การทำ MOU สามารถทำได้ 2 วิธี คือ นายจ้างดำเนินการด้วยตัวเองหรือให้บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศซึ่งรับทำเอกสารแรงงานต่างด้าวหรือรับทำบัตรต่างด้าวต่าง ๆ เป็นผู้ดำเนินการ วิธีการนี้จะสะดวก และประหยัดเวลามากกว่า เพราะนายจ้างมีหน้าที่แค่เตรียมเอกสารเท่านั้น โดยเอกสารที่ต้องเตรียมมีดังนี้
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนนายจ้างหรือสำเนาใบอนุญาตทำงาน (กรณีนายจ้างเป็นคนต่างด้าว)
2. สำเนาทะเบียนบ้านของนายจ้าง
3. หลักฐานแสดงความจำเป็นในการจ้างคนต่างด้าว เช่น เอกสารหลักฐานแสดงการประกอบธุรกิจ ทะเบียนพาณิชย์ สัญญาเช่า โฉนดที่ดิน ทะเบียนเรือ เป็นต้น
4. แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานที่ทำงาน
5. รูปถ่ายของกิจการและสถานประกอบการ
6. หากมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาทำแทน ต้องมีใบมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 10 บาท
1. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนนายจ้างหรือสำเนาใบอนุญาตทำงาน (กรณีนายจ้างเป็นคนต่างด้าว) ของกรรมการผู้จัดการหรือผู้ถือหุ้นหรือผู้มีอำนาจลงนาม
3. สำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้จัดการหรือผู้ถือหุ้นหรือผู้มีอำนาจลงนาม
4. หลักฐานแสดงความจำเป็นในการจ้างคนต่างด้าว เช่น เอกสารหลักฐานการประกอบธุรกิจ หนังสือรับรองบริษัท หนังสือจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ทะเบียนพาณิชย์ สัญญาเช่า โฉนดที่ดินทะเบียนเรือ เป็นต้น
5. แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานที่ทำงาน
6. รูปถ่ายของกิจการและสถานประกอบการ
7. สำเนาใบภาษี (ภพ.01) และสำเนาใบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.20) หรือเลขทะเบียนผู้เสียภาษีนิติบุคคล
8. หากมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการแทน ต้องมีใบมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 10 บาท
หมายเหตุ: หากทำMOU แรงงานต่างด้าวจะต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมแรงงานต่างด้าวด้วย
สำหรับนายจ้างที่มีแรงงานต่างด้าวประเภทพิสูจน์สัญชาติ หรือประเภทพิสูจน์สัญชาติปรับปรุง ควรรีบดำเนินการขอใบอนุญาตแรงงานต่างด้าว เพราะใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวจะหมดอายุพร้อมกันในวันที่ 31 มีนาคม 2563 ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
1) นายจ้างยื่นความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว บัญชีรายชื่อแรงงานฯ (Name List)
2) นำคนต่างด้าวไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล โดยคนต่างด้าวที่เข้าระบบประกันสังคม ให้ตรวจสุขภาพ ณ สถานพยาบาลตามบัตร
3) แรงงานต่างด้าวยื่นขออนุญาตอยู่ต่อในราชอาณาจักร (ลงตรา VISA) ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยมีเอกสารประกอบคือ บัญชีรายชื่อแรงงานฯ (Name List) และใบรับรองแพทย์
4) ยื่นขออนุญาตทำงานที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ที่ได้ยื่นแบบบัญชีรายชื่อความต้องการไว้
5) แรงงานต่างด้าวปรับปรุงทะเบียนประวัติและจัดทำบัตรประจำตัวคนที่ไม่มีสัญชาติไทยที่มีใบอนุญาตทำงานอยู่ด้านหลัง ณ ศูนย์บริหารการทะเบียนภาค สาขาจังหวัด ส่วนกรุงเทพมหานคร ดำเนินการที่สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร
ในกรณีที่แรงงานมีการแจ้งออก แรงงานต่างด้าวที่ออกจากงานต้องหานายจ้างใหม่ให้ได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ไม่ได้ทำงานกับนายจ้างเดิมและเมื่อหานายจ้างใหม่ได้แล้ว ต้องแจ้งนายทะเบียนภายใน 15 วัน และหากต้องการดำเนินการต่อใบอนุญาตทำงาน แรงงานต่างด้าวที่เปลี่ยนนายจ้างมาต้องแนบใบแจ้งเข้าและคัดทะเบียนประวัติ
เพื่อการบริการที่เป็นเลิศ JOB จึงจัดเตรียมบริการจัดทำเอกสารแรงงานต่างด้าวขึ้นเพื่อช่วยลดความยุ่งยากในขั้นตอนเอกสารให้แก่นายจ้างและแรงงาน โดยมีการพัฒนาระบบการบริการด้านเอกสารให้มีศักยภาพยิ่งขึ้น เราบริการด้วยรอยยิ้มและความจริงใจ ดำเนินงานโดยทีมงานมืออาชีพผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการดำเนินการด้านเอกสารแรงงานเป็นอย่างดี ลูกค้าจึงสามารถเชื่อมั่นได้ในความถูกต้องและรวดเร็วของเรา