กรกฎาคม 2023

ทุกวันนี้การจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานถือเป็นสิ่งที่นายจ้างจำนวนมากนิยมทำในหลายประเภทธุรกิจ ด้วยปัจจัยสำคัญคือแรงงานเหล่านี้ถูกคัดสรรมาอย่างดีในด้านของการมีทักษะ บวกกับความขยัน อดแทน มุ่งมั่นในหน้าที่ของตนเอง อย่างไรก็ตามการจะจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของ MOU ซึ่งทั้งตัวนายจ้างและลูกจ้างต่างด้าวทุกคนควรรู้เอาไว้เพื่อปฏิบัติตามขั้นตอนให้ถูกต้อง ไม่กังวลใจด้านการถูกปรับหรือส่งตัวกลับประเทศ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ MOU ของแรงงานต่างด้าว การทำ MOU ของแรงงานต่างด้าวเป็นเงื่อนไขสัญญาระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ว่าด้วยเรื่องของการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศไทยภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในด้านของการจ้างงาน (Memorandum of Understanding : MOU)  ทุกอย่างต้องเป็นไปตามขั้นตอน มีค่าใช้จ่ายเห็นพ้องว่าเหมาะสมกับทุกฝ่าย และเมื่อครบวาระการทำงาน 4 ปี หลังจากนั้นเมื่อต่ออายุจะได้อีก 2 ปี และยังต่อได้อีก 2 ปี รวมทั้งสิ้นสามารถทำงานได้ตาม MOU  เป็นเวลา 8 ปี ก่อนจะส่งกลับประเทศ หรือกรณีที่มีมติ ครม. อื่นใดก็สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวได้ การลงนาม MOU...

ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันแรงงานต่างด้าวยังคงถือเป็นกำลังสำคัญในหลายภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ ทว่านับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคส่งผลกระทบโดยตรงต่อปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าว นั่นจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ทางคณะรัฐมนตรีต้องมีการประชุมเรื่องนี้กันอย่างเร่งด่วน กระทั่งมีมติ ครม. ออกมาล่าสุดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 เห็นชอบให้มีการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานต่างด้าวด้วยการปรับข้อกฎหมายบางตัวรองรับตามความเหมาะสมของสถานการณ์ในปัจจุบัน มาศึกษามติในเรื่องนี้กันได้เลย มติ ครม. ล่าสุด 5 กรกฎาคม 2566 แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานต่างด้าว คณะรัฐมนตรีได้มีการลงมติเห็นชอบในเรื่องแนวทางบริหารจัดการเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมายจากการเสนอของกระทรวงแรงงาน ทั้งกลุ่มแรงงานเถื่อน แรงงานที่ไม่มีเอกสาร การเข้ามาเมือไทงแบบผิดกฎหมาย แรงงานที่อยู่ตามสัญญา MOU 4 หรือ 6 ปี แล้วแจ้งออกเกิน 60 วัน รวมถึงผู้ที่ยังดำเนินการตามมติต่าง ๆ ไม่เรียบร้อย ประกอบด้วย 1. เห็นชอบด้านบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กลุ่มแรงงานที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ประสงค์ทำงานต่อสามารถอยู่ได้ชั่วคราวจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 แต่มีเงื่อนไขต้องดำเนินการตามประกาศที่กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงานได้ออกไว้ ได้แก่ 1.1 แรงงานต่างด้าว 4...

หากมองย้อนกลับไปในตลาดแรงงาน กลุ่มแรงงานต่างด้าวถือเป็นบุคคลที่เข้ามาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเมืองไทยมายาวนานหลายทศวรรษมาก ด้วยบางอาชีพคนไทยไม่นิยมทำกันแล้ว เช่น กรรมกรแบกหาม อาชีพด้านการเกษตร การประมง กลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง นั่นจึงเป็นเหตุผลให้สถานประกอบการหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการเลือกจ้างแรงงานต่างด้าว อย่างไรก็ตามการจัดการภายในที่ดีก็มีส่วนสำคัญเพื่อให้นายจ้างมั่นใจว่าพวกเขาจะไม่มีผลกระทบใด ๆ ตามมา ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้หากขาดการจัดการภายในแรงงานต่างด้าวที่ดี 1. ปัญหาในด้านเศรษฐกิจ ต้องอธิบายว่าแรงงานต่างด้าวไม่ได้สร้างความเสียหายในภาคเศรษฐกิจขนาดใหญ่อะไร แต่ในมุมของแรงงานไทยนี่เป็นสิ่งที่สร้างความน่ากังวลใจอยู่ไม่น้อยหากขาดการจัดการภายในที่ดี กลุ่มคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในบ้านเรามีเป้าหมายชัดเจนอยู่แล้วว่าพวกเขาต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เมืองไทยจ้างด้วยจำนวนเงินมากกว่า แม้อีกมุมของแรงงานไทยมองว่าไม่เพียงพอแต่เมื่อแรงงานต่างด้าวพึงพอใจนายจ้างก็พร้อมจ้างพวกเขามากกว่า ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาคครัวเรือนของแรงงานนั่นเอง 2. ปัญหาในด้านสังคม คนเราร้อยพ่อพันแม่ย่อมมีความคิด การกระทำแตกต่างกันออกไป สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้อย่างหนึ่งคือแรงงานต่างด้าวบางคนก็มักสร้างปัญหาให้กับสังคมไทยไม่น้อย เช่น การเสพยาเสพติด ปัญหาเชิงอาชญากรรม มีผลกระทบชัดเจนต่อคุณภาพชีวิตของคนไทยจำนวนไม่น้อย แม้จะบอกว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่แค่ต่างด้าวแต่คนไทยก็มักสร้างปัญหาเองได้ ทว่าในอีกมุมหนึ่งมันก็เป็นปัญหาที่ควรมีการจัดการภายในให้ดีเพื่อลดอัตราการเกิดขึ้น 3. ปัญหาในด้านสาธารณสุข  บุคลาการทางการแพทย์ของเมืองไทยต้องยอมรับว่ายังน้อยมากหากเทียบกับปริมาณคนไข้ที่เข้ารักษาตัวในแต่ละวัน เมื่อต้องบวกกับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานก็ทำให้ภาระงานของคนกลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้น ประสิทธิภาพในการรักษาย่อมลดลงเป็นเรื่องปกติ สร้างผลกระทบโดยตรงต่อแรงงานจำนวนไม่น้อย รวมถึงคนไทยทั่วประเทศ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ใช่ว่าพวกเขาไม่มีสิทธิ์เข้ารับการรักษาใด ๆ หากเจ็บป่วยทุกคนสามารถพบแพทย์เพื่อดูแลสุขภาพตนเอง เป็นพื้นฐานเท่าเทียมในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง 4. ปัญหาในด้านความมั่นคง อาจถูกมองเป็นเรื่องท้าย ๆ แต่ความจริงก็ยังมีกลุ่มคนต่างด้าวที่พยายามลักลอบเข้ามาในเมืองไทยอยู่พอสมควรโดยเฉพาะตามตะเข็บชายแดนที่มีแนวเขาสูง ป่ารกชัฏ ยากต่อการค้นหาตรวจตราของเจ้าหน้าที่ ในมุมของความมั่นคงอาจไม่ถึงขั้นมีการประท้วงของแรงงาน หรือมีการยึดพื้นที่ใด ๆ แต่คงไม่ใช่เรื่องดีอยู่แล้วหากมีคนพยายามหนีเข้ามายังประเทศไทย...

ยังคงเป็นคำถามในหลายอุตสาหกรรมแรงงานของเมืองไทย การที่นายจ้างตัดสินใจเลือกจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานเป็นการแย่งงานคนไทยจริงหรือไม่ มากไปกว่านั้นเหตุผลที่นายจ้างเลือกจ้างกลุ่มคนเหล่านี้ย่อมมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงอยากพาทุกคนมาทำความเข้าใจอย่างละเอียดเกี่ยวกับคำถามทั้งหมด เพื่อให้เกิดความกระจ่างพร้อมสร้างความมั่นใจว่าคนไทยเองยังคงมีงานที่ดีเหมาะกับทักษะแบบไร้กังวล แรงงานต่างด้าวแย่งงานคนไทยจริงหรือไม่ ลำดับแรกต้องทำความเข้าใจก่อนว่าจำนวนแรงงานต่างด้าวในเมืองไทยจากสถิติของสภาอุตสาหกรรมแห่งชาติ หรือ ส.อ.ท. มีกลุ่มคนเหล่านี้อยู่ประมาณ 1.4 ล้านคน ซึ่งเมื่อเทียบกับจำนวนแรงงานไทยแล้วยังนับว่าต่างกันอยู่พอสมควร ประกอบกับมีกฎหมายระบุชัดเจนเกี่ยวกับอาชีพที่แรงงานต่างด้าวไม่สามารถทำได้อยู่พอสมควร เช่น งานด้านการขับขี่ยานยนต์ งานเสริมสวย งานนายหน้า / ตัวแทน งานนวดไทย งานมัคคุเทศก์ งานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย งานหาบเร่ขายสินค้า ฯลฯ จาก 2 ปัจจัยนี้ก็พอจะบอกได้ในระดับหนึ่งว่าแท้จริงแล้วพวกเขาไม่ได้เข้ามาแย่งงานคนไทย แต่เป็นอีกกลุ่มคนสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าดีขึ้นกว่าเดิม เทียบง่าย ๆ ในช่วงที่เกิดโรคระบาดขึ้นหลายโรงงาน หลายอุตสาหกรรมต้องเผชิญกับวิกฤตขาดแรงงานจำนวนมาก ส่งผลถึงขั้นปรับกลยุทธ์ เปลี่ยนแนวทางของตนเองไปเลยก็มี อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับคือ จำนวนสถิติตัวเลขของแรงงานต่างด้าวนั้นคือกลุ่มคนที่มีการขึ้นบัญชีแบบถูกต้องตามกฎหมาย แต่ถ้าไปสำรวจแรงงานที่ทำงานจริงก็จะพบว่ายังมีแรงงานข้ามชาติอีกจำนวนไม่น้อยที่ทำงานแบบไม่มีใบอนุญาต และบางงานนายจ้างก็ยินดีรับพวกเขา นี่จึงอาจเป็นอีกเหตุผลที่สร้างความกังวลใจเรื่องคนไทยโดนแย่งงาน  แต่ทั้งนี้ก็ยังมีกฎหมายเรื่องบทลงโทษสำหรับผู้จ้างแรงงานต่างด้าวแบบไม่ถูกต้องตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งจะไม่มีการยกเว้นใด ๆ ทั้งสิ้น โทษมีตั้งแต่การสั่งปรับแรงงานตั้งแต่ 5,000 – 50,000...