พฤษภาคม 2023

หากพูดถึงความต้องการแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยนั้น นับว่ายังมีตัวเลขที่สูงและมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง Jobsworker ยังคงตอบโจทย์ในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้บุกเบิกธุรกิจบริการจัดหาแรงงานต่างด้าวแบบครบวงจร ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2544 นับเป็นเวลากว่า 20 ปีที่เราทำงานตรงนี้ และทำงานร่วมกับลูกค้านิติบุคคลเราน่าจะเคยทำงานให้มาเกิน 1000 แห่ง จึงสั่งสมประสบการณ์เรื่อยมาจนเกิดความเชี่ยวชาญ ความต้องการแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง พบข้อมูลที่เผยในเว็บไซต์กรมจัดหางานเกี่ยวกับการรายงานผลสำรวจจากกระทรวงแรงงานในปี 2564 ที่แสดงถึงความต้องการแรงงานต่างด้าวสูงกว่า 4 แสนราย แบ่งเป็น สัญชาติเมียนมา 256,029 คน สัญชาติกัมพูชา130,138 คน และสัญชาติลาว 38,536 คน  หากย้อนกลับไปในอดีตจะพบว่าประเทศไทย มีความต้องการแรงงานต่างด้าวที่สูงขึ้นทุกปี จากข้อมูลของสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน ซึ่งเผยในเอกสารรายงานสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจ การแรงงานระหว่างประเทศ และการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ บนเว็บไซต์กระทรวงแรงงาน พบว่า สถิติจำนวนแรงงานข้ามชาติ ในประเทศไทยย้อนหลังตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2554 จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2563 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา...

เอกสารแรงงานต่างด้าว เป็นเรื่องสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ ผู้ประกอบการที่ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว จะต้องดำเนินการส่วนนี้ให้ถูกต้อง หากเลือกใช้บริการบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าวก็ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ เช่นเดียวกับ Jobsworker ที่ก่อตั้งมากว่า 20 ปี และทำงานร่วมกับบริษัทต่างๆ มากกว่า 20 แห่ง จึงค่อนข้างแม่นยำในเรื่องของการจัดทำเอกสารแรงงานต่างด้าวที่ถูกต้อง ความสำคัญของเอกสารแรงงานต่างด้าว แรงงานต่างด้าวเมื่อเข้าประเทศมาเพื่อทำงาน จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องจะมีเอกสารที่พิสูจน์ได้ว่าผ่านการขึ้นทะเบียนแล้ว ทำให้เอกสารแรงงานต่างด้าวมีความสำคัญ กรณีที่มีการตรวจสอบ และพบว่าแรงงานต่างด้าวไม่มีเอกสารที่ถูกต้อง จะถูกส่งกลับประเทศ ส่วนผู้ประกอบการเองก็จะถูกดำเนินคดีตามข้อบังคับกฎหมายแรงงานต่างด้าว เอกสารแรงงานต่างด้าว มีอะไรบ้าง หนังสือเดินทาง (Passport) หรือเอกสารแทนหนังสือเดินทาง มีตราประทับ Non Immigrant L-A ที่ยังไม่หมดอายุ วีซ่าที่ยังไม่หมดอายุ ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) เล่มสีน้ำเงิน หรือใบอนุญาตทำงานที่ยังไม่หมดอายุ และต้องระบุนายจ้างตรงกับที่ทำงานปัจจุบัน บัตรประจำตัวซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู ต่างด้าว) ซึ่งด้านหลังมีใบอนุญาตทำงานและยังไม่หมดอายุ เอกสารทั้ง 4 อย่างนี้จะแสดงให้เห็นว่าแรงงานต่างด้าวคนนั้น เป็นแรงงานต่างด้าวที่ผ่านการขึ้นทะเบียนแล้ว...

ในครั้งนี้ทางบทความจะพูดถึงแรงงานข้ามชาติหรือแรงงานต่างด้าว โดยจะเป็นเนื้อหาที่เปรียบเทียบระหว่างการส่งต่อแรงงานต่างด้าวและการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านตัวแทน ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ในแง่ของผู้ประกอบการ ควรเลือกแบบไหนถึงจะดีกว่า ซึ่งเนื้อหาส่วนนี้ค่อนข้างสำคัญ เพราะผู้ประกอบการหลายคนยังไม่รู้ถึงความสำคัญของการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านตัวแทน โดยเฉพาะในแง่ของการกฎหมาย และอาจยังไม่รู้ถึงผลกระทบที่จะตามมาในภายหลัง แรงงานต่างด้าว คืออะไร? แรงงานต่างด้าว ก็คือคนทำงานในพื้นที่ที่ไม่ใช่พื้นที่ที่ตัวเองถือสัญชาติ อย่างในประเทศไทยหากมีคนทำงานชาติอื่นที่ไม่ใช่สัญชาติไทย ก็คือแรงงานต่างด้าว ทั้งนี้ยังได้มีการกำหนดความหมายตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 เอาไว้ว่า “คนต่างด้าว” หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย และกำหนดไว้ว่า คนต่างด้าวจะทำงานได้เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมการจัดหางานหรือเจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีมอบหมายเท่านั้น นอกจากนี้องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ได้ให้ความหมายของ “แรงงานข้ามชาติ” ไว้ในอนุสัญญาฉบับที่ 97 ว่าด้วยการอพยพเพื่อการทำงาน (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) มาตรา 11 คือ หมายถึง บุคคลที่ย้ายถิ่นจากประเทศหนึ่งเพื่อที่จะไปทำงานมากกว่าที่จะไปใช้จ่ายเงินของตนเอง และรวมถึงบุคคลใดๆ ที่โดยปกติแล้วได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้อพยพเพื่อทำงาน  การส่งต่อแรงงานต่างด้าว คืออะไร? การส่งต่อแรงงานต่างด้าว คือ การจัดหาแรงงานต่างด้าวแบบไม่ผ่านตัวแทนที่เป็นรูปบริษัทขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย เป็นการจัดหาผ่านบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ส่งต่อแรงงานต่างด้าวไปยังอีกบุคคลหนึ่ง ผู้ประกอบการมักจะหาแรงงานต่างด้าวจากคนรู้จัก...

เรื่องของการจ้างแรงงานข้ามชาติในสังคมไทย ก็มีทั้งการจ้างงานแบบถูกกฎหมายและผิดกฎหมายปะปนกัน ในแง่ของการจ้างแรงงานแบบถูกกฎหมาย มีการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวตามข้อกำหนดนั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไร อีกทั้งยังเป็นผลดีที่ช่วยแก้ไขปัญหาแรงงานขาดแคลนในบางสาขาอาชีพได้อีกด้วย แต่การจ้างแรงงานข้ามชาติแบบผิดกฎหมายนั้นแตกต่าง แม้จะแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานได้ส่วนหนึ่ง แต่ก็พบว่ามีปัญหาหลายอย่างตามมา ซึ่งทางบทความก็ได้รวบรวมเอาไว้ให้แล้ว ดังนี้   1.ปัญหาอาชญากรรม ผลกระทบของแรงงานเถื่อนหรือการจ้างแรงงานข้ามชาติแบบผิดกฎหมาย เรื่องแรกขอยกให้กับปัญหาอาชญากรรม ที่เป็นปัญหาอันดับต้นๆ ซึ่งจัดการได้ยากสำหรับแรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน แน่นอนว่าการจ้างแรงงานข้ามชาติแบบขึ้นทะเบียนนั้น แรงงานคนดังกล่าวจะมีชื่อในทะเบียน เท่ากับว่ามีตัวตนในประเทศไทย ทางการรับรู้ว่ามีบุคคลนี้อาศัยอยู่ในสถานะแรงงานข้ามชาติถูกกฎหมาย หากกระทำผิดก็จะสามารถติดตามตัวได้ง่ายกว่าแรงงานข้ามชาติที่ไม่มีการขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย  ขณะเดียวกันการจ้างแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายที่ไม่มีการขึ้นทะเบียน ซึ่งเท่ากับว่าไม่มีตัวตนอยู่ในประเทศไทย เมื่อกระทำความผิดหรือก่ออาชญากรรม ก็สามารถติดตามตัวได้ยาก ทำให้แรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายหรือที่เรียกว่าแรงงานเถื่อน มีโอกาสที่จะก่ออาชญากรรมได้ง่ายกว่าแรงงานที่ขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย จึงยกให้ปัญหานี้เป็นปัญหาอันดับต้นๆ ที่เป็นผลกระทบของเรื่องนี้ ดังนั้นในแง่ของผู้ประกอบการที่ต้องการจ้างแรงงานข้ามชาติ ควรขึ้นทะเบียนให้ถูกกฎหมายจะเป็นผลดีกว่า โดยเฉพาะในเรื่องของความปลอดภัยต่อตัวผู้ประกอบการเอง 2.ปัญหาสิ่งแวดล้อม  ผลกระทบถัดมาสำหรับการจ้างแรงงานเถื่อน ที่อาจมีอัตรามากเกินไปในพื้นที่หนึ่ง ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ เนื่องจากการขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติ ในหนึ่งพื้นที่ก็จะมีการจัดสรรจำนวนแรงงานที่พอดีกับพื้นที่นั้นๆ เมื่อพบว่าพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งมีความหนาแน่นแล้ว ทางการอาจมีการกระจายแรงงานไปยังพื้นที่อื่นๆ เพื่อลดความหนาแน่นลง ซึ่งจะมีจำนวนแรงงานที่พอดี ทำให้สามารถจัดการกับสิ่งต่างๆ ได้ง่าย เช่นสิ่งแวดล้อม ที่สามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า เมื่อมีแรงงานที่ไม่หนาแน่นหรือแออัดจนเกินไป  ตรงกันข้ามเมื่อมีแรงงานเถื่อนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง อาจทำให้เกิดความหนาแน่นของแรงงานข้ามชาติในพื้นที่มากเกินไป และทำให้ปริมาณผู้อยู่อาศัยในบริเวณนั้นมากเกินพอดี นำมาซึ่งปัญหาต่างๆ...