ธันวาคม 2022

สำหรับตัวแรงงานต่างชาติ (แรงงานต่างด้าว) ที่สนใจเข้ามาทำงานในเมืองไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงองค์กรต่างๆที่ สนใจจะจัดหาแรงงานต่างด้าว จะต้องมีการขออนุญาตและทำตามขั้นตอนให้ถูกต้องทั้งหมด ได้แก่การมีใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) และวีซ่า (Visa) ซึ่งขั้นตอนของการเตรียมเอกสารก็เป็นสิ่งสำคัญเพื่อการพิจารณาให้ผ่านอย่างง่ายดาย ซึ่งแต่ละประเภทของการยื่นขอต้องประกอบไปด้วยเอกสารดังต่อไปนี้ การทำใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) สำหรับแรงงานต่างชาติ แรงงานต่างชาติ (ต่างด้าว) ที่จะเข้ามาทำงานในเมืองไทย ขั้นตอนแรกต้องมีการขอใบอนุญาตทำงาน หรือ Work Permit ให้เรียบร้อย แต่ละครั้งจะมีอายุ 1 ปี และต้องต่อใบอนุญาตนี้ไปเรื่อย ๆ ทั้งนี้มีเงื่อนไขสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับหน่วยงานที่สามารถรับชาวต่างชาติเข้ามาทำงานได้ต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท มีพนักงานคนไทย 4 คน ต่อพนักงานต่างชาติ 1 คน  คำแนะนำคือหลังจากเดินทางเข้ามาถึงเมืองไทยเรียบร้อยควรรีบทำ Work Permit ทันที เพราะกรณีทำเดือนสุดท้ายหลังได้วีซ่าก็จะเสียสิทธิ์เรื่องการขอขึ้นประกันสังคม และการยื่น ภงด.1 ไม่ทันในการต่อวีซ่า 1...

ในปัจจุบันแรงงานต่างด้าวถือเป็นบุคคลสำคัญที่คอยขับเคลื่อนประเทศไทยให้เดินหน้าได้อย่างดีโดยเฉพาะบรรดากลุ่มแรงงานกลุ่มฝีมือ กึ่งฝีมือ และอาชีพต่าง ๆ อย่างไรก็ตามสำหรับนายจ้างที่ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว เหล่านี้นอกจากต้องทำใบอนุญาตแรงงาน (Word Permit) การทำพาสปอร์ต (Passport) และ วีซ่า (Visa) แล้ว การทำความรู้จักกับประเภทแรงงานที่สามารถจ้างได้ รวมถึงความแตกต่างจะช่วยให้สามารถจ้างคนอย่างมั่นใจ ประเภทของแรงงานต่างด้าวที่สามารถทำงานได้อย่างถูกกฎหมายในประเทศไทย 1. กลุ่มแรงงานได้รับอนุญาตตามมาตรา 9 กลุ่มบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้สามารถทำงานในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องคนเข้าเมือง แบ่งออกได้ 4 ประเภท ดังนี้ แรงงานทั่วไป คือ กลุ่มคนต่างชาติที่มีทักษะการทำงานดี มีตำแหน่งงานระดับสูง อาจเป็นการส่งตัวมาจากบริษัทต่างประเทศที่ได้ลงทุนในเมืองไทย หรือบางกรณีต้องใช้ทักษะเฉพาะจำพวกเทคโนโลยีชั้นสูง งานช่างเฉพาะทาง งานด้านการสื่อสารภาษา รวมถึงการทำงานจากเงินลงทุนของตนเอง กิจการร่วมทุน แบ่งได้ทั้ง การลงทุนตั้งแต่ 2 ล้านบาท จนถึง 30 ล้านบาท หรือบรรดาสมาคม มูลนิธิ องค์กรต่างชาติ แรงงานตลอดชีพ คนต่างชาติที่ได้รับอนุญาตสามารถทำงานได้ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๒๒...