กันยายน 2023

ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาแรงงานต่างด้าวถือเป็นกลุ่มบุคคลสำคัญที่มีส่วนช่วยพัฒนาธุรกิจให้เดินหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ แทบทุกบริการหรือกลุ่มงานอุตสาหกรรมจำเป็นต้องใช้ทักษะ ความเชี่ยวชาญจากพวกเขาเหล่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตามการนำเข้าแรงงานต่างด้าวในปัจจุบันมีข้อกำหนดระบุเอาไว้ชัดเจนว่าต้องทำตามเงื่อนไข MOU คำถามที่น่าสนใจสำหรับนายจ้างหลายคนคงหนีไม่พ้น MOU คืออะไร มีความสำคัญต่อการจ้างแรงงานต่างด้าวมากแค่ไหน มีคำตอบมาบอกแล้ว ตอบข้อสงสัย MOU คืออะไร MOU หรือ Memorandum Of Understanding หนังสือหรือเอกสารที่มีการบันทึกข้อตกลง หลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติต่าง ๆ เอาไว้เพื่อให้เกิดความเข้าใจกันในทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน บุคคลทั่วไป ทั้งนี้ต้องมีการลงลายมือชื่อของตัวแทนแต่ละฝ่ายในฐานะของการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันให้มีผลการบังคับใช้ตามรายละเอียดที่ระบุเอาไว้ อย่างไรก็ตามเนื้อหาใน MOU อาจระบุทุกสิ่งที่ต้องปฏิบัติลงไปอย่างชัดเจนเพื่อขจัดข้อสงสัย ความกังวลใจ หรืออาจมีการอธิบายข้อมูลแบบหลวม ๆ โดยหวังให้ทุกฝ่ายเห็นพ้องและปฏิบัติตามความเหมาะสม MOU แรงงานต่างด้าว คืออะไร ขณะที่ MOU แรงงานต่างด้าว คือ เป็นหนังสือที่มีการทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศไทย เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา เกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ ในการนำเข้าแรงงานของทั้ง 3 ประเทศที่จะเข้ามาทำงานในราชอาณาจักรไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย...

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในหลายสายอาชีพ หรือกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมแทบทั้งหมดจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าวเข้ามาเป็นพนักงานสำหรับจัดการหน้าที่ต่าง ๆ ให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าไปได้อย่างคล่องตัว ซึ่งองค์กรใดหากต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวก็ควรต้องรู้วิธีนำเข้าแรงงานเหล่านี้อย่างถูกต้องเพื่อให้มั่นใจว่าไม่ใช่การกระทำที่ผิดกฎหมายเพราะหากถูกตรวจสอบก็อาจต้องเสียค่าปรับหรือถึงขั้นจำคุกกันเลยทีเดียว นายจ้างที่กำลังจะนำเข้าแรงงานต่างด้าวครั้งแรกต้องอ่านข้อมูลเหล่านี้เลย การนำเข้าแรงงานต่างด้าวต้องทำตามข้อกำหนด MOU สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับนายจ้างที่ต้องการแรงงานต่างด้าวต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของ MOU (บันทึกข้อตกลง) โดยสามารถทำได้ดังนี้ ยื่น Demand Letter (คำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าว) ส่งไปยังตัวแทนของประเทศต้นทางให้ทำการคัดเลือกแรงงานที่มีความเหมาะสม เมื่อประเทศต้นทำดำเนินการเรียบร้อยก็จะส่งบัญชีรายชื่อกลับมาให้ ยื่นบัญชีแรงงานไปยังเอเจนซี่ของประเทศต้นทางพร้อมแนบเอกสาร  ตท.2 และเอกสารประกอบอื่น ๆ ไปยัง สจจ. / สจก. ซึ่งเอกสารได้แก่  หนังสือรับรองบริษัท (กรณีนิติบุคคล) บัตรประชาชนนายจ้าง ทะเบียนบ้านนายจ้าง แผนที่สถานที่ทำงาน รูปถ่ายสถานที่ทำงานและที่พักของแรงงานต่างด้าว หากเป็นกิจการก่อสร้างต้องมีสัญญาว่าจ้างการก่อสร้าง รายละเอียดความต้องการเกี่ยวกับสวัสดิการต่าง ๆ ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 1,900 บาท ทั้งนี้หากนายจ้างดำเนินการด้วยตนเองทั้งหมดต้องทำการวางเงินประกันตั้งแต่ 1,000 บาท สูงสุด 100,000 บาท...