
18 ก.ค. ต่อใบอนุญาตทำงาน สามารถพาแรงงานต่างด้าวไปตรวจคลินิกได้ไหม? หรือ ต้องไปตรวจที่โรงพยาบาลเท่านั้น?
ต่อใบอนุญาตทำงาน สามารถพาแรงงานต่างด้าวไปตรวจคลินิกได้ไหม? หรือ ต้องไปตรวจที่โรงพยาบาลเท่านั้น?
ประกาศกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงาน ที่มีการประกาศออกมานั้น มีจำนวนแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 2,459,785 คน (ข้อมูลล่าสุดจากกรมการจัดหางาน เดือนมิถุนายน 2563) ได้มีการแบ่งแรงงานต่างด้าวออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
- แรงงานประเภทฝีมือ 155,193 คน
- แรงงานตลอดชีพ 241 คน
- ชนกลุ่มน้อย 42,555 คน
- แรงงานประเภททั่วไป 2,261,796 คน
โดยแรงงานประเภททั่วไป แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
- แรงงานพิสูจน์ สัญชาติเดิม กลุ่มนี้ใบอนุญาตจะสิ้นสุดในเดือน กุมภาพันธ์ 2564
- แรงงานที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานตาม MoU 992,756 คน (สัญชาติพม่า 509,786 คน สัญชาติลาว 192,005 คน สัญชาติกัมพูชา 290,676 คน)
- แรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานตามมติครม 20 สิงหาคม 2562 (OSS) รวมทั้งสิ้น 1,266,011 คน (ได้รับใบอนุญาตทำงานแล้ว 710,358 คน)
- สัญชาติพม่า 1,001,994 คน ได้รับใบอนุญาตแล้ว 576,038 คน | อยู่ระหว่างการดำเนินการ 425,956 คน
- สัญชาติลาว 50,593 คน ได้รับใบอนุญาตแล้ว 28,541 คน | อยู่ระหว่างการดำเนินการ 22,052 คน
- สัญชาติกัมพูชา 213,424 คน ได้รับใบอนุญาตแล้ว 105,779 คน | อยู่ระหว่างการดำเนินการ 107,645 คน
- แรงงานที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในลักษณะไปกลับ หรือตามฤดูกาล 0 คน
สำหรับแรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานตามมติครม 20 สิงหาคม 2562 (OSS) ที่ต้องดำเนินการยื่นขอ Namelist ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนวันที่ 31 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมานั้น จะต้องมีการตรวจสุขภาพแรงงานก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป โดยแบ่งกลุ่มแรงงานที่ตรวจสุขภาพออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1.กลุ่มแรงงานต่างด้าวมีสิทธิอยู่ในระบบประกันสังคมแล้ว
2.กลุ่มแรงงานรอเข้าระบบประกันสังคม
3.กลุ่มแรงงานไม่เข้าระบบประกันสังคม
โดยทั้ง 3 กลุ่มจะต้องมีการตรวจสุขภาพเพื่อขอใบรับรองแพทย์
- สำหรับแรงงานต่างด้าวที่มีสิทธิอยู่ในระบบประกันสังคมแล้ว สามารถตรวจสุขภาพได้ที่ โรงพยาบาลรัฐและเอกชนทุกแห่งที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล และรับบริการตรวจสุขภาพคนงานต่างด้าวเพื่อยื่นขอรับใบอนุญาตทำงาน
- สำหรับแรงงานที่ไม่มีสิทธิอยู่ในระบบประกันสังคม หรือไม่ต้องใช้ประกันสังคม จะต้องเข้าตรวจที่โรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น เนื่องจากประกันสุขภาพโรงพยาบาลรัฐเป็นผู้ออกให้
—————————————————————————————————————————-
รายชื่อสถานพยาบาลเอกชนซึ่งให้บริการตรวจสุขภาพคนต่างด้าวที่จะขอรับใบอนุญาตทำงาน
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562
(เฉพาะที่อยู่ในระบบประกันสังคมอยู่แล้ว)
—————————————————————————————————————————-
1. ในเขตกรุงเทพมหานคร
1.1. โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท
1.2. โรงพยาบาลเกษมราษฎร์รามคำแหงโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
1.3. โรงพยาบาลเกษมราษฎร์บางแคโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
1.4. โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่เกษมราษฎร์ประชาชื่น
1.5. โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่บางนา 1
1.6. โรงพยาบาลบางปะกอก 8 โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
1.7. โรงพยาบาลบางไผ่โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
1.8. โรงพยาบาลบางมดโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
1.9. โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ
1.10. โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่ราษฎร์บูรณะ
1.11. โรงพยาบาลวิภาราม โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
1.12. โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่ศิครินทร์
1.13. โรงพยาบาลสายไหมโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
1.14. โรงพยาบาลหัวเฉียวโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
1.15. โรงพยาบาลนวมินทร์ 1
1.16. โรงพยาบาลนวมินทร์ 9
1.17. โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
1.18. โรงพยาบาลเพชรเกษม 2
2. ในจังหวัดอื่น ๆ
2.1. โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ศรีบุรินทร์
2.2. โรงพยาบาลการุญเวชปทุมธานีโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
2.3. โรงพยาบาลการุญเวชอยุธยาโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
2.4. โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ฉะเชิงเทราโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
2.5. โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่เกษมราษฎร์รัตนาธิเบศร์
2.6. โรงพยาบาลเกษมราษฎร์สระบุรีโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
2.7. โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่จุฬารัตน์ 3 อินเตอร์
2.8. โรงพยาบาลจุฬารัตน์ระยองโรงพยาบาลทั่วไปขนาดกลาง
2.9. โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่เชียงใหม่ใกล้หมอ
2.10. โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่บางนา 2
2.11. โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่บางนา 5
2.12. โรงพยาบาลบางปะกอก 3 โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
2.13. โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่เปาโล สมุทรปราการ
2.14. โรงพยาบาลมงกุฎระยอง
2.15. โรงพยาบาลเมืองสมุทรปากนาโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
2.16. โรงพยาบาลเมืองสมุทรปู่เจ้าฯ โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
2.17. โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่รวมชัยประชารักษ์
2.18. โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่รัทรินทร์
2.19. โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่ราชเวชเชียงใหม่
2.20. โรงพยาบาลวิภารามปากเกร็ด โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
2.21. โรงพยาบาลวิภาราม สมุทรสาครโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
2.22. โรงพยาบาลวิภารามแหลมฉบังโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
2.23. โรงพยาบาลวิภาราม อมตะนครโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
2.24. โรงพยาบาลศิครินทร์หาดใหญ่
2.25. โรงพยาบาลกรุงสยามเซนต์คาร์ลอส
2.26. โรงพยาบาลกรุงไทย ปทุม
2.27. โรงพยาบาลปทุมเวช
2.28. โรงพยาบาลบางปะกอกรังสิต 2
2.29. โรงพยาบาลภัทร-ธนบุรี
2.30. โรงพยาบาลแพทย์รังสิต 2
2.31. โรงพยาบาลสายไหม (คลอง 8)
2.32. โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา
2.33. โรงพยาบาลมหาชัย 2
2.34. โรงพยาบาลมหาชัย 3
2.35. โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล อ้อมน้อย
2.36. โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล สมุทรสาคร
2.37. โรงพยาบาลเอกชัย
2.38. โรงพยาบาลเจษฎาเวชการ
2.39. โรงพยาบาลเทพากร
2.40. โรงพยาบาลกรุงเทพ สนามจันทร์
2.41. โรงพยาบาลเอกชล
2.42. โรงพยาบาลเอกชล 2
2.43. โรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี
2.44. โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา
2.45. โรงพยาบาลจุฬารัตน์ ชลเวช
2.46. โรงพยาบาลพญาไทศรีราชา
2.47. โรงพยาบาลปิยะเวชช์ บ่อวิน
2.48. โรงพยาบาลอมตะเวชกรรม
2.49. โรงพยาบาลบีเอ็มซี พลัส
2.50. โรงพยาบาลจอมเทียน
2.51. โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา
2.52. โรงพยาบาลพัทยาอินเตอร์เนชั่นแนล
2.53. โรงพยาบาลพัทยาเมโมเรียล
2.54. โรงพยาบาลเฉพาะทางมะเร็ง วิภารามอมตะนคร
2.55. โรงพยาบาลเฉพาะทางมะเร็ง แคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา
2.56. โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
2.57. โรงพยาบาลสิริโรจน์ภูเก็ต
2.58. โรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต
2.59. โรงพยาบาลดีบุกภูเก็ต
รายชื่อโรงพยาบาลรัฐซึ่งให้บริการตรวจสุขภาพคนต่างด้าวที่จะขอรับใบอนุญาตทำงาน
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562
1. ในเขตกรุงเทพมหานคร
1.1. โรงพยาบาลราชวิถี
1.2. โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
1.3. โรงพยาบาลเลิดสิน
1.4. โรงพยาบาลตากสิน
1.5. โรงพยาบาลกลาง
1.6. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
1.7. โรงพยาบาลวชิรพยาบาล
1.8. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
1.9. โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
1.10. โรงพยาบาลการุณย์รัศมิ์
1.11. โรงพยาบาลลาดกระบัง
1.12. โรงพยาบาลสิรินธร
ดังนั้นนายจ้างและแรงงานที่ยังไม่มีการตรวจสุขภาพ สามารถดำเนินการตามกลุ่มแรงงานและพาแรงงานไปตรวจได้ ตามรายชื่อโรงพยาบาลข้างต้น เพื่อขอใบรับรองแพทย์ และดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้
• การตรวจลงตราวีซ่า และ
• ยื่นแบบตท.2 ออนไลน์ และรออนุมัติ
• ถ่ายบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู) ตามแต่ละเขตที่ได้ยื่นไว้
ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ ก่อนวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 ตามประกาศของ พรก.ฉุกเฉิน มติเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563 ว่าด้วย เห็นชอบผ่อนปรนให้แรงงานต่างด้าวและผู้ติดตามสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ตามมติ ครม.วันที่ 20 สิงหาคม 2562 ที่นายจ้างหรือผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานได้ยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวต่อกระทรวงแรงงานแล้วภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา แต่ไม่สามารถดำเนินการขออนุญาตทำงานให้แล้วเสร็จได้ตามกำหนดในช่วงระยะเวลาที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้อยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวและสามารถทำงานไปพลางก่อนได้ ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563
แหล่งที่มา : https://www.doe.go.th/prd/main/custom/param/site/1/cat/40/sub/0/pull/detail/view/detail/object_id/1119
https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/bkk_th/516e5e8748f029016fdf80a6a530042f.pdf
http://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG200225161228811
https://www.doe.go.th/prd/chaiyaphum/news/param/site/91/cat/7/sub/0/pull/detail/view/detail/object_id/34400
https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/alien_th/34750eea9692973bf6ce77b394713a1b.pdf
———————————
บริษัท นำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ จ๊อบส์ เวิร์คเกอร์ เซอร์วิส จำกัด
ใบอนุญาตเลขที่ นจ.0003/2559
ที่อยู่ 49,51 ถ.สุขสวัสดิ์ แขวงราษฎร์บูรณะ
เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ 10140
โทร.02-018-8688
ID Line : @jobsworker หรือคลิก http://nav.cx/pgfEa1B
Facebook :https://www.facebook.com/jobsworker
Website : www.jobsworkerservice.com