มกราคม 2020

หากลองสังเกตดี ๆ จะพบว่าตู้เอทีเอ็มของหลาย ๆ ธนาคารไม่ได้มีแค่ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ยังมีภาษาเพื่อนบ้านของเราอย่างภาษาพม่าเพิ่มเข้ามาด้วย เนื่องจากปัจจุบันแรงงานต่างด้าว ไม่ว่าจะเป็นคนลาว กัมพูชา หรือเมียนมาร์ก็สามารถเปิดบัญชีธนาคารในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ลูกจ้างสามารถออมเงินและโอนเงินไปให้ครอบครัวของตน โดยไม่ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางหรือโอนเงินผ่านนายหน้า ส่วนนายจ้างก็สามารถจ่ายเงินเดือนให้กับแรงงานต่างด้าวได้อย่างสะดวกสบาย โดยเฉพาะนายจ้างที่มีลูกจ้างเป็นจำนวนมาก จ๊อบส์ เวิร์คเกอร์ เซอร์วิส จึงรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการเปิดบัญชีธนาคารสำหรับแรงงานต่างด้าวมาให้นายจ้างทุกท่าน มีอะไรน่าสนใจบ้าง ไปดูกัน เปิดบัญชีธนาคารให้แรงงานต่างด้าวไม่ยากอย่างที่คิด หากพูดถึงการทำธุรกรรมทางการเงินที่ธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นการเปิดบัญชี การฝาก/ถอน การโอนเงิน หลาย ๆ คนคงมองว่าเป็นอะไรที่ยุ่งยาก ยิ่งถ้าเป็นการดำเนินการให้กับคนที่ไม่ได้มีสัญชาติไทยแล้วก็ยิ่งน่าหนักใจเป็นอีกเท่าตัว แต่ความจริงแล้วชาวต่างชาติและแรงงานต่างด้าวสามารถเปิดบัญชีธนาคารในประเทศไทยได้ไม่ยาก เพียงแค่นำเอกสารสำคัญไปให้ครบ โดยธนาคารส่วนใหญ่จะกำหนดให้ชาวต่างชาติหรือแรงงานต่างด้าวที่ต้องการเปิดบัญชีในประเทศไทยใช้เอกสาร ดังนี้ กรณีชาวต่างชาติหรือแรงงานต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงาน ใช้หนังสือเดินทาง (Passport) และใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) หรือเอกสารประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู)  สำหรับแรงงานต่างด้าวและชาวต่างชาติที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ส่วนใหญ่ไม่สามารถเปิดบัญชีได้ เนื่องจากธนาคารต้องการหลักฐานยืนยันว่าผู้ที่มาเปิดบัญชีทำงานอยู่ในประเทศไทยจริง หากอยู่ระหว่างการรอรับใบอนุญาตทำงาน สามารถใช้เอกสารที่หน่วยราชการออกให้ใช้แทนได้...

ปัจจุบันอัตราการจ้างแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยสูงมาก เพราะแรงงานในประเทศไทยมีจำกัด ในขณะที่การพัฒนาและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมสูงขึ้น ทำให้นายจ้างมีความต้องการจ้างแรงงานจำนวนมาก มาดู 10 สิ่งสำคัญที่นายจ้างควรรู้ ก่อนจ้างแรงงานต่างด้าว อัพเดตล่าสุดปี 2562 1 . การจ้างแรงงานต่างด้าวต้องเข้ามาตามระบบ MOU เท่านั้น หลายคนอาจยังไม่ทราบว่า การจ้างแรงงานต่างด้าวจะต้องทำตามบันทึกข้อตกลงหรือ MOU หากไม่มีถือว่าเป็นการจ้างงานอย่างผิดกฎหมาย มาดูกันดีกว่าว่าการนำเข้าแรงงานตามระบบ MOU ควรทำอย่างไรบ้าง ขั้นตอนการทำ MOU 1. ต้องยื่นเอกสาร DEMAND LETTER หรือคำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ โดยต้องส่งเอกสารคำร้องที่ได้ไปยังตัวแทนประเทศต้นทางเพื่อดำเนินการคัดเลือกแรงงาน หลังจากนั้นตัวแทนประเทศต้นทางจัดทำบัญชีรายชื่อส่งกลับมา 2. ยื่นบัญชีรายชื่อแรงงานต่างด้าว ที่ได้รับมาจากเอเจนซี่ที่ต่างประเทศ ยื่นบัญชีรายชื่อพร้อมแบบ ตท. 2 และเอกสารประกอบ ที่ สจจ/สจก. ชำระค่าใบอนุญาตทำงาน 1,900 บาท  กรณีนายจ้างยื่นเองจะต้องวางประกัน 1,000 บาท/แรงงาน 1 คน สูงสุดไม่เกิน...