มิถุนายน 2023

กลุ่มธุรกิจบริการคืออีกประเภทที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของเมืองไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวด้วยเมืองไทยของเราแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย ยิ่งหลังการแพร่ระบาดที่ธุรกิจประเภทนี้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งธุรกิจจึงเกิดความต้องการแรงงานเป็นอย่างมาก แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีงานบางประเภทที่พนักงานคนไทยไม่ค่อยนิยมทำจนต้องอาศัยแรงงานต่างด้าว คำถามคือจะมีอาชีพไหนที่แรงงานเหล่านี้ทำได้บ้าง? เช็กลิสต์อาชีพของแรงงานต่างด้าวในปัจจุบัน ประกาศฉบับล่าสุดจากกระทรวงแรงงานได้มีการกำหนดห้ามแรงงานต่างด้าวประกอบอาชีพจำนวน 40 รายการ โดยมีอาชีพห้ามเด็ดขาดอยู่ 27 รายการ และงานให้ทำได้แบบมีเงื่อนไข 13 รายการ แบ่งออกได้ ดังนี้ 1. อาชีพห้ามแรงงานต่างด้าวทำเด็ดขาด งานแกะสลักไม้  งานขับขี่ยานยนต์ ยกเว้นงานขับรถยก (Forklift)  งานขายทอดตลาด  งานเจียระไนเพชร / พลอย  งานตัดผม / เสริมสวย  งานทอผ้าด้วยมือ  งานทอเสื่อ หรืองานทำเครื่องใช้ด้วยกก หวาย ฟาง ไม้ไผ่ ขนไก่ เส้นใย ฯลฯ  งานทำกระดาษสาด้วยมือ  งานทำเครื่องเขิน  งานทำเครื่องดนตรีไทย  งานทำเครื่องถม  งานทำเครื่องทอง / เงิน / นาก  ...

หลังการแพร่ระบาดของโรคที่ทำเอาทั่วโลกปั่นป่วนจนบางธุรกิจต้องบอกลาออกจากวงจรเศรษฐกิจไป แต่ฟ้าหลังฝนย่อมสวยงามเสมอ นับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 เรื่อยมาจนเข้าสู่ปี 2566 แนวโน้มเศรษฐกิจของเมืองไทยจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากการที่แรงงานต่างด้าวจำนวนมากกลับมาทำงานได้อีกครั้ง สร้างความร่วมมือระหว่างหลายภาคส่วนเข้าด้วยกันจับมือเดินหน้าเพื่อประโยชน์ในทุกฝ่ายที่ได้รับอย่างเหมาะสม สถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่กำลังเกิดขึ้นในปี 2566 จากรายงานของกองยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2566 มีโอกาสเกิดการขยายตัวระหว่าง 2.7 – 3.7% ถือเป็นการเร่งให้เกิดการขยายตัวถึง 1.4% จากไตรมาสก่อนหน้า จากนั้นเมื่อมีการตัดเอาฤดูกาลออกผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือเศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาส 1 ของปี 2566 ขยายตัวจากไตรมาส 4 ของปี 2565 ประมาณ 1.9%  ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญมาจากการฟื้นตัวของธุรกิจท่องเที่ยว ด้านการอุปโภคบริโภคโดยรวมของภาคเอกชนก็จัดอยู่ในเกณฑ์น่าพึงพอใจและคาดว่ามีโอกาสขยายตัวถึง 3.7% การลงทุนในภาคเอกชนขยายตัว 1.9% ส่วนการลงทุนภาครัฐขยายตัว 1.6% มูลค่าการส่งออกสินค้าคิดเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 1.6% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วง 2.5 – 3.5% ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.4%...

ปฏิเสธไม่ได้ว่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันอัตราความต้องการของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเหตุผลหลายประการ ไม่ว่าภาคธุรกิจกลุ่มใดก็ตามมองว่าบุคคลเหล่านี้มีความสำคัญพร้อมช่วยต่อยอดผลลัพธ์ให้ออกมาน่าพึงพอใจ ช่วยสร้างการเติบโตของธุรกิจ และยังเป็นแรงขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย ซึ่งแนวโน้มที่เกิดขึ้นก็มีเหตุผลในตัวเองอยู่หลายด้านเช่นกัน  แนวโน้มแรงงานต่างด้าวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังโรคระบาด หากย้อนกลับไปในช่วงปี 2563 จำนวนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในเมืองไทยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ประมาณ 2.5 ล้านคน โดยเฉพาะในกรุงเทพมีเฉียด 5 แสนคน แต่หลังการแพร่ระบาดของโรคช่วง 2-3 ปี ก่อนหน้าอัตราแรงงานจึงลดลงเหลือราว 1.4 ล้านคน หรือกว่า 52% เหตุเพราะนอกจากความน่ากลัวของโรคแล้วบรรดาองค์กรหลายแห่งต้องมีการปรับตัว เปลี่ยนแนวทางการจ้างงาน รวมถึงจำนวนไม่น้อยต้องหยุดการทำงานชั่วคราว กระทั่งหลังความรุนแรงของโรคลดน้อยลง แนวโน้มแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในเมืองไทยกลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง จากสถิติช่วงไตรมาส 1 ปี 2566 กระทรวงแรงงาน ระบุว่ามีแรงงานต่างด้าวเข้ามาอยู่ทำงานมากกว่า 2.7 ล้านคน คิดเป็น 6.92% ของแรงงานทั้งหมดในเมืองไทย สูงกว่าช่วงก่อนโรคระบาดด้วยซ้ำ ซึ่งกลุ่มธุรกิจที่ให้ความสำคัญ ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้าง การเกษตร ปศุสัตว์ และงานด้านบริการต่าง ๆ ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของแรงงานต่างด้าว จากสถิติและตัวเลขที่ระบุเอาไว้คงพอเห็นภาพชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับความต้องการแรงงานต่างด้าวมีอัตราสูง...

ไม่ว่าจะมาจากประเทศใดก็ตามสิทธิมนุษยชนคือสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องได้รับความเท่าเทียมกันมากที่สุด ซึ่งแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในเมืองไทยเองก็จัดเป็นอีกกลุ่มคนสำคัญคอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจพร้อมสร้างผลงานชั้นยอดออกสู่สายตาโลก ด้วยเหตุนี้ทั้งนายจ้างและแรงงานจึงต้องทำความเข้าใจสิทธิ์ของแรงงานต่างด้าวเมื่อเข้ามาทำงานในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นสิทธิตามกฎหมายแรงงาน สิทธิด้านสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต สิทธิพื้นฐานของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย สิทธิพื้นฐานสำคัญเมื่อแรงงานต่างด้าวตัดสินใจเข้ามาทำงานในเมืองไทยคือเรื่องของสุขภาพอันเป็นไปตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งในส่วนนี้คือเรื่องของประกันสังคมและสิทธิประกันสุขภาพ มีข้อมูลน่าสนใจดังนี้ 1. ประกันสังคม หากเป็นแรงงานต่างด้าวที่มีรายชื่อเป็นพนักงานองค์กรชัดเจนจะต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมและจ่ายเงินสมทบไม่ต่างจากแรงงานไทย จากนั้นก็จะเข้าสู่สถานะของการเป็นผู้ประกันตน มีสิทธิด้านการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลที่ตนเองสังกัดหรืออยู่ในเครือข่ายแบบไม่ต้องเสียเงินตามเงื่อนไขที่กำหนดเอาไว้ ดังนี้ เมื่อขึ้นทะเบียนประกันสังคมแล้วต้องจ่ายเงินสมทบจำนวน 5% ของเงินเดือน (ไม่เกิน 750 บาท) นายจ้างจ่าย 5% และรัฐบาลไทยจ่าย 2.75%  แรงงานจะได้รับสิทธิประโยชน์รวม 7 รายการ ได้แก่ เจ็บป่วยหรือประสบอันตราย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ที่ไม่ได้เกี่ยวกับการทำงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน มีกองทุนเงินทดแทนโดยนายจ้างจะเป็นผู้จ่ายในอัตรา 0.2-1% ของค่าจ้างตามประเภทความเสี่ยงกิจการ เงินส่วนนี้แรงงานได้รับต่อเมื่อประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ สูญหาย หรือเสียชีวิตขณะทำงาน 2. สิทธิประกันสุขภาพ สำหรับแรงงานต่างด้าวที่มีการนำเข้าตาม MOU และทำงานประเภทแม่บ้าน เกษตรกร เลี้ยงสัตว์...