แรงงานต่างด้าว คลอดบุตร

แรงงานต่างด้าวคลอดบุตรที่ไทย

เมื่อแรงงานต่างด้าวมีบุตร ­­­­

แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย อาจมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ทำให้นายจ้างเกิดความสงสัยว่า เมื่อแรงงานต่างด้าวตั้งครรภ์ต้องทำอย่างไร สามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้หรือไม่ มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง เรามาไขข้อข้องใจเรื่องนี้กัน

สิทธิการคลอดบุตรแรงงานต่างด้าว

แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยและขึ้นทะเบียนถูกต้องจะได้รับความคุ้มครองจากสำนักงานประกันสังคมทั้ง 7 กรณี รวมถึงการคลอดบุตร เมื่อแรงงานต่างด้าวตั้งครรภ์สามารถดำเนินการฝากครรภ์และคลอดบุตรตามสิทธิประกันสังคมได้  โดยการคลอดบุตรตามสิทธิประกันสังคม ผู้ประกันตนชายที่เป็นคุณพ่อสามารถเบิกค่าคลอดบุตรแทนภรรยาได้ โดยประกอบด้วย

  1. ค่าคลอดบุตรแบบเหมาจ่าย จำนวน 13,000 บาท/ครั้ง (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง)
  2. เงินสงเคราะห์บุตร เดือนละ 600 บาท โดยจะได้รับตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน

หากผู้ประกันตนชายเป็นผู้เบิกเงินค่าคลอดบุตร จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์หยุดงานเพื่อการคลอดบุตร จำนวน 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นเวลา 90 วัน เหมือนกับฝ่ายหญิง ดังนั้น หากจะให้ฝ่ายชายเป็นผู้ใช้สิทธิประกันสังคมคลอดบุตร อาจต้องพิจารณาดูดี ๆ ก่อน เพราะจะเสียสิทธิเงินสงเคราะห์หยุดงานไป

ในกรณีคลอดบุตรแฝด ผู้ประกันตนชายจะมีสิทธิได้รับเงินประกันสังคม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

  1. เงินค่าคลอดบุตร เบิกได้เท่ากับปกติ คือ 13,000 บาท/ครั้ง
    ถึงแม้ว่าจะเป็นการคลอดแฝดก็ไม่สามารถเบิก 2 เท่าได้ เพราะประกันสังคมจะเหมาจ่ายค่าคลอดบุตรเป็นรายครั้ง ไม่ใช่ตามจำนวนบุตร
  1. เงินสงเคราะห์บุตร จำนวน 600 บาท/เดือน จ่ายตามจำนวนบุตรที่คลอด
    ถ้าคลอดบุตรแฝด 2 คน ก็จะได้เงินสงเคราะห์บุตร 1,200 บาท/เดือน แต่กำหนดไว้สูงสุดคราวละไม่เกิน 3 คนเท่านั้น

การเบิกประกันสังคม คลอดบุตร ของแรงงานต่างด้าวผู้ชาย มีหลักเกณฑ์อะไรบ้าง

  1. ภรรยามีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
  2. เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 เท่านั้น ซึ่งจะไม่รวมผู้ประกันตนมาตรา 40
  3. ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนที่ภรรยาคลอดบุตร

กรณีที่สามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่จะสามารถใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรได้เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น เช่น หากฝ่ายชายใช้สิทธิประกันสังคมคลอดบุตรคนนี้แล้ว ฝ่ายหญิงจะไม่สามารถใช้สิทธิเบิกกับบุตรคนเดิมได้

เงื่อนไขการสิทธิประกันสังคมแรงงานต่างด้าวคลอดบุตร

  1. ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนคลอดบุตร
  2. จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 13,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน สำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน

วิธีเบิกค่าคลอดบุตรแรงงานต่างด้าว

ยื่นขอรับสิทธิคลอดบุตรได้ 2 วิธี คือ

  1. ยื่นด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทุกแห่งทั่วประเทศ ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข สามารถดำเนินการได้ในวันและเวลาราชการ โดยแรงงานจะยื่นเองหรือให้ผู้อื่นยื่นแทนก็ได้
  2. สามารถยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ทางไปรษณีย์ ด้วยการส่งเอกสารไปยังที่อยู่ของสำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน จ่าหน้าซองว่า “ฝ่ายสิทธิประโยชน์”

เอกสารที่ต้องใช้ยื่นขอรับเงินคลอดบุตร มีดังนี้

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ให้ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ
  2. สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
  3. สำเนาทะเบียนสมรส หรือหากไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
  4. ใบเสร็จรับเงินค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคลอดบุตร
  5. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ 11 ธนาคาร ดังนี้ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารธนชาต, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารทหารไทย, ธนาคารอิสลาม, ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย, ธนาคารออมสิน, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

กรณีที่ต้องการเบิกเงินสงเคราะห์บุตรให้เตรียมเอกสารสงเคราะห์บุตรต่างด้าว คือ เอกสารดังกล่าวอีก 1 ชุด หากต้องการรับสิทธิแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ยื่นเอกสารเพียงแค่ชุดเดียวพอ

ประกันสังคมจะทำการตรวจสอบข้อมูลและเอกสารของผู้ประกันตนว่าถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือไม่ ซึ่งหากไม่มีปัญหาอะไรทางสำนักงานประกันสังคมก็จะโอนเข้าบัญชีของผู้ประกันตน ภายใน 5-7 วันทำการ นับจากวันที่เอกสารได้รับอนุมัติ ส่วนเงินสงเคราะห์จะจ่ายเป็นรายเดือน โดยเริ่มจ่ายตั้งแต่เดือนแรกที่เด็กเกิด ไปจนถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ เราสามารถตรวจสอบผลอนุมัติจ่ายเงินได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม

การเตรียมเอกสารต้องอาศัยความรู้และความละเอียดรอบคอบอย่างยิ่ง เพราะถ้าผิดพลาดก็จะทำให้คุณเกิดความยุ่งยากและเสียเวลาได้ หากคุณต้องการผู้ช่วยในเรื่องของการทำเอกสารแรงงานต่างด้าว MOU จ๊อบส์ เวิร์คเกอร์ เซอร์วิส จำกัด พร้อมให้บริการและให้คำปรึกษาในการจัดเตรียมเอกสารให้คุณอย่างถูกต้องและครบถ้วน เพราะบริษัทของเราเต็มไปด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และมากประสบการณ์ในเรื่องการจัดหาแรงงานต่างด้าว นอกจากนี้เรายังพร้อมให้บริการดูแล แก้ไขปัญหา และให้คำปรึกษาแก่นายจ้างและแรงงานอย่างถูกต้องเท่าเทียม โดยคุณไม่ต้องเสียเวลามาศึกษาเรื่องเอกสารเอง สามารถติดต่อเราได้เลย 02-018-8688