สิงหาคม 2020

การประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ไม่เพียงแต่จะต้องคำนึงถึงคุณภาพของสินค้าหรือบริการเท่านั้น แต่การเอาใจใส่เรื่องสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มแรงงาน ก็เป็นอีกหนึ่งพื้นฐานที่สำคัญเช่นกัน  เพราะการปฏิบัติต่อแรงงานจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กรด้วย ดังนั้น องค์กรควรมีแนวทางการทำธุรกิจที่สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างครอบคลุมตามกฎหมายของประเทศและหลักการสากล  สิทธิมนุษยชนคืออะไร ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกับสิทธิมนุษยชนกันก่อน สิทธิมนุษยชน หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่มีมาแต่กำเนิด และความเสมอภาคที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ ศาสนา เพศ สีผิว ภาษา เผ่าพันธุ์ หรือสถานะอื่นใด โดยปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าร่วมภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน ที่คุ้มครองบุคคลที่อยู่ในเขตอำนาจรัฐ 7 ด้าน ได้แก่ สิทธิเด็ก สิทธิสตรีที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ  สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สิทธิคนพิการ  การห้ามเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ การห้ามการทรมาน การปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรี จะเห็นได้ว่าทั้งแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวชาติใด ๆ ต่างก็มีสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานกันทั้งนั้น จึงเป็นเรื่องที่นายจ้างไม่ควรมองข้าม  ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นบ่อย ปัจจุบันพบว่าองค์กรภาคธุรกิจหลายแห่งได้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลายด้านและเกิดขึ้นหลายครั้ง ซึ่งรวมถึงการละเมิดสิทธิแรงงานต่างด้าวด้วย เช่น ไม่มีสัญญาจ้าง การจ้างงานไม่เป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายแรงงาน หรือการขัดขวางจัดตั้งสหภาพแรงงาน ผู้หญิงได้รับค่าจ้างต่ำกว่าผู้ชายหรือเลิกจ้างเมื่อตั้งครรภ์ รวมไปถึงความปลอดภัยในการทำงาน...

อย่างที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยในปัจจุบันมีความต้องการด้านแรงงานเพิ่มขึ้น และด้วยจำนวนแรงงานชาวไทยมีอยู่อย่างจำกัด ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ จึงจำเป็นต้องจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาชีพแม่บ้านทำความสะอาด พนักงานในร้านอาหาร ไปจนถึงแรงงานก่อสร้าง  อย่างไรก็ตาม การจ้างแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมายอาจเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวสำหรับนายจ้าง เพราะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และต้องเตรียมเอกสารหลายอย่าง โดยเฉพาะเจ้าของกิจการขนาดใหญ่ที่ต้องการแรงงานเป็นจำนวนมาก การใช้บริการบริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาทำงานในประเทศจึงเป็นทางเลือกที่ดี มาดูกันว่าเพราะเหตุใด นายจ้างจึงควรใช้บริการบริษัทตัวแทนนำเข้าแรงงาน ทำไมต้องจ้างผ่านบริษัท บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศเป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยบริษัทเหล่านี้จะมีพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญช่วยอำนวยความสะดวกและให้คำปรึกษากับนายจ้างหรือผู้ประกอบการที่ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว ซึ่งแต่ละบริษัทอาจมีรายละเอียดการให้บริการที่แตกต่างกันไป แต่โดยรวมแล้วการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านบริษัทตัวแทนมีข้อดีหลัก ๆ ดังนี้ เอกสารครบ ถูกต้องตามกฎหมาย ปัญหาใหญ่ที่ทำให้นายจ้างหลาย ๆ รายถอดใจกับการจ้างแรงงานต่างด้าวคือขั้นตอนที่ยุ่งยากในการดำเนินการ รวมถึงความไม่รู้หรือไม่เข้าใจในตัวบทกฎหมายที่มีความซับซ้อน และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้ง การใช้บริการจากบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าวจะทำให้นายจ้างสามารถนำเข้าแรงงานต่างด้าวได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและสะดวกสบาย โดยบริษัทจะเข้ามาช่วยตั้งแต่ขั้นตอนการจัดหาแรงงานที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการของนายจ้าง การจัดเตรียมและดำเนินการทำเอกสารต่าง ๆ จนถึงขั้นตอนการพาลูกจ้างมายังสถานที่ทำงานในประเทศไทย  มีที่ปรึกษาที่เชื่อถือได้ การมีผู้เชี่ยวชาญที่คอยให้คำปรึกษาเป็นสิ่งสำคัญ เพราะแม้ว่าจะสามารถนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU ได้เรียบร้อยแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าหลังจากนี้จะไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม อย่างน้อยเมื่อเอกสารสำคัญ เช่น ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) วีซ่า (Visa) หมดอายุ นายจ้างก็จะต้องพาแรงงานต่างด้าวไปดำเนินการต่ออายุตามกฎหมาย นอกจากนี้ระหว่างการทำงานอาจเกิดปัญหาเล็ก...

แรงงาน MoU เมื่อครบวาระ 2 ปีแล้ว ต้องทำยังไง? คลิ๊กที่นี่เพื่อไปฟัง>> https://youtu.be/2zHPtNKwSEM กระบวนการดำเนินการทำ MOU นั้น แรงงานต่างด้าวจะได้รับสิทธิการทำงานในไทยได้ 4 ปี ซึ่งครั้งแรกแรงงานต่างด้าวจะได้รับสิทธิในการทำงาน 2 ปี และหลังจากครบ 2 ปี แรงงานต่างด้าวสามารถขอทำงานต่อได้อีก 2 ปี รวมเป็น 4 ปี ซึ่งหากนายจ้างหรือแรงงานต่างด้าวไม่ได้ไปต่อทันในเวลาที่กำหนดอาจทำให้ต้องเสียค่าปรับ หรือต้องดำเนินการทำ MOU ใหม่ การต่อ MoU 2 ปีหลัง สามารถทำล่วงหน้าได้ แต่ไม่สามารถทำได้หากเกินกำหนดแล้ว วีซ่า ต้องดำเนินการต่อล่วงหน้าก่อนวันหมดอายุ 45 วัน ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ต้องดำเนินการต่อล่วงหน้าก่อนวันหมดอายุ 30 วัน ขั้นตอนการดำเนินการต้องรีบดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนใบอนุญาตทำงานขาด ตรวจร่างกาย นายจ้างต้องพาแรงงานต่างด้าวไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชน...

แรงงานกลุ่ม MOU ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่อยู่ในประเทศไทยและแรงงาน MoU (อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก>> https://www.jobsworkerservice.com/รู้จักแรงงานต่างด้าว) ที่กำลังดำเนินการทางรัฐบาลก็ได้มีมาตรการออกมาแก้ไขปัญหาดังนี้                กลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ดำเนินการตามขั้นตอน MOU หรือ Memorandum of Understanding คือเอกสารหรือหนังสือที่มีการบันทึกข้อตกลง หรือความเข้าใจระหว่างองค์กร ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน โดยตัวแทนของทุกฝ่ายจะต้องลงนามในบันทึกข้อตกลงนั้นเพื่อให้เอกสารมีผลบังคับใช้ ดังนั้นแรงงานต่างด้าว MOU ก็คือแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายภายใต้ข้อตกลง MOU ระหว่างรัฐบาลประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเมียนมาร์ ในกลุ่มนี้แรงงานจะถือเล่มพาสปอร์ตจากประเทศต้นทาง และมีใบอนุญาตทำงาน วีซ่า ทั้งสิ้น 2 ปี และสามารถทำการยื่นต่อวีซ่าและใบอนุญาตทำงานเพิ่มได้อีก 2 ปี รวมเป็นทั้งสิ้น 4 ปี และเมื่อครบ 4 ปีแล้ว แรงงานกลุ่มนี้ในสถานการณ์ปกติจะต้องทำการกลับประเทศต้นทาง และดำเนินการทำ MoU กลับเข้ามาใหม่ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา...

การบอกเลิกจ้างพนักงานเป็นเรื่องที่น่าลำบากใจไม่น้อยสำหรับนายจ้าง โดยเฉพาะในช่วงที่มีวิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างเช่นที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งทำให้หลายบริษัทต้องปลดพนักงานเป็นจำนวนมากเพื่อรัดเข็มขัดและตัดรายจ่ายบางส่วนออก ตั้งแต่ประมาณเดือนมีนาคมที่ผ่านมามีแรงงานที่ถูกเลิกจ้างราว 7 ล้านคน และมีการคาดการณ์ว่าการต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉินไปอีก 1 เดือน อาจทำให้มีการเลิกจ้างสูงถึง 11-12 ล้านคน เนื่องจากธุรกิจต้องหยุดทำการเป็นเวลานาน เมื่อเกิดการเลิกจ้าง นายจ้างไม่ควรละเลยการปฏิบัติตามกฎหมาย เพราะอาจทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมและมีการฟ้องร้องเกิดขึ้นได้ โดยกฎหมายการเลิกจ้างพื้นฐานที่นายจ้างควรรู้มีดังนี้ การบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อมีเหตุให้ต้องเลิกจ้างแรงงาน นายจ้างจำเป็นจะต้องปฏิบัติตามหลักกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฏหมายคุ้มครองแรงงาน เพื่อให้เกิดการเลิกจ้างที่เป็นธรรม โดยแบ่งเป็น 2 กรณี  สัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลาจ้าง หรือเรียกอีกอย่างว่า สัญญาปลายปิด นายจ้างไม่จำเป็นต้องบอกล่วงหน้าก่อนที่สัญญาจะสิ้นสุด โดยสัญญาประเภทนี้จะต้องเป็นสัญญาที่มีกำหนดเวลาเริ่มและสิ้นสุดของสัญญาไว้ชัดเจน และโดยทั่วไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดได้  สัญญาจ้างแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาจ้าง หรือเรียกอีกอย่างว่า สัญญาปลายเปิด นายจ้างจำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงงวดการจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่ง เพื่อให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างเมื่อถึงงวดการจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า การจ่ายค่าชดเชย  แม้ว่าการนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU จะมีการกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวอาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่ MOU คือบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ไม่ถือเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาจ้างไว้แน่อน ดังนั้นหากมีการเลิกจ้างแรงงานต่างด้าว หรือแรงงานทำงานครบกำหนดตามระยะเวลาในใบอนุญาต และนายจ้างไม่มีความต้องการที่จะจ้างแรงงานต่อ...