Blog

ปัจจุบันนายจ้างหรือผู้ประกอบการหลาย ๆ คนเลือกที่จะจ้างแรงงานต่างด้าวมากกว่าแรงงานไทย เนื่องจากมองว่าจ่ายค่าแรงถูกกว่า ได้แรงงานที่มีความขยันขันแข็งมากกว่า และมีบางอาชีพที่แรงงานไทยไม่ต้องการทำ เช่น งานในโรงงานอุตสาหกรรม งานก่อสร้าง งานขนของ เป็นต้น แม้ว่าแรงงานต่างด้าวจะสามารถเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและได้รับสิทธิประโยชน์หลายอย่างเหมือนกับคนไทย แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องอาชีพ เพราะมีงานบางประเภทที่คนต่างด้าวทำได้ไม่ผิดกฎหมาย และงานที่แรงงานต่างด้าวห้ามทำโดยเด็ดขาด เพื่อเป็นการรักษาโอกาสในการทำงานและวิชาชีพของคนไทย แรงงานต่างด้าวทำอาชีพอะไรได้บ้าง นายจ้างอาจมีความกังวลว่ากฎหมายจะจำกัดอาชีพสำหรับคนต่างด้าวจนไม่สามารถจ้างแรงงานต่างด้าวมาทำงานที่ตนต้องการได้ แต่ความจริงแล้วอาชีพที่คนต่างด้าวสามารถทำได้ในปี 2562 มีความหลากหลาย โดยยังคงยึดตามมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวปี 2560 ซึ่งกำหนดให้คนต่างด้าวทำงานได้ทั้งหมด 3 แบบ รวม 12 อาชีพ ดังนี้ แบบไม่มีเงื่อนไข 1 อาชีพ ได้แก่  กรรมกร แบบมีเงื่อนไข คือ คนต่างด้าวต้องเป็นลูกจ้าง เป็นงานที่ขาดแคลนแรงงาน อนุญาตให้ทำได้เท่าที่จำเป็น โดยไม่กระทบต่อโอกาสการมีงานทำของคนไทย 8 อาชีพ ได้แก่ กสิกรรม เลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ หรือประมง ยกเว้นงานที่ใช้ความชำนาญงานเฉพาะสาขา...

นายจ้างหรือผู้ประกอบการหลายคนต้องการแรงงานจำนวนมาก แต่ประสบปัญหาแรงงานในประเทศไทยไม่เพียงพอ ทำให้การจ้างแรงงานต่างด้าวก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะสามารถจ้างได้จำนวนมาก และแรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่มักทนงาน แต่การนำเข้าแรงงานต่างด้าวนั้นจำเป็นต้องเข้าใจกฎหมายหลายข้อเพื่อปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง มาดูสิ่งที่นายจ้างควรรู้เมื่อจ้างแรงงานต่างด้าวกัน การทำ MOU  รู้หรือไม่ว่า การจ้างแรงงานต่างด้าวจะต้องทำ MOU จึงจะถือว่าแรงงานเข้ามาทำงานอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งค่าใช้จ่ายในการทำ MOU ของแต่ละประเทศทั้งลาว กัมพูชา เมียนมาร์ จะแตกต่างกัน โดยการนำเข้าแรงงานต่างด้าวตาม MOU สามารถทำได้ 2 วิธี คือ 1. นายจ้างดำเนินงานด้วยตัวเอง 2. ดำเนินการผ่านบริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยถ้าหากนำเข้าแรงงานผ่านบริษัทตัวแทนจะสามารถทำได้ง่ายกว่า เพราะรับรองได้ว่าถูกต้องตามกฎหมายแน่นอน ไม่ต้องเสียเวลาศึกษาเอง สวัสดิการ แรงงานต่างด้าว  แรงงานต่างด้าวทุกคนที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมายจะต้องทำประกันสังคม โดยนายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป จะต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนภายใน 30 วัน ซึ่งนายจ้างขึ้นทะเบียนได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครหรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่ แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส.1-01) ต้องใช้เอกสารดังนี้ กรณีจดทะเบียนนิติบุคคล แบบฟอร์มขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส.1-01) แผนที่และภาพถ่ายของสถานประกอบการ หลักฐานแสดงตัวของนายจ้าง เช่น บัตรประจำตัวประชาชน...

หากลองสังเกตดี ๆ จะพบว่าตู้เอทีเอ็มของหลาย ๆ ธนาคารไม่ได้มีแค่ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ยังมีภาษาเพื่อนบ้านของเราอย่างภาษาพม่าเพิ่มเข้ามาด้วย เนื่องจากปัจจุบันแรงงานต่างด้าว ไม่ว่าจะเป็นคนลาว กัมพูชา หรือเมียนมาร์ก็สามารถเปิดบัญชีธนาคารในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ลูกจ้างสามารถออมเงินและโอนเงินไปให้ครอบครัวของตน โดยไม่ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางหรือโอนเงินผ่านนายหน้า ส่วนนายจ้างก็สามารถจ่ายเงินเดือนให้กับแรงงานต่างด้าวได้อย่างสะดวกสบาย โดยเฉพาะนายจ้างที่มีลูกจ้างเป็นจำนวนมาก จ๊อบส์ เวิร์คเกอร์ เซอร์วิส จึงรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการเปิดบัญชีธนาคารสำหรับแรงงานต่างด้าวมาให้นายจ้างทุกท่าน มีอะไรน่าสนใจบ้าง ไปดูกัน เปิดบัญชีธนาคารให้แรงงานต่างด้าวไม่ยากอย่างที่คิด หากพูดถึงการทำธุรกรรมทางการเงินที่ธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นการเปิดบัญชี การฝาก/ถอน การโอนเงิน หลาย ๆ คนคงมองว่าเป็นอะไรที่ยุ่งยาก ยิ่งถ้าเป็นการดำเนินการให้กับคนที่ไม่ได้มีสัญชาติไทยแล้วก็ยิ่งน่าหนักใจเป็นอีกเท่าตัว แต่ความจริงแล้วชาวต่างชาติและแรงงานต่างด้าวสามารถเปิดบัญชีธนาคารในประเทศไทยได้ไม่ยาก เพียงแค่นำเอกสารสำคัญไปให้ครบ โดยธนาคารส่วนใหญ่จะกำหนดให้ชาวต่างชาติหรือแรงงานต่างด้าวที่ต้องการเปิดบัญชีในประเทศไทยใช้เอกสาร ดังนี้ กรณีชาวต่างชาติหรือแรงงานต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงาน ใช้หนังสือเดินทาง (Passport) และใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) หรือเอกสารประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู)  สำหรับแรงงานต่างด้าวและชาวต่างชาติที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ส่วนใหญ่ไม่สามารถเปิดบัญชีได้ เนื่องจากธนาคารต้องการหลักฐานยืนยันว่าผู้ที่มาเปิดบัญชีทำงานอยู่ในประเทศไทยจริง หากอยู่ระหว่างการรอรับใบอนุญาตทำงาน สามารถใช้เอกสารที่หน่วยราชการออกให้ใช้แทนได้...

ปัจจุบันอัตราการจ้างแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยสูงมาก เพราะแรงงานในประเทศไทยมีจำกัด ในขณะที่การพัฒนาและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมสูงขึ้น ทำให้นายจ้างมีความต้องการจ้างแรงงานจำนวนมาก มาดู 10 สิ่งสำคัญที่นายจ้างควรรู้ ก่อนจ้างแรงงานต่างด้าว อัพเดตล่าสุดปี 2562 1 . การจ้างแรงงานต่างด้าวต้องเข้ามาตามระบบ MOU เท่านั้น หลายคนอาจยังไม่ทราบว่า การจ้างแรงงานต่างด้าวจะต้องทำตามบันทึกข้อตกลงหรือ MOU หากไม่มีถือว่าเป็นการจ้างงานอย่างผิดกฎหมาย มาดูกันดีกว่าว่าการนำเข้าแรงงานตามระบบ MOU ควรทำอย่างไรบ้าง ขั้นตอนการทำ MOU 1. ต้องยื่นเอกสาร DEMAND LETTER หรือคำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ โดยต้องส่งเอกสารคำร้องที่ได้ไปยังตัวแทนประเทศต้นทางเพื่อดำเนินการคัดเลือกแรงงาน หลังจากนั้นตัวแทนประเทศต้นทางจัดทำบัญชีรายชื่อส่งกลับมา 2. ยื่นบัญชีรายชื่อแรงงานต่างด้าว ที่ได้รับมาจากเอเจนซี่ที่ต่างประเทศ ยื่นบัญชีรายชื่อพร้อมแบบ ตท. 2 และเอกสารประกอบ ที่ สจจ/สจก. ชำระค่าใบอนุญาตทำงาน 1,900 บาท  กรณีนายจ้างยื่นเองจะต้องวางประกัน 1,000 บาท/แรงงาน 1 คน สูงสุดไม่เกิน...

ปัจจุบันยังคงมีการจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างผิดกฎหมาย เพราะนายจ้างมองว่าการทำเอกสารเพื่อนำเข้าแรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้องนั้นมีความยุ่งยากและต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก แต่ในความจริงแล้วการจ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายอาจเพิ่มความยุ่งยากมากกว่าเดิมเสียอีก เพราะนอกจากนายจ้างและลูกจ้างจะได้รับโทษตามกฎหมายแล้ว ยังทำให้แรงงานต่างด้าวไม่ได้รับสิทธิ์จากประกันภัยต่าง ๆ เนื่องจากแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย ไม่สามารถทำประกันได้ ดังนั้น เมื่อเกิดอุบัติเหตุ นายจ้างอาจต้องเสียค่ารักษาพยาบาลของลูกจ้างด้วยตนเอง  หากไม่อยากให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น นายจ้างควรรีบดำเนินการทำเรื่องให้ถูกต้องตามกฎหมายและทำประกันให้กับแรงงานต่างด้าว   แรงงานต่างด้าวต้องทำประกันอะไรบ้าง  จากที่คณะรัฐมนตรีมีประกาศให้แรงงานต่างด้าวทุกคนต่ออายุใบอนุญาตทำงานก่อนเดือนมีนาคม 2563 หากเกินกำหนดจะถือว่าเป็นแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ซึ่งการต่ออายุครั้งนี้เป็นการนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU ชนิดพิเศษ คือ แรงงานต่างด้าวไม่ต้องเดินทางกลับประเทศ และต้องทำประกันสังคมทุกคน หากไม่เคยทำประกันสังคมมาก่อน แรงงานต่างด้าวต้องซื้อประกันสุขภาพแบบ 3 เดือน เนื่องจากผู้ประกันตนต้องเป็นสมาชิกประกันสังคมเป็นเวลา 3 เดือนจึงจะสามารถใช้สิทธิ์ได้ อยากทำประกัน ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง ประกันสุขภาพ ก่อนจะทำประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวจะต้องได้รับการตรวจสุขภาพก่อน โดยต้องเตรียมเอกสารดังนี้ สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) หรือสำเนาเอกสารเดินทาง (Travel Document) หรือสำเนาเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity) ของแรงงานต่างด้าว สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของนายจ้าง สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลอ้างอิงที่แรงงานต่างด้าวพักอาศัย ...

ถึงเวลาที่นายจ้างจะต้องอัพเดตข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานต่างด้าว เพราะใบอนุญาตทำงานของลูกจ้างกำลังจะหมดอายุลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า นอกจากนี้ ในปี 2562 ได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายแรงงานต่างด้าวในหลายประเด็น หากนายจ้างละเลย ไม่ติดตามข่าวสาร อาจส่งผลให้ทำผิดกฎหมายโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ กฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ 2562 มีความสำคัญและมีหลายเรื่องที่นายจ้างควรรู้ ดังนี้ จ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ถ้าไม่ต่อใบอนุญาตก่อนมีนาคม 2563 นายจ้างที่มีแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา เมียนมาร์ และลาวที่อยู่ในกลุ่มดังต่อไปนี้จะต้องดำเนินการขอใบอนุญาตทำงานใหม่ก่อนที่ใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุ กลุ่มบัตรชมพู หมดอายุวันที่ 30 กันยายน 2562 กลุ่มบัตรชมพู หมดอายุวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 กลุ่มบัตรชมพู หมดอายุวันที่ 31 มีนาคม 2563 กฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ 2562 กำหนดให้การขอใบอนุญาตทำงานในครั้งนี้เป็นการทำ MOU กรณีพิเศษ คือ แรงงานต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยไม่ต้องกลับไปประเทศต้นทาง ช่วยให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยได้ไม่เกิน 2 ปี โดยสามารถประทับตราขออยู่ต่อได้ครั้งละไม่เกิน 1 ปี...

ปัจจุบันนายจ้างหรือผู้ประกอบการอาจกำลังประสบปัญหาแรงงานชาวไทยไม่เพียงพอ  ความต้องการแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยจึงมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น นายจ้างหลายคนอาจกังวลถึงขั้นตอนการจัดหาแรงงานที่ยุ่งยากและใช้เวลานาน แต่รู้ไหมว่า การจ้างแรงงานต่างด้าวสามารถทำได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ซึ่งขั้นตอนการนำเข้าแรงงานนั้นจะต้องเป็นไปตามข้อตกลง MOU ที่จัดทำขึ้นระหว่างรัฐบาลไทย ลาว กัมพูชา และเมียนมาร์ โดยนายจ้างสามารถจ้างแรงงานต่างด้าวได้ง่ายยิ่งขึ้นผ่านบริษัทตัวแทนที่ได้รับการรับรอง ซึ่งจะช่วยให้นายจ้างจะไม่ต้องวุ่นวายกับขั้นตอนที่ซับซ้อน หมดปัญหาแรงงานต่างด้าวแบบเดิม ๆ เราไปทำความรู้จักกับแรงงานต่างด้าว MOU ให้มากขึ้นกันดีกว่า แรงงานต่างด้าว MOU คืออะไร ? ก่อนอื่นจะต้องรู้ก่อนว่า MOU คืออะไร MOU หรือ Memorandum of Understanding คือเอกสารหรือหนังสือที่มีการบันทึกข้อตกลง หรือความเข้าใจระหว่างองค์กร ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน โดยตัวแทนของทุกฝ่ายจะต้องลงนามในบันทึกข้อตกลงนั้นเพื่อให้เอกสารมีผลบังคับใช้ ดังนั้นแรงงานต่างด้าว MOU ก็คือแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายภายใต้ข้อตกลง MOU ระหว่างรัฐบาลประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเมียนมาร์นั่นเอง โดยขั้นตอนในการนำเข้าแรงงาน นายจ้างจะต้องทำ Demand MOU...