มิถุนายน 2020

ในภาวะปัจจุบันที่ประเทศไทยยังจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพวกเขาเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศให้เดินไปข้างหน้าได้ เป็นหน้าที่ของนายจ้างที่ต้องดูแลแรงงานต่างด้าวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง และสามารถเข้าถึงประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่แรงงานทุกคนควรจะได้รับ ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่าว่าปัจจุบันแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยกำลังประสบกับปัญหาสุขภาพด้านใดบ้าง จากการศึกษาภาวะสุขภาพและโรคที่สำคัญของคนต่างด้าวในประเทศไทย พบว่าภาวะสุขภาพและโรคติดต่อที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุดคือวัณโรค รองลงมาคือโรคเอดส์ การฉีดวัคซีนเพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคซิฟิลิสและโรคหนองใน นอกจากนี้ยังมีโรคท้องร่วง โรคไข้เลือดออก โรคเท้าช้าง โรคเรื้อน โรคไวรัสตับอักเสบบี และโรคมาลาเรีย ที่เป็นปัญหาด้านสุขภาพของแรงงานต่างด้าวเช่นกัน สำหรับภาวะสุขภาพและโรคไม่ติดต่ออาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยด้านสุขภาพส่วนตัวของแรงงาน เช่น การตั้งครรภ์ โรคเบาหวาน ความผิดปกติในทารกแรกเกิด ความดันโลหิตสูง สารเสพติดให้โทษและพิษสุราเรื้อรัง  เนื้อร้ายที่เต้านมและเนื้อร้ายที่ปากมดลูก/มดลูก หรืออาจมาจากการทำงาน เช่น การได้รับอุบัติเหตุขณะทำงาน ภาวะซึมเศร้า เครียด หรือโรคจิตเวชอื่น ๆไม่เพียงแต่ตัวแรงงานเองที่เผชิญอยู่กับปัญหาด้านสุขภาพต่าง ๆ จากรายงานพบว่าเด็กต่างด้าวจำนวนมากมีน้ำหนักน้อยและรูปร่างเล็กกว่าเด็กไทยที่ มีอายุเท่ากัน เนื่องจากเด็กต่างด้าวเหล่านี้ไม่มีเอกสารประจำตัว ทำให้ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรค หรือได้รับไม่ครบตามเกณฑ์ นอกจากนี้ยังมีเด็กส่วนหนึ่งประสบภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งเกิดจากการได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ ปัญหาเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็กเท่านั้น แต่ยังมีผลไปถึงภาระการรักษาพยาบาลของพ่อแม่เด็กอีกด้วย การบริการด้านสุขภาพที่แรงงานต่างด้าวสามารถเข้าถึงได้ แรงงานต่างด้าวที่มีสัญชาติกัมพูชา ลาว...

ปัจจุบันผู้ประกอบการตัดสินใจจ้างแรงงานต่างด้าวให้เข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากจะได้แรงงานที่มีทักษะการทำงานตรงกับความต้องการและมีอัตราค่าจ้างที่ถูกกว่าแรงงานไทย แต่ถ้าขาดการสื่อสารที่ดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างต่างด้าวก็อาจทำให้งานมีความเสียหาย ต้องเสียทั้งเงินและเวลามากขึ้นกว่าเดิม การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ทำความรู้จักกับ 'การสื่อสาร' เมื่อพูดถึงคำว่า ‘การสื่อสาร’ หลาย ๆ คนคงจะนึกถึงการพูดคุยกันเป็นอย่างแรก เพราะเป็นวิธีที่เราคุ้นเคยที่สุด แต่อันที่จริงแล้วรูปแบบของการสื่อสารมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยแบบตัวต่อตัว การส่งข้อความ ไปจนถึงการแสดงออกทางสีหน้าท่าทาง โดยรูปแบบของการสื่อสารสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ การสื่อสารโดยใช้ภาษาพูด (Verbal Communication) เช่น การพูดคุยโดยตรง การเขียนรายงานผลการดำเนินงาน การจัดทำคู่มือการทำงาน เป็นต้น การสื่อสารโดยไม่ใช้การพูด (Nonverbal Communication) เช่น การสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่าง การทำภาพประกอบอธิบายวิธีการทำงาน เป็นต้น ในการทำงานจริงนายจ้างจำเป็นต้องใช้การสื่อสารทั้ง 2 รูปแบบ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับแรงงานต่างด้าว และในการสื่อสารทั้ง 2 รูปแบบนี้ หากเป็นไปได้นายจ้างควรมีการสื่อสารแบบสองทาง คือ มีการอธิบายงานและให้ลูกจ้างสามารถถามคำถามได้ เพื่อลดการสื่อสารที่คลาดเคลื่อน...

การจ้างแรงงานต่างด้าวมีข้อปฏิบัติหลายอย่างที่นายจ้างควรรู้ ตั้งแต่การเริ่มเข้าทำงานที่นายจ้างต้องแจ้งกับนายทะเบียนประจำสำนักจัดหางาน รวมถึงการแจ้งออกของแรงงานต้างด้าวที่มีเงื่อนไขการลาออกแตกต่างกันไป ดังนั้นเป็นเรื่องที่นายจ้างควรศึกษาเพื่อให้เป็นไปตามความถูกต้องและลดความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้น สิทธิเงื่อนไขการออกของแรงงานต่างด้าวมีดังต่อไปนี้ สิทธิการลาออกจากงานของลูกจ้าง แม้ว่าแรงงานจะต้องทำงานตามที่ใบอนุญาตทำงานกำหนดจนครบสัญญาจ้าง แต่แรงงานต่างด้าว MOU สามารถขอลาออกจากงาน หรือขอเปลี่ยนนายจ้างได้ในบางกรณี ซึ่งการลาออกจากงานของลูกจ้างสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. ลูกจ้างออกจากงานโดยไม่มีสิทธิ์เปลี่ยนนายจ้าง กรณีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อแรงงานต่างด้าวต้องออกจากงานโดยที่นายจ้างไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือทำความผิด เช่น แรงงานต่างด้าวต้องการออกจากงานเองหรือละทิ้งการทำงาน และไม่ได้จ่ายค่าเสียหายให้กับนายจ้าง เช่น ค่าใช้จ่ายในการนำเข้าคนต่างด้าวมาทำงาน ซึ่งคํานวณมาจากสัดส่วนของระยะเวลาที่คนต่างด้าวคนนั้นได้ทํางานไปแล้ว โดยจะถือว่าใบอนุญาตทำงานและสิทธิการอยู่อาศัยในประเทศไทยสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ออกจากงาน 2. ลูกจ้างออกจากงานโดยมีสิทธิ์เปลี่ยนนายจ้าง กฎหมายไทยให้สิทธิและความเท่าเทียมกับแรงงานต่างด้าว โดยกำหนดให้แรงงานต่างด้าว MOU สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ แต่ต้องมีสาเหตุของการลาออกมาจากนายจ้าง ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ นายจ้างเลิกจ้างหรือเสียชีวิต นายจ้างทำทารุณกรรมหรือทำร้ายลูกจ้าง นายจ้างจ่ายเงินไม่ตรงกับสัญญาว่าจ้าง หรือไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน นายจ้างล้มละลายหรือลดกำลังการผลิต เนื่องจากไม่มีงานให้กับแรงงานต่างด้าว สภาพการทำงานหรือสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานอาจจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย จิตใจ สุขภาพอนามัย หรือชีวิตของลูกจ้าง ในกรณีที่นายจ้างทำความผิด แรงงานต่างด้าวจะต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์เพื่อแจ้งต่อนายทะเบียน รวมถึงหานายจ้างใหม่ให้ได้ภายในเวลา 30 วัน โดยแรงงานต่างด้าวสามารถทำงานกับนายจ้างใหม่ได้ไม่เกินระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญานำเข้าแรงงานต่างด้าว การแจ้งออกแรงงานต่างด้าว เมื่อแรงงานต่างด้าวลาออกจากงานแล้ว นายจ้างจะต้องแจ้งออกภายใน 15 วันที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด...