22 ต.ค. แจ้งให้ทราบบริการต่อวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน (บัตรชมพู กลุ่มวีซ่าหมด 31 มีนาคม 2563 หรือกลุ่ม มติ ครม. 20 สิงหาคม 2562) ที่ยังไม่ได้ดำเนินการ!!
แจ้งให้ลูกค้าทุกท่านทราบ...
แจ้งให้ลูกค้าทุกท่านทราบ...
แรงงาน MoU เมื่อครบวาระ 2 ปีแล้ว ต้องทำยังไง? คลิ๊กที่นี่เพื่อไปฟัง>> https://youtu.be/2zHPtNKwSEM กระบวนการดำเนินการทำ MOU นั้น แรงงานต่างด้าวจะได้รับสิทธิการทำงานในไทยได้ 4 ปี ซึ่งครั้งแรกแรงงานต่างด้าวจะได้รับสิทธิในการทำงาน 2 ปี และหลังจากครบ 2 ปี แรงงานต่างด้าวสามารถขอทำงานต่อได้อีก 2 ปี รวมเป็น 4 ปี ซึ่งหากนายจ้างหรือแรงงานต่างด้าวไม่ได้ไปต่อทันในเวลาที่กำหนดอาจทำให้ต้องเสียค่าปรับ หรือต้องดำเนินการทำ MOU ใหม่ การต่อ MoU 2 ปีหลัง สามารถทำล่วงหน้าได้ แต่ไม่สามารถทำได้หากเกินกำหนดแล้ว วีซ่า ต้องดำเนินการต่อล่วงหน้าก่อนวันหมดอายุ 45 วัน ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ต้องดำเนินการต่อล่วงหน้าก่อนวันหมดอายุ 30 วัน ขั้นตอนการดำเนินการต้องรีบดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนใบอนุญาตทำงานขาด ตรวจร่างกาย นายจ้างต้องพาแรงงานต่างด้าวไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชน...
แรงงานกลุ่ม MOU ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่อยู่ในประเทศไทยและแรงงาน MoU (อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก>> https://www.jobsworkerservice.com/รู้จักแรงงานต่างด้าว) ที่กำลังดำเนินการทางรัฐบาลก็ได้มีมาตรการออกมาแก้ไขปัญหาดังนี้ กลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ดำเนินการตามขั้นตอน MOU หรือ Memorandum of Understanding คือเอกสารหรือหนังสือที่มีการบันทึกข้อตกลง หรือความเข้าใจระหว่างองค์กร ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน โดยตัวแทนของทุกฝ่ายจะต้องลงนามในบันทึกข้อตกลงนั้นเพื่อให้เอกสารมีผลบังคับใช้ ดังนั้นแรงงานต่างด้าว MOU ก็คือแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายภายใต้ข้อตกลง MOU ระหว่างรัฐบาลประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเมียนมาร์ ในกลุ่มนี้แรงงานจะถือเล่มพาสปอร์ตจากประเทศต้นทาง และมีใบอนุญาตทำงาน วีซ่า ทั้งสิ้น 2 ปี และสามารถทำการยื่นต่อวีซ่าและใบอนุญาตทำงานเพิ่มได้อีก 2 ปี รวมเป็นทั้งสิ้น 4 ปี และเมื่อครบ 4 ปีแล้ว แรงงานกลุ่มนี้ในสถานการณ์ปกติจะต้องทำการกลับประเทศต้นทาง และดำเนินการทำ MoU กลับเข้ามาใหม่ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา...
ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าจำนวนมากที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ซึ่งนายจ้างหรือแรงงานต่างด้าวหลายๆ คนอาจไม่ทราบว่าทะเบียนบ้านของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่านั้นมีความสำคัญอย่างไรในการดำเนินการทำ MOU รวมถึงทะเบียนบ้านพม่าแตกต่างจากทะเบียนบ้านของไทยอย่างไร เรามาทำความเข้าใจในเรื่องนี้กัน -------------------------------------------------------------------------- ทะเบียนบ้านพม่า คืออะไร แตกต่างอย่างไรกับทะเบียนบ้านของไทย? ทะเบียนบ้านสัญชาติพม่า คือ เอกสารที่ใช้แสดงเลขที่ประจำบ้านของแต่ละบ้าน ในทะเบียนบ้านของบ้านแต่ละหลัง จะมีการแสดงรายชื่อของผู้อยู่อาศัย และเจ้าของบ้าน ซึ่งเจ้าของบ้านจะมีได้เพียง 1 คนเท่านั้น โดยในทะเบียนบ้านพม่าไม่มีการจำกัดจำนวนผู้อยู่อาศัย จะแตกต่างจากของไทยที่มีการจำกัดจำนวนผู้อยู่อาศัย ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ของที่อยู่อาศัย ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 หมวด 4 สุขลักษณะของอาคาร ในมาตรา 24 เพื่อประโยชน์ในการควบคุมมิให้อาคารใดมีคนอยู่มากเกินไปจนอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้อยู่ในอาคารนั้น ให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กําหนดจํานวนคนต่อจํานวนพื้นที่ของอาคารที่ถือว่ามีคนอยู่มากเกินไป ทั้งนี้โดยคํานึงถึงสภาพความเจริญ จํานวนประชากรและย่านชุมชนของแต่ละท้องถิ่น ได้มีการกำหนดจำนวนคนต่อจำนวนพื้นที่ของอาคารที่พักอาศัยไว้ โดยกำหนดว่าอาคารที่พักอาศัยต้องมีคนอยู่ไม่เกิน 1 คนต่อพื้นที่ 3 ตารางเมตรเท่านั้น ทั้งนี้ในทะเบียนบ้านพม่ามีการระบุรายละเอียดต่างๆ เช่น รายชื่อคนที่อาศัยอยู่ในทะเบียนบ้าน ที่อยู่ บ้านเลขที่ สถานะที่เกี่ยวข้องกับคนในครอบครัว วันเดือนปีเกิด เลขที่บัตรประชาชน...
ต่อใบอนุญาตทำงาน สามารถพาแรงงานต่างด้าวไปตรวจคลินิกได้ไหม? หรือ ต้องไปตรวจที่โรงพยาบาลเท่านั้น? ประกาศกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงาน ที่มีการประกาศออกมานั้น มีจำนวนแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 2,459,785 คน (ข้อมูลล่าสุดจากกรมการจัดหางาน เดือนมิถุนายน 2563) ได้มีการแบ่งแรงงานต่างด้าวออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ แรงงานประเภทฝีมือ 155,193 คน แรงงานตลอดชีพ 241 คน ชนกลุ่มน้อย 42,555 คน แรงงานประเภททั่วไป 2,261,796 คน โดยแรงงานประเภททั่วไป แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ แรงงานพิสูจน์ สัญชาติเดิม กลุ่มนี้ใบอนุญาตจะสิ้นสุดในเดือน กุมภาพันธ์ 2564 แรงงานที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานตาม MoU 992,756 คน (สัญชาติพม่า 509,786 คน สัญชาติลาว...
เป็นที่ทราบกันดีว่า สถานการณ์โรคระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลทำให้ทางกระทรวงแรงงาน กรมจัดหางาน ได้มีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ โดยมีนโยบายชะลอการอนุมัติแรงงานนำเข้าแรงงานต่างด้าว ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม2563 เป็นต้นมา จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ ดังนั้น ทางบริษัท นำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ จ๊อบส์ เวิร์คเกอร์ เซอร์วิส จำกัด จึงงดรับงานบริการ ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน เนื่องจาก นโยบายดังกล่าวข้างต้น ซึ่งในขณะนี้ได้ผ่านระยะเวลามานานพอสมควร และการระบาดของไวรัสโควิด – 19 เริ่มทุเลาลง แต่ทางภาครัฐยังคงไม่มีนโยบายในการอนุมัตินำเข้าแรงงานต่างด้าวเหมือนเดิม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม สำหรับการดำเนินงาน เรื่องนำเข้าแรงงานต่างด้าว ทางบริษัท ฯ จึงเล็งเห็นว่า ควรเตรียมความพร้อมในเรื่องการรับบริการลูกค้าไว้ล่วงหน้า เพื่อจะได้ทราบถึงปริมาณงาน และดำเนินการด้านเอกสาร เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับ ยื่นหน่วยงานราชการ เมื่อมีนโยบายเปิดอนุมัตินำเข้าแรงงานต่างด้าว ดังนั้น ทางบริษัทจึงมีนโยบาย เปิดรับงานบริการ MOU ล่วงหน้า โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 7...
ประเด็นน่าสนใจ ประกันสังคมได้ดำเนินการกับนายจ้างที่ไม่ได้แจ้งขึ้นทะเบียนและแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด กฎหมาย ได้กำหนดให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างทำงานในสถานประกอบการตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน นายจ้างเมินขึ้นทะเบียนประกันสังคม ระวัง! มีโทษเปรียบเทียบปรับตามกฎหมาย นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการดำเนินงานติดตามนายจ้างให้ดำเนินการแจ้งขึ้นทะเบียนและแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 ว่า สำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการกับนายจ้างที่ไม่ได้แจ้งขึ้นทะเบียนและแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด โดยกฎหมาย ได้กำหนดให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างทำงานในสถานประกอบการตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03) โดยนายจ้างที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นแบบได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำหรับนายจ้างที่มีสำนักงานใหญ่ในส่วนภูมิภาค ให้ยื่นแบบขึ้นทะเบียนได้ที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ โดยนายจ้างมีหน้าที่ขึ้นทะเบียนลูกจ้างภายใน 30 วัน กรณีที่มีลูกจ้างลาออกจากงาน ให้นายจ้างยื่นแบบแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (สปส. 6-09) พร้อมระบุสาเหตุการออกจากงาน หรือกรณีที่ผู้ประกันตนเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง ให้นายจ้างยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน (สปส.6-10) ภายในวันที่ 15 ของเดือน ถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง ทั้งนี้ นายจ้างสามารถทำธุรกรรมงานทะเบียนผู้ประกันตนได้ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th...
กรุงเทพฯ – กรมการจัดหางานตรวจเข้ม พร้อมลงพื้นที่จับแรงงานต่างด้าวลักลอบทำงานผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง พร้อมดำเนินคดีแล้ว 6,676 คน ผลักดันกลับประเทศต้นทางกว่า 6,529 คน รวมค่าปรับนายจ้างและแรงงานต่างด้าวสูงกว่า 41 ล้านบาท! นางเพชรรัตน์ สินอวย อธิบดีกรมการจัดหางาน เผยว่า ช่วงเดือนมิถุนายนนี้ มีนโยบายกวาดล้างแรงงานต่างด้าวที่ทำงานผิดกฎหมายอย่างเข้มงวด โดยสั่งการให้กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ และสำนักงานจัดหางานจังหวัด เน้นจังหวัดที่มีแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้ามาทำงานจำนวนมาก ได้แก่ สมุทรสาคร ปทุมธานี สมุทรปราการ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี สงขลา เชียงใหม่ กรุงเทพฯ(เขตห้วยขวางและเขตสุขุมวิท) เป็นต้น พร้อมจัดชุดปฏิบัติการลงพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง และฝ่ายปกครอง ตรวจเข้มการทำงานของแรงงานต่างด้าวและดำเนินคดีอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2561 – 19 มิถุนายน 2562 ได้ตรวจสอบการทำงานของแรงงานต่างด้าวไปแล้ว 419,696...
ตม.สุรินทร์ บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปิดล้อมตรวจค้นตลาดสดอำเภอปราสาท รวบแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย แย่งอาชีพคนไทยทำมาหากิน เมื่อเวลา 05.00 น. วันนี้ 11 มิ.ย.62 พ.ต.อ.อาทิพย์ ซึมดอน ผกก.ตม.จ.สุรินทร์ พร้อมด้วย พ.ต.ท.ฐิตวันต์ อาจธรรม รอง ผกก.ตม.จ.สุรินทร์ พ.ต.ท.เอกภพ เศรษฐพงษ์ รอง ผกก.สส.สภ.ปราสาท พ.ต.ท.โสรัจ วิชยสุทธิ์ สว.ตม.สุรินทร์ บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย ตำรวจท่องเที่ยว ฝ่ายสืบสวน สภ.ปราสาท กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 217 สำนักงานจัดหางานจังหวัดสุรินทร์ ปิดล้อมตรวจค้นตลาดสดอำเภอปราสาท ต.กังแอน อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ เพื่อตรวจสอบการทำงานของคนต่างด้าวตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง หลังได้รับรายงานว่ามีคนต่างด้าวเข้ามาแย่งอาชีพคนไทย ขายสินค้าภายในตลาดเป็นจำนวนมาก ที่เกิดเหตุเป็นตลาดสดมีพ่อค้าแม่ค้านำสินค้าทางการเกษตรมาวางขายจำนวนมาก เมื่อคนต่างด้าวเห็นเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบต่างตกใจวิ่งหลบหนีกันชุลมุน แต่เจ้าหน้าที่ได้ทำการปิดล้อมไว้ได้หมด จำนวน 20 ราย จากการตรวจสอบพบบางรายไม่มีเอกสารแสดง...
ช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา “กรมการจัดหางาน” เปิดฉากเดินหน้าขับเคลื่อน ตรวจสอบแรงงานต่างด้าวเข้ามาประกอบอาชีพค้าขายซึ่งเป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ...