ทะเบียนบ้านพม่า

รู้หรือไม่?ทะเบียนบ้านแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าสำคัญอย่างไรในการทำ MOU

ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าจำนวนมากที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ซึ่งนายจ้างหรือแรงงานต่างด้าวหลายๆ คนอาจไม่ทราบว่าทะเบียนบ้านของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่านั้นมีความสำคัญอย่างไรในการดำเนินการทำ MOU รวมถึงทะเบียนบ้านพม่าแตกต่างจากทะเบียนบ้านของไทยอย่างไร
เรามาทำความเข้าใจในเรื่องนี้กัน
————————————————————————–

ทะเบียนบ้านพม่า คืออะไร แตกต่างอย่างไรกับทะเบียนบ้านของไทย?

ทะเบียนบ้านสัญชาติพม่า คือ เอกสารที่ใช้แสดงเลขที่ประจำบ้านของแต่ละบ้าน ในทะเบียนบ้านของบ้านแต่ละหลัง จะมีการแสดงรายชื่อของผู้อยู่อาศัย และเจ้าของบ้าน ซึ่งเจ้าของบ้านจะมีได้เพียง 1 คนเท่านั้น โดยในทะเบียนบ้านพม่าไม่มีการจำกัดจำนวนผู้อยู่อาศัย จะแตกต่างจากของไทยที่มีการจำกัดจำนวนผู้อยู่อาศัย ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ของที่อยู่อาศัย ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 หมวด 4 สุขลักษณะของอาคาร ในมาตรา 24 เพื่อประโยชน์ในการควบคุมมิให้อาคารใดมีคนอยู่มากเกินไปจนอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้อยู่ในอาคารนั้น ให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กําหนดจํานวนคนต่อจํานวนพื้นที่ของอาคารที่ถือว่ามีคนอยู่มากเกินไป ทั้งนี้โดยคํานึงถึงสภาพความเจริญ จํานวนประชากรและย่านชุมชนของแต่ละท้องถิ่น ได้มีการกำหนดจำนวนคนต่อจำนวนพื้นที่ของอาคารที่พักอาศัยไว้ โดยกำหนดว่าอาคารที่พักอาศัยต้องมีคนอยู่ไม่เกิน 1 คนต่อพื้นที่ 3 ตารางเมตรเท่านั้น ทั้งนี้ในทะเบียนบ้านพม่ามีการระบุรายละเอียดต่างๆ เช่น รายชื่อคนที่อาศัยอยู่ในทะเบียนบ้าน ที่อยู่ บ้านเลขที่ สถานะที่เกี่ยวข้องกับคนในครอบครัว วันเดือนปีเกิด เลขที่บัตรประชาชน สัญชาติ ศาสนา เป็นต้น

MOU คืออะไร?

MOU หรือ Memorandum of Understanding คือ เอกสารหรือหนังสือที่มีการบันทึกข้อตกลง หรือความเข้าใจระหว่างองค์กร ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน โดยตัวแทนของทุกฝ่ายจะต้องลงนามในบันทึกข้อตกลงนั้นเพื่อให้เอกสารมีผลบังคับใช้ ดังนั้นแรงงานต่างด้าว MOU จึงกลายเป็นแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายภายใต้ข้อตกลง MOU ระหว่างรัฐบาลประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเมียนมาร์นั่นเอง โดยขั้นตอนในการนำเข้าแรงงาน นายจ้างจะต้องทำ Demand MOU หรือคำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าว จากนั้น นายจ้างจะต้องยื่นคำร้องที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดหรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพฯ ในเขตพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ โดยจะต้องแจ้งจำนวนแรงงานและระบุสัญชาติของแรงงานต่างด้าวที่ต้องการให้ชัดเจน ขั้นตอนต่อไปกระทรวงแรงงานจะประสานงานไปยังประเทศต้นทางของแรงงานต่างด้าว เพื่อให้ช่วยประกาศรับสมัครคนงาน เมื่อได้คนงานแล้ว ประเทศต้นทางจึงจะส่งรายชื่อ (Name List) มาให้ทางไทยอนุมัติต่อไป

ทะเบียนบ้านพม่า

ทะเบียนบ้านของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าสำคัญอย่างไรในการทำ MOU RETURN ?

ทะเบียนบ้านพม่าถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในการดำเนินการทำ MOU เนื่องจากใช้สำหรับยืนยันตัวตนของแรงงานต่างด้าวและถือเป็นเอกสารสำคัญในการดำเนินการทำ MOU อีกด้วย
ซึ่งเอกสารที่แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าต้อง
เตรียมในการดำเนินการทำ  MOU มีดังต่อไปนี้

  1. สำเนาทะเบียนบ้านแรงงานต่างด้าว (พร้อมฉบับจริง)
  2. สำเนาบัตรประชาชนแรงงานต่างด้าว (พร้อมฉบับจริง) 

**กรณีที่แรงงานต่างด้าวอายุครบ 18 ปี ต้องดำเนินการเปลี่ยนบัตรประชาชนให้แล้วเสร็จ จึงจะสามารถทำ MOU ได้

  1. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
  2. สำเนาพาสปอร์ตและวีซ่า
  3. รูปถ่ายแรงงานต่างด้าว ขนาด 1.5 นิ้ว

โดยทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนของแรงงานต่างด้าวนั้น ต้องนำฉบับจริงมาด้วย ซึ่งปัญหาที่พบส่วนใหญ่ ในวันเดินทางออกนอกประเทศ  คือแรงงานต่างด้าวลืมนำเอกสารทะเบียนบ้านตัวจริงมา เนื่องจากทะเบียนบ้านพม่าตัวจริงของบ้านแต่ละหลังมีแค่ 1 ฉบับ ซึ่งคนในบ้านต้องใช้ร่วมกัน จึงทำให้แรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่ไม่ได้นำติดตัวมาด้วย ดังนั้น หากไม่มี ต้องดำเนินการจ่ายค่าปรับที่ด่านตรวจ เพราะฉะนั้นแนะนำให้นายจ้างหรือแรงงานต่างด้าว ตรวจสอบเอกสารที่ต้องใช้ในการดำเนินการให้เรียบร้อย

สถานที่ในการดำเนินการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการทำ MOU

  1. จัดหางาน พื้นที่เขต 1- 10 / สำนักงานจัดหางานจังหวัด  
  2. สถานทูตเมียนมาร์ ประจำประเทศไทย 
  3. สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
    3.1 สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองสำหรับตีวีซ่า ณ แม่สอด ตม.แม่สอด
    3.2 สำนักตรวจคนเข้าเมืองตามจังหวัดที่อาศัยอยู่

แบบฟอร์มที่ต้องใช้ยื่นในราชการ

  1. คำร้องขอนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศ จำนวน 1 ชุด 
  2. หนังสือแต่งตั้ง จำนวน 1 ชุด 
  3. สัญญาจ้าง จำนวน 1 ชุด 
  4. สัญญาจ้างนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ 1 ฉบับ 
  5. หนังสือการยอมรับแรงงานเข้าสู่ข้อตกลง MOU จำนวน 1 ชุด 
  6. แบบแจ้งการจ้างคนงานต่างด้าว 
  7. แบบ บต.13 จำนวน 1 ชุด 
  8. แบบแจ้งออกจากงานของคนต่างด้าว 5 คน ต่อ 1 ชุด 
  9. ใบรับแจ้งจำนวน 1 ชุด 
  10. ชุดทบ.2 หน้า 6 ตามจำนวนคนงาน 
  11. หนังสือรับรองการจ้าง (ตามจำนวนคนงาน)
  12. หนังสือมอบอำนาจ (2ภาษา) จำนวน 5 ชุด 
  13. หนังสือมอบอำนาจ 6 ข้อ จำนวน 5 ชุด

จากทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นพี่จ๊อบส์หวังว่าจะเป็นประโยชน์และข้อมูลต่อนายจ้างและแรงงานต่างด้าวนะครับ ขอบคุณครับ

———————————
บริษัท นำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ จ๊อบส์ เวิร์คเกอร์ เซอร์วิส จำกัด
ใบอนุญาตเลขที่ นจ.0003/2559
ที่อยู่ 49,51 ถ.สุขสวัสดิ์ แขวงราษฎร์บูรณะ
เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ 10140
โทร.02-018-8688
ID Line : @jobsworker หรือคลิก http://nav.cx/pgfEa1B
Facebook :https://www.facebook.com/jobsworker

Website : www.jobsworkerservice.com