Blog

แรงงานกลุ่ม MoU ที่ครบวาระ 4 ปี ไม่ต้องกลับประเทศ ไม่ต้องทำ MoU ใหม่ !! . ✅สามารถยื่นเอกสารได้แล้ววันนี้ 📥ทักไลน์ด่วนคลิก http://nav.cx/pgfEa1B พร้อมให้คำปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย . รีบมาต่อใบอนุญาตทำงานและวีซ่า (Work permit+VISA) ในไทยได้แล้วที่บริษัทจ๊อบส์ ครบ จบ ที่นี้ . ค่าธรรมเนียมต่อวีซ่า 1900 บาท 2 ปี ค่าบริการ 1530 บาท ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน 1900 บาท 2 ปี ค่าบริการ 1070 บาท ตรวจสุขภาพ+ใบรับรองแพทย์กลุ่มมีประกันสังคม 500 บาท รวม 6,900 บาท ***ราคาดังกล่าวรวม Vat แล้ว ***ราคาดังกล่าวไม่รวมค่าธรรมเนียมและค่าบริการถ่ายบัตรชมพู ***ทางบริษัทมีบริการพาไปถ่ายบัตรชมพูและติดต่อกับเขตให้ ——————————— บริษัท นำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ จ๊อบส์ เวิร์คเกอร์ เซอร์วิส จำกัด ใบอนุญาตเลขที่ นจ.0003/2559 ที่อยู่ 49,51 ถ.สุขสวัสดิ์...

[caption id="attachment_2739" align="aligncenter" width="1024"] รับทำเอกสารแรงงานต่างด้าว[/caption] รับทำเอกสารแรงงานต่างด้าว พม่า ลาว กัมพูชา บัตรชมพูหมดอายุ 31 มีนาคม 2565 นี้ สามารถยื่นเอกสารได้แล้ววันนี้ถึง15มีนาคม2565 เท่านั้น ทักไลน์ด่วนคลิก http://nav.cx/pgfEa1B พร้อมให้คำปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ง่ายๆ แค่ติดต่อเรา พร้อมชำระค่าบริการรวม เพียง 5575 บาท เท่านั้น!! เราจะเร่งดำเนินการให้ดังนี้ ขั้นที่ 1 ยื่นต่อใบอนุญาตทำงาน ภายใน 31 มี.ค.2565 ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน 1 ปี 1000 บาท ค่าบริการ 1070 บาท รวมเป็นเงิน 2070 บาท . ขั้นที่ 2 ตรวจสุขภาพ และประกันสุขภาพ -กรณีมีประกันสังคม แนบหลักฐานการส่งเงินสมทบประกันสังคม (เดือนล่าสุด) -กรณีไม่มีประกันสังคม ค่าประกันสุขภาพ (อาคเนย์ประกันภัย) 990 บาท -กลุ่มแม่บ้าน จะต้องตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ ณ รพ.รัฐ ตามสถานที่ทำงาน เท่านั้น . ขั้นสุดท้าย ยื่นคำร้องขออยู่ต่อ (Visa) ค่าธรรมเนียม Visa...

ล่าสุด !! 2564 แรงงานต่างด้าว ต้องทำอะไรบ้าง แรงงานต่างด้าวกลุ่มไหน ต้องทำอะไร มีบัตรชมพูที่ใกล้หมดอายุ สามารถต่อได้หรือไม่ ? สรุปมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 โดยครม.มีมติเห็นชอบผ่อนผันแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ โดยสามารถตรวจสอบได้จาก บัตรชมพู และใบแจ้งออก  1.กลุ่มมติ 20 ส.ค. 62  2.กลุ่มมติ 4 ส.ค. 63 3.กลุ่มมติ 10 พ.ย. 63 4.กลุ่มที่ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวสิ้นสุดลง เพราะผลของกฎหมาย [caption id="attachment_2697" align="aligncenter" width="792"] มติ ครม 13 กรกฎาคม 2564[/caption] [caption id="attachment_2698" align="aligncenter" width="793"] มติ ครม 13 กรกฎาคม 2564[/caption] [caption id="attachment_2699" align="aligncenter"...

การประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ไม่เพียงแต่จะต้องคำนึงถึงคุณภาพของสินค้าหรือบริการเท่านั้น แต่การเอาใจใส่เรื่องสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มแรงงาน ก็เป็นอีกหนึ่งพื้นฐานที่สำคัญเช่นกัน  เพราะการปฏิบัติต่อแรงงานจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กรด้วย ดังนั้น องค์กรควรมีแนวทางการทำธุรกิจที่สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างครอบคลุมตามกฎหมายของประเทศและหลักการสากล  สิทธิมนุษยชนคืออะไร ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกับสิทธิมนุษยชนกันก่อน สิทธิมนุษยชน หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่มีมาแต่กำเนิด และความเสมอภาคที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ ศาสนา เพศ สีผิว ภาษา เผ่าพันธุ์ หรือสถานะอื่นใด โดยปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าร่วมภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน ที่คุ้มครองบุคคลที่อยู่ในเขตอำนาจรัฐ 7 ด้าน ได้แก่ สิทธิเด็ก สิทธิสตรีที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ  สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สิทธิคนพิการ  การห้ามเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ การห้ามการทรมาน การปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรี จะเห็นได้ว่าทั้งแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวชาติใด ๆ ต่างก็มีสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานกันทั้งนั้น จึงเป็นเรื่องที่นายจ้างไม่ควรมองข้าม  ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นบ่อย ปัจจุบันพบว่าองค์กรภาคธุรกิจหลายแห่งได้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลายด้านและเกิดขึ้นหลายครั้ง ซึ่งรวมถึงการละเมิดสิทธิแรงงานต่างด้าวด้วย เช่น ไม่มีสัญญาจ้าง การจ้างงานไม่เป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายแรงงาน หรือการขัดขวางจัดตั้งสหภาพแรงงาน ผู้หญิงได้รับค่าจ้างต่ำกว่าผู้ชายหรือเลิกจ้างเมื่อตั้งครรภ์ รวมไปถึงความปลอดภัยในการทำงาน...

อย่างที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยในปัจจุบันมีความต้องการด้านแรงงานเพิ่มขึ้น และด้วยจำนวนแรงงานชาวไทยมีอยู่อย่างจำกัด ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ จึงจำเป็นต้องจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาชีพแม่บ้านทำความสะอาด พนักงานในร้านอาหาร ไปจนถึงแรงงานก่อสร้าง  อย่างไรก็ตาม การจ้างแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมายอาจเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวสำหรับนายจ้าง เพราะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และต้องเตรียมเอกสารหลายอย่าง โดยเฉพาะเจ้าของกิจการขนาดใหญ่ที่ต้องการแรงงานเป็นจำนวนมาก การใช้บริการบริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาทำงานในประเทศจึงเป็นทางเลือกที่ดี มาดูกันว่าเพราะเหตุใด นายจ้างจึงควรใช้บริการบริษัทตัวแทนนำเข้าแรงงาน ทำไมต้องจ้างผ่านบริษัท บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศเป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยบริษัทเหล่านี้จะมีพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญช่วยอำนวยความสะดวกและให้คำปรึกษากับนายจ้างหรือผู้ประกอบการที่ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว ซึ่งแต่ละบริษัทอาจมีรายละเอียดการให้บริการที่แตกต่างกันไป แต่โดยรวมแล้วการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านบริษัทตัวแทนมีข้อดีหลัก ๆ ดังนี้ เอกสารครบ ถูกต้องตามกฎหมาย ปัญหาใหญ่ที่ทำให้นายจ้างหลาย ๆ รายถอดใจกับการจ้างแรงงานต่างด้าวคือขั้นตอนที่ยุ่งยากในการดำเนินการ รวมถึงความไม่รู้หรือไม่เข้าใจในตัวบทกฎหมายที่มีความซับซ้อน และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้ง การใช้บริการจากบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าวจะทำให้นายจ้างสามารถนำเข้าแรงงานต่างด้าวได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและสะดวกสบาย โดยบริษัทจะเข้ามาช่วยตั้งแต่ขั้นตอนการจัดหาแรงงานที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการของนายจ้าง การจัดเตรียมและดำเนินการทำเอกสารต่าง ๆ จนถึงขั้นตอนการพาลูกจ้างมายังสถานที่ทำงานในประเทศไทย  มีที่ปรึกษาที่เชื่อถือได้ การมีผู้เชี่ยวชาญที่คอยให้คำปรึกษาเป็นสิ่งสำคัญ เพราะแม้ว่าจะสามารถนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU ได้เรียบร้อยแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าหลังจากนี้จะไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม อย่างน้อยเมื่อเอกสารสำคัญ เช่น ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) วีซ่า (Visa) หมดอายุ นายจ้างก็จะต้องพาแรงงานต่างด้าวไปดำเนินการต่ออายุตามกฎหมาย นอกจากนี้ระหว่างการทำงานอาจเกิดปัญหาเล็ก...

การบอกเลิกจ้างพนักงานเป็นเรื่องที่น่าลำบากใจไม่น้อยสำหรับนายจ้าง โดยเฉพาะในช่วงที่มีวิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างเช่นที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งทำให้หลายบริษัทต้องปลดพนักงานเป็นจำนวนมากเพื่อรัดเข็มขัดและตัดรายจ่ายบางส่วนออก ตั้งแต่ประมาณเดือนมีนาคมที่ผ่านมามีแรงงานที่ถูกเลิกจ้างราว 7 ล้านคน และมีการคาดการณ์ว่าการต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉินไปอีก 1 เดือน อาจทำให้มีการเลิกจ้างสูงถึง 11-12 ล้านคน เนื่องจากธุรกิจต้องหยุดทำการเป็นเวลานาน เมื่อเกิดการเลิกจ้าง นายจ้างไม่ควรละเลยการปฏิบัติตามกฎหมาย เพราะอาจทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมและมีการฟ้องร้องเกิดขึ้นได้ โดยกฎหมายการเลิกจ้างพื้นฐานที่นายจ้างควรรู้มีดังนี้ การบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อมีเหตุให้ต้องเลิกจ้างแรงงาน นายจ้างจำเป็นจะต้องปฏิบัติตามหลักกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฏหมายคุ้มครองแรงงาน เพื่อให้เกิดการเลิกจ้างที่เป็นธรรม โดยแบ่งเป็น 2 กรณี  สัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลาจ้าง หรือเรียกอีกอย่างว่า สัญญาปลายปิด นายจ้างไม่จำเป็นต้องบอกล่วงหน้าก่อนที่สัญญาจะสิ้นสุด โดยสัญญาประเภทนี้จะต้องเป็นสัญญาที่มีกำหนดเวลาเริ่มและสิ้นสุดของสัญญาไว้ชัดเจน และโดยทั่วไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดได้  สัญญาจ้างแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาจ้าง หรือเรียกอีกอย่างว่า สัญญาปลายเปิด นายจ้างจำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงงวดการจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่ง เพื่อให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างเมื่อถึงงวดการจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า การจ่ายค่าชดเชย  แม้ว่าการนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU จะมีการกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวอาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่ MOU คือบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ไม่ถือเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาจ้างไว้แน่อน ดังนั้นหากมีการเลิกจ้างแรงงานต่างด้าว หรือแรงงานทำงานครบกำหนดตามระยะเวลาในใบอนุญาต และนายจ้างไม่มีความต้องการที่จะจ้างแรงงานต่อ...

เมื่อแรงงานต่างด้าวมีบุตร ­­­­ แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย อาจมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ทำให้นายจ้างเกิดความสงสัยว่า เมื่อแรงงานต่างด้าวตั้งครรภ์ต้องทำอย่างไร สามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้หรือไม่ มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง เรามาไขข้อข้องใจเรื่องนี้กัน สิทธิการคลอดบุตรแรงงานต่างด้าว แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยและขึ้นทะเบียนถูกต้องจะได้รับความคุ้มครองจากสำนักงานประกันสังคมทั้ง 7 กรณี รวมถึงการคลอดบุตร เมื่อแรงงานต่างด้าวตั้งครรภ์สามารถดำเนินการฝากครรภ์และคลอดบุตรตามสิทธิประกันสังคมได้  โดยการคลอดบุตรตามสิทธิประกันสังคม ผู้ประกันตนชายที่เป็นคุณพ่อสามารถเบิกค่าคลอดบุตรแทนภรรยาได้ โดยประกอบด้วย ค่าคลอดบุตรแบบเหมาจ่าย จำนวน 13,000 บาท/ครั้ง (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง) เงินสงเคราะห์บุตร เดือนละ 600 บาท โดยจะได้รับตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน หากผู้ประกันตนชายเป็นผู้เบิกเงินค่าคลอดบุตร จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์หยุดงานเพื่อการคลอดบุตร จำนวน 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นเวลา 90 วัน เหมือนกับฝ่ายหญิง ดังนั้น หากจะให้ฝ่ายชายเป็นผู้ใช้สิทธิประกันสังคมคลอดบุตร อาจต้องพิจารณาดูดี ๆ ก่อน เพราะจะเสียสิทธิเงินสงเคราะห์หยุดงานไป ในกรณีคลอดบุตรแฝด ผู้ประกันตนชายจะมีสิทธิได้รับเงินประกันสังคม...

ในภาวะปัจจุบันที่ประเทศไทยยังจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพวกเขาเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศให้เดินไปข้างหน้าได้ เป็นหน้าที่ของนายจ้างที่ต้องดูแลแรงงานต่างด้าวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง และสามารถเข้าถึงประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่แรงงานทุกคนควรจะได้รับ ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่าว่าปัจจุบันแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยกำลังประสบกับปัญหาสุขภาพด้านใดบ้าง จากการศึกษาภาวะสุขภาพและโรคที่สำคัญของคนต่างด้าวในประเทศไทย พบว่าภาวะสุขภาพและโรคติดต่อที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุดคือวัณโรค รองลงมาคือโรคเอดส์ การฉีดวัคซีนเพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคซิฟิลิสและโรคหนองใน นอกจากนี้ยังมีโรคท้องร่วง โรคไข้เลือดออก โรคเท้าช้าง โรคเรื้อน โรคไวรัสตับอักเสบบี และโรคมาลาเรีย ที่เป็นปัญหาด้านสุขภาพของแรงงานต่างด้าวเช่นกัน สำหรับภาวะสุขภาพและโรคไม่ติดต่ออาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยด้านสุขภาพส่วนตัวของแรงงาน เช่น การตั้งครรภ์ โรคเบาหวาน ความผิดปกติในทารกแรกเกิด ความดันโลหิตสูง สารเสพติดให้โทษและพิษสุราเรื้อรัง  เนื้อร้ายที่เต้านมและเนื้อร้ายที่ปากมดลูก/มดลูก หรืออาจมาจากการทำงาน เช่น การได้รับอุบัติเหตุขณะทำงาน ภาวะซึมเศร้า เครียด หรือโรคจิตเวชอื่น ๆไม่เพียงแต่ตัวแรงงานเองที่เผชิญอยู่กับปัญหาด้านสุขภาพต่าง ๆ จากรายงานพบว่าเด็กต่างด้าวจำนวนมากมีน้ำหนักน้อยและรูปร่างเล็กกว่าเด็กไทยที่ มีอายุเท่ากัน เนื่องจากเด็กต่างด้าวเหล่านี้ไม่มีเอกสารประจำตัว ทำให้ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรค หรือได้รับไม่ครบตามเกณฑ์ นอกจากนี้ยังมีเด็กส่วนหนึ่งประสบภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งเกิดจากการได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ ปัญหาเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็กเท่านั้น แต่ยังมีผลไปถึงภาระการรักษาพยาบาลของพ่อแม่เด็กอีกด้วย การบริการด้านสุขภาพที่แรงงานต่างด้าวสามารถเข้าถึงได้ แรงงานต่างด้าวที่มีสัญชาติกัมพูชา ลาว...

ปัจจุบันผู้ประกอบการตัดสินใจจ้างแรงงานต่างด้าวให้เข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากจะได้แรงงานที่มีทักษะการทำงานตรงกับความต้องการและมีอัตราค่าจ้างที่ถูกกว่าแรงงานไทย แต่ถ้าขาดการสื่อสารที่ดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างต่างด้าวก็อาจทำให้งานมีความเสียหาย ต้องเสียทั้งเงินและเวลามากขึ้นกว่าเดิม การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ทำความรู้จักกับ 'การสื่อสาร' เมื่อพูดถึงคำว่า ‘การสื่อสาร’ หลาย ๆ คนคงจะนึกถึงการพูดคุยกันเป็นอย่างแรก เพราะเป็นวิธีที่เราคุ้นเคยที่สุด แต่อันที่จริงแล้วรูปแบบของการสื่อสารมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยแบบตัวต่อตัว การส่งข้อความ ไปจนถึงการแสดงออกทางสีหน้าท่าทาง โดยรูปแบบของการสื่อสารสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ การสื่อสารโดยใช้ภาษาพูด (Verbal Communication) เช่น การพูดคุยโดยตรง การเขียนรายงานผลการดำเนินงาน การจัดทำคู่มือการทำงาน เป็นต้น การสื่อสารโดยไม่ใช้การพูด (Nonverbal Communication) เช่น การสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่าง การทำภาพประกอบอธิบายวิธีการทำงาน เป็นต้น ในการทำงานจริงนายจ้างจำเป็นต้องใช้การสื่อสารทั้ง 2 รูปแบบ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับแรงงานต่างด้าว และในการสื่อสารทั้ง 2 รูปแบบนี้ หากเป็นไปได้นายจ้างควรมีการสื่อสารแบบสองทาง คือ มีการอธิบายงานและให้ลูกจ้างสามารถถามคำถามได้ เพื่อลดการสื่อสารที่คลาดเคลื่อน...

การจ้างแรงงานต่างด้าวมีข้อปฏิบัติหลายอย่างที่นายจ้างควรรู้ ตั้งแต่การเริ่มเข้าทำงานที่นายจ้างต้องแจ้งกับนายทะเบียนประจำสำนักจัดหางาน รวมถึงการแจ้งออกของแรงงานต้างด้าวที่มีเงื่อนไขการลาออกแตกต่างกันไป ดังนั้นเป็นเรื่องที่นายจ้างควรศึกษาเพื่อให้เป็นไปตามความถูกต้องและลดความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้น สิทธิเงื่อนไขการออกของแรงงานต่างด้าวมีดังต่อไปนี้ สิทธิการลาออกจากงานของลูกจ้าง แม้ว่าแรงงานจะต้องทำงานตามที่ใบอนุญาตทำงานกำหนดจนครบสัญญาจ้าง แต่แรงงานต่างด้าว MOU สามารถขอลาออกจากงาน หรือขอเปลี่ยนนายจ้างได้ในบางกรณี ซึ่งการลาออกจากงานของลูกจ้างสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. ลูกจ้างออกจากงานโดยไม่มีสิทธิ์เปลี่ยนนายจ้าง กรณีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อแรงงานต่างด้าวต้องออกจากงานโดยที่นายจ้างไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือทำความผิด เช่น แรงงานต่างด้าวต้องการออกจากงานเองหรือละทิ้งการทำงาน และไม่ได้จ่ายค่าเสียหายให้กับนายจ้าง เช่น ค่าใช้จ่ายในการนำเข้าคนต่างด้าวมาทำงาน ซึ่งคํานวณมาจากสัดส่วนของระยะเวลาที่คนต่างด้าวคนนั้นได้ทํางานไปแล้ว โดยจะถือว่าใบอนุญาตทำงานและสิทธิการอยู่อาศัยในประเทศไทยสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ออกจากงาน 2. ลูกจ้างออกจากงานโดยมีสิทธิ์เปลี่ยนนายจ้าง กฎหมายไทยให้สิทธิและความเท่าเทียมกับแรงงานต่างด้าว โดยกำหนดให้แรงงานต่างด้าว MOU สามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ แต่ต้องมีสาเหตุของการลาออกมาจากนายจ้าง ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ นายจ้างเลิกจ้างหรือเสียชีวิต นายจ้างทำทารุณกรรมหรือทำร้ายลูกจ้าง นายจ้างจ่ายเงินไม่ตรงกับสัญญาว่าจ้าง หรือไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน นายจ้างล้มละลายหรือลดกำลังการผลิต เนื่องจากไม่มีงานให้กับแรงงานต่างด้าว สภาพการทำงานหรือสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานอาจจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย จิตใจ สุขภาพอนามัย หรือชีวิตของลูกจ้าง ในกรณีที่นายจ้างทำความผิด แรงงานต่างด้าวจะต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์เพื่อแจ้งต่อนายทะเบียน รวมถึงหานายจ้างใหม่ให้ได้ภายในเวลา 30 วัน โดยแรงงานต่างด้าวสามารถทำงานกับนายจ้างใหม่ได้ไม่เกินระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญานำเข้าแรงงานต่างด้าว การแจ้งออกแรงงานต่างด้าว เมื่อแรงงานต่างด้าวลาออกจากงานแล้ว นายจ้างจะต้องแจ้งออกภายใน 15 วันที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด...