กุมภาพันธ์ 2020

ปัจจุบันนายจ้างหรือผู้ประกอบการหลาย ๆ คนเลือกที่จะจ้างแรงงานต่างด้าวมากกว่าแรงงานไทย เนื่องจากมองว่าจ่ายค่าแรงถูกกว่า ได้แรงงานที่มีความขยันขันแข็งมากกว่า และมีบางอาชีพที่แรงงานไทยไม่ต้องการทำ เช่น งานในโรงงานอุตสาหกรรม งานก่อสร้าง งานขนของ เป็นต้น แม้ว่าแรงงานต่างด้าวจะสามารถเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและได้รับสิทธิประโยชน์หลายอย่างเหมือนกับคนไทย แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องอาชีพ เพราะมีงานบางประเภทที่คนต่างด้าวทำได้ไม่ผิดกฎหมาย และงานที่แรงงานต่างด้าวห้ามทำโดยเด็ดขาด เพื่อเป็นการรักษาโอกาสในการทำงานและวิชาชีพของคนไทย แรงงานต่างด้าวทำอาชีพอะไรได้บ้าง นายจ้างอาจมีความกังวลว่ากฎหมายจะจำกัดอาชีพสำหรับคนต่างด้าวจนไม่สามารถจ้างแรงงานต่างด้าวมาทำงานที่ตนต้องการได้ แต่ความจริงแล้วอาชีพที่คนต่างด้าวสามารถทำได้ในปี 2562 มีความหลากหลาย โดยยังคงยึดตามมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวปี 2560 ซึ่งกำหนดให้คนต่างด้าวทำงานได้ทั้งหมด 3 แบบ รวม 12 อาชีพ ดังนี้ แบบไม่มีเงื่อนไข 1 อาชีพ ได้แก่  กรรมกร แบบมีเงื่อนไข คือ คนต่างด้าวต้องเป็นลูกจ้าง เป็นงานที่ขาดแคลนแรงงาน อนุญาตให้ทำได้เท่าที่จำเป็น โดยไม่กระทบต่อโอกาสการมีงานทำของคนไทย 8 อาชีพ ได้แก่ กสิกรรม เลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ หรือประมง ยกเว้นงานที่ใช้ความชำนาญงานเฉพาะสาขา...

นายจ้างหรือผู้ประกอบการหลายคนต้องการแรงงานจำนวนมาก แต่ประสบปัญหาแรงงานในประเทศไทยไม่เพียงพอ ทำให้การจ้างแรงงานต่างด้าวก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะสามารถจ้างได้จำนวนมาก และแรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่มักทนงาน แต่การนำเข้าแรงงานต่างด้าวนั้นจำเป็นต้องเข้าใจกฎหมายหลายข้อเพื่อปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง มาดูสิ่งที่นายจ้างควรรู้เมื่อจ้างแรงงานต่างด้าวกัน การทำ MOU  รู้หรือไม่ว่า การจ้างแรงงานต่างด้าวจะต้องทำ MOU จึงจะถือว่าแรงงานเข้ามาทำงานอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งค่าใช้จ่ายในการทำ MOU ของแต่ละประเทศทั้งลาว กัมพูชา เมียนมาร์ จะแตกต่างกัน โดยการนำเข้าแรงงานต่างด้าวตาม MOU สามารถทำได้ 2 วิธี คือ 1. นายจ้างดำเนินงานด้วยตัวเอง 2. ดำเนินการผ่านบริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยถ้าหากนำเข้าแรงงานผ่านบริษัทตัวแทนจะสามารถทำได้ง่ายกว่า เพราะรับรองได้ว่าถูกต้องตามกฎหมายแน่นอน ไม่ต้องเสียเวลาศึกษาเอง สวัสดิการ แรงงานต่างด้าว  แรงงานต่างด้าวทุกคนที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมายจะต้องทำประกันสังคม โดยนายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป จะต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนภายใน 30 วัน ซึ่งนายจ้างขึ้นทะเบียนได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครหรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่ แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส.1-01) ต้องใช้เอกสารดังนี้ กรณีจดทะเบียนนิติบุคคล แบบฟอร์มขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส.1-01) แผนที่และภาพถ่ายของสถานประกอบการ หลักฐานแสดงตัวของนายจ้าง เช่น บัตรประจำตัวประชาชน...