสังคมได้  โดยการคลอดบุตรตามสิทธิประกันสังคม ผู้ประกันตนชายที่เป็นคุณพ่อสามารถเบิกค่าคลอดบุตรแทนภรรยาได้ โดยประกอบด้วย ค่าคลอดบุตรแบบเหมาจ่าย จำนวน 13,000 บาท/ครั้ง (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง) เงินสงเคราะห์บุตร เดือนละ 600 บาท โดยจะได้รับตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน หากผู้ประกันตนชายเป็นผู้เบิกเงินค่าคลอดบุตร จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์หยุดงานเพื่อการคลอดบุตร จำนวน 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นเวลา 90 วัน เหมือนกับฝ่ายหญิง ดังนั้น หากจะให้ฝ่ายชายเป็นผู้ใช้สิทธิประกันสังคมคลอดบุตร อาจต้องพิจารณาดูดี ๆ ก่อน เพราะจะเสียสิทธิเงินสงเคราะห์หยุดงานไป ในกรณีคลอดบุตรแฝด ผู้ประกันตนชายจะมีสิทธิได้รับเงินประกันสังคม...