FAQ ปัญหาแรงงานต่างด้าวที่พบบ่อย

JOB ตอบทุกข้อสงสัยปัญหาด้านแรงงานต่างชาติอย่างคนรู้จริง

icon

การจดทะเบียนบุตรแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติทำอย่างไร ?

แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า สามารถนำบุตรที่มีอายุไม่เกิน 15 ปี ไปยื่นเรื่องขอจดทะเบียนที่สถานที่และเวลาตามที่จังหวัดกำหนดโดยเตรียมเอกสารหลักฐานในการยื่นคำขอดังนี้

1. รูปถ่ายของบุตร ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
2. บัตรประจำตัว หรือ ทร.38/1ของบิดา หรือมารดา (ฉบับปัจจุบัน)
3. สูติบัตร หรือ ทร.38/1 ของบุตร (กรณีบุตรมีสูติบัตร หรือ ทร.38/1)
4. พยานที่ให้การรับรองความเป็นบิดา มารดากับบุตร เช่น นายจ้าง บุคคลผู้น่าเชื่อถือ

icon

แรงงานต่างด้าวทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาติมีบทลงโทษอย่างไร ?

ความผิดและบทลงโทษเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง/สถานประกอบการตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551

ลักษณะการกระทำผิด บทลงโทษบทลงโทษ
รับคนต่างด้าวเข้าทำงาน โดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน (มาตรา 27)ปรับตั้งแต่ 10,000 บาทถึง 100,000 บาทต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน (มาตรา 52)

ความผิดและบทลงโทษเกี่ยวกับการทำงานของคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551

ลักษณะการกระทำผิด บทลงโทษบทลงโทษ
ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต (มาตรา 51)จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000 ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีที่คนต่างด้าวซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดยินยอมเดินทางกลับออกนอกราชอาณาจักร ภายในเวลาที่กำหนด (ไม่ช้ากว่า 30 วัน) พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับและดำเนินการให้คนต่างด้าวนั้นเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรก็ได้ (มาตรา 51)
ไม่ทำงานตามประเภทหรือลักษณะงานและกับนายจ้าง ณ ท้องที่หรือ สถานที่และเงื่อนไขตามที่ได้รับอนุญาต (มาตรา 26 วรรคแรก)ปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 52)
ไม่มีใบอนุญาตทำงานอยู่กับตัว หรืออยู่ ณ สถานที่ทำงานในระหว่างเวลาทำงาน เพื่อแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน (มาตรา 24)ปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 52)
icon

การรับลงทะเบียนสำหรับกลุ่มอาชีพประมงทำอย่างไร ?

ขั้นตอนการรับลงทะเบียนสำหรับกลุ่มอาชีพประมง กรณีนายจ้างไม่สามารถพาคนต่างด้าวมาจดทะเบียนประวัติภายในกำหนดระหว่างวันที่ 1 – 30 กรกฎาคม 2552 ได้ เนื่องจากคนต่างด้าวออกเรือหาปลาอยู่กลางทะเล ให้ดำเนินการดังนี้

1. ให้นายจ้างหรือผู้ได้รับมอบหมาย นำรูปถ่ายคนต่างด้าว ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป มายื่นคำร้องตามแบบ ทต.1 ณ สำนักทะเบียนอำเภอ/ ท้องถิ่น พร้อมกรอกรายละเอียดรายการบุคคลตามแบบ
2. สำนักทะเบียนอำเภอ/ ท้องถิ่น จะต้องดำเนินการบันทึกข้อมูล พร้อมกำหนดเลขประจำตัว 13 หลัก แล้วฉีก ทต. 1 ตอน 3 มอบให้นายจ้าง/ผู้ประกอบการเพื่อนำคนต่างด้าวมาพิมพ์ลายนิ้วมือ ถ่ายรูป
3. หลังจากสิ้นสุดการจดทะเบียน ให้นายจ้าง/ ผู้ประกอบการพาคนต่างด้าวที่ยื่นคำร้องตามแบบ ทต. 1 ทุกคน มาดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนด ณ สำนักทะเบียนที่ยื่นคำร้องไว้ภายในวันที่ 30 กันยายน 2552 หากพ้นกำหนดแล้วให้ยกเลิกรายการคนต่างด้าวในฐานข้อมูลและยกเลิก ทต. 1 ด้วย การออกใบเสร็จรับเงินจะพิมพ์จากคอมพิวเตอร์ และมอบให้คนต่างด้าว สำหรับสำเนา ใบเสร็จรับเงินจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลและการนำส่งเงินเป็นรายได้ตาม ระเบียบกระทรวงการคลัง

icon

หนังสือเดินทางชั่วคราวมีความสำคัญและประโยชน์อย่างไร ?

1. เป็นเอกสารยืนยันว่าผู้ถือหนังสือเดินทางชั่วคราว (TP) หรือหนังสือเดินทางถาวร (PP)
2. เป็นเอกสารที่ใช้ในการขอตรวจลงตรา และประทับตราอนุญาตอยู่ในราชอาณาจักร (วีซ่า) เพื่อวัตถุประสงค์ในการขออนุญาตทำงานกับนายจ้างในประเทศไทย โดยถูกต้องตามกฎหมาย
3. ใช้หนังสือเดินทางชั่วคราว หรือหนังสือเดินทางถาวรแสดงกับเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองเวลาเดิน ทางกลับ ประเทศลาวเพื่อไปทำธุระหรือกลับไปเยี่ยมครอบครัว ญาติพี่น้อง
4. ใช้แสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อถูกตรวจสอบขณะอยู่ในประเทศไทย