
06 ม.ค. 10 สิ่งนายจ้างควรรู้ ก่อนจ้างแรงงานต่างด้าว
ปัจจุบันอัตราการจ้างแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยสูงมาก เพราะแรงงานในประเทศไทยมีจำกัด ในขณะที่การพัฒนาและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมสูงขึ้น ทำให้นายจ้างมีความต้องการจ้างแรงงานจำนวนมาก มาดู 10 สิ่งสำคัญที่นายจ้างควรรู้ ก่อนจ้างแรงงานต่างด้าว อัพเดตล่าสุดปี 2562
1 . การจ้างแรงงานต่างด้าวต้องเข้ามาตามระบบ MOU เท่านั้น
หลายคนอาจยังไม่ทราบว่า การจ้างแรงงานต่างด้าวจะต้องทำตามบันทึกข้อตกลงหรือ MOU หากไม่มีถือว่าเป็นการจ้างงานอย่างผิดกฎหมาย มาดูกันดีกว่าว่าการนำเข้าแรงงานตามระบบ MOU ควรทำอย่างไรบ้าง
ขั้นตอนการทำ MOU
1. ต้องยื่นเอกสาร DEMAND LETTER หรือคำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ โดยต้องส่งเอกสารคำร้องที่ได้ไปยังตัวแทนประเทศต้นทางเพื่อดำเนินการคัดเลือกแรงงาน หลังจากนั้นตัวแทนประเทศต้นทางจัดทำบัญชีรายชื่อส่งกลับมา
2. ยื่นบัญชีรายชื่อแรงงานต่างด้าว ที่ได้รับมาจากเอเจนซี่ที่ต่างประเทศ
- ยื่นบัญชีรายชื่อพร้อมแบบ ตท. 2 และเอกสารประกอบ ที่ สจจ/สจก.
- ชำระค่าใบอนุญาตทำงาน 1,900 บาท กรณีนายจ้างยื่นเองจะต้องวางประกัน 1,000 บาท/แรงงาน 1 คน สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
- นำหนังสือและเอกสารที่ได้จาก สจจ/สจก ยื่นส่งต่อที่กรมการจัดหางาน
- กรมการจัดหางานออกหนังสือถึงสถานทูตไทย และสตม.
- แรงงานประทับตราวีซ่า (ประเภท NON L-A)
- ตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
- อบรมที่ศูนย์แรกรับและสิ้นสุดการการจ้าง ฯ
- รับใบอนุญาตทำงาน SMART CARD
3. แจ้งที่พักอาศัยแรงงานต่างด้าวภายใน 24 ชั่วโมง
4. แจ้งการเข้าทำงานของแรงงานต่างด้าวภายใน 15 วัน
5. ขั้นตอนสุดท้ายยื่นใบรับรองแพทย์ ตรวจสุขภาพภายใน 30 วันและยื่นใบรับรองแพทย์ที่สำนักงานจัดหางาน
เอกสารที่ต้องเตรียม
สำหรับนายจ้าง
- หนังสือรับรองบริษัท (กรณีนิติบุคคล)
- บัตรประชาชน
- ทะเบียนบ้าน
- แผนที่สถานที่ทำงาน
- รูปถ่ายสถานที่ทำงานและที่พัก
- กรณีกิจการก่อสร้างต้องมีสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง
- รายละเอียดความต้องการสวัสดิการต่าง ๆ
สำหรับลูกจ้าง (กรณีคนเก่า)
- บัตรประชาชน
- ทะเบียนบ้าน
- ใบเกิด
- พาสปอร์ต , ใบอนุญาตทำงาน (ฉบับเก่า)
ในปี 2562 นี้แรงงานต่างด้าวกลุ่มบัตรชมพูสามารถทำ MOU แบบพิเศษ คือ แรงงานต่างด้าวที่อยู่ในประเทศไทยสามารถทำ MOU ได้ โดยที่ไม่ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง ทำให้สะดวกทั้งนายจ้างและลูกจ้าง
2.จ้างแรงงานต่างด้าวพร้อมทำ MOU สามารถทำผ่านบริษัทจัดหาแรงงาน
การดำเนินการด้านเอกสารต่าง ๆ อาจเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และนายจ้างอาจไม่มีเวลามากพอ จึงมีบริษัทจัดหาแรงงานที่พร้อมช่วยดำเนินเรื่องต่าง ๆ อย่างถูกต้องและครบถ้วน และมีบริการให้คำปรึกษาแก่นายจ้างและแรงงานจากผู้เชี่ยวชาญรอบด้านที่พร้อมดูแลตลอดอายุสัญญา
3. แรงงานจะต้องผ่านการอบรมก่อนเริ่มทำงาน
โดยต้องเข้ารับการอบรมที่ศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดการจ้างหน่วยงานของรัฐ ซึ่งแรงงานจะได้รับการอบรมให้ความรู้ในด้านต่าง ๆ และได้รับการตรวจสอบคัดกรองก่อนที่จะอนุญาตให้เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย เมื่อผ่านการอบรมก็จะได้รับใบอนุญาตทำงาน
4. แรงงานต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพภายใน 30 วัน
หลังจากที่ได้รับอนุญาตทำงาน แรงงานต่างด้าวทุกคนจะต้องเข้าตรวจสุขภาพ โดยแรงงานจะต้องไม่เป็นโรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย เท้าช้าง พิษสุราเรื้อรัง ซิฟิลิสในระยะที่ 3 และติดยาเสพติด
5. แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานต้องเสียค่าใช้จ่าย
- ค่าหนังสือเดินทาง
- ค่าตรวจสุขภาพ
- ค่าใบอนุญาตทำงาน
- ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าประกันสังคม ค่าประกันสุขภาพ
6. แรงงานต่างด้าวต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไปเท่านั้น
ตามกฎหมายแรงงานต่างด้าวต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป กรณีที่มีการอนุญาตให้จ้างแรงงานที่อายุต่ำกว่า 18 ปี แรงงานต้องอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งแรงงานเหล่านี้สามารถทำได้เฉพาะงานที่ไม่เป็นอันตราย เช่น งานที่ไม่เกี่ยวกับความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน เสียงและแสงที่มีระดับแตกต่างจากปกติอันอาจเป็นอันตราย งานที่ไม่เกี่ยวกับวัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ เว้นแต่งานในสถานีบริการที่เป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น
7. แรงงานต่างด้าวต้องทำประกันสังคมทุกคน
แรงงานต่างด้าว MOU จะต้องทำประกันสังคมร่วมด้วย หากทำประกันสังคมครั้งแรก จะต้องซื้อประกันสุขภาพแบบ 3 เดือนก่อน เนื่องจากผู้ประกันตนต้องเป็นสมาชิกประกันสังคมเป็นเวลา 3 เดือน จึงจะสามารถใช้สิทธิ์ได้
8. แรงงานต่างด้าวต้องรายงานตัวทุก 90 วัน
แรงงานต้องแจ้งที่พักอาศัยต่อพนักงานตรวจคนเข้าเมืองโดยสามารถแจ้งที่พักอาศัยได้ก่อน 15 วัน หรือหลัง 7 วันนับจากวันครบกำหนด หากเกินกำหนดการแจ้งที่พักอาศัยจะถูกดำเนินการเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 2,000 บาท
9. แรงงานต่างด้าวได้รับค่าแรงขั้นต่ำเท่ากับแรงงานไทย
หากจะจ้างแรงงานต่างด้าว ราคาจะแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด สามารถตรวจสอบได้ที่ ตารางอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
10. จ้างแรงงานต่างด้าว ไม่มีใบอนุญาตได้รับโทษอะไรบ้าง
นายจ้าง มีโทษปรับ 10,000 – 100,000 บาท / ต่างด้าว 1 คน หากทำผิดซ้ำมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 50,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามจ้างแรงงานต่างด้าวทำงานเป็นเวลา 3 ปี
ลูกจ้าง โทษปรับ 5,000 – 50,000 บาท / ต่างด้าว 1 คน และจะถูกส่งออกนอกราชอาณาจักร นอกจากนี้แรงงานต่างด้าวห้ามขออนุญาตทำงานภายใน 2 ปีนับตั้งแต่วันที่ได้รับโทษ
10 สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นข้อควรรู้ในการจ้างแรงงานต่างด้าว ปี 2562 เรารู้ดีว่าการจ้างแรงงานต่างด้าว การทำ MOU และเอกสารต่าง ๆ มีหลายขั้นตอนและถ้าหากเกิดความผิดพลาดอาจจะทำให้คุณเสียเวลาได้ บริษัทจ๊อบส์ เวิร์คเกอร์ เซอร์วิส เป็นบริษัทที่พร้อมให้บริการการจ้างแรงงานต่างด้าวทุกขั้นตอนแบบ one-stop service ครบ จบในที่เดียว เพราะบริษัทเราพร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ซึ่งจะเป็นตัวแทนดำเนินเรื่องจ้างแรงงานต่างด้าวให้คุณ สนใจโทร. เลย 02-018-8688