แนวโน้มของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยที่เกิดขึ้นในเวลานี้

แนวโน้มของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยที่เกิดขึ้นในเวลานี้

ปฏิเสธไม่ได้ว่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันอัตราความต้องการของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเหตุผลหลายประการ ไม่ว่าภาคธุรกิจกลุ่มใดก็ตามมองว่าบุคคลเหล่านี้มีความสำคัญพร้อมช่วยต่อยอดผลลัพธ์ให้ออกมาน่าพึงพอใจ ช่วยสร้างการเติบโตของธุรกิจ และยังเป็นแรงขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย ซึ่งแนวโน้มที่เกิดขึ้นก็มีเหตุผลในตัวเองอยู่หลายด้านเช่นกัน 

แนวโน้มแรงงานต่างด้าวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังโรคระบาด

หากย้อนกลับไปในช่วงปี 2563 จำนวนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในเมืองไทยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ประมาณ 2.5 ล้านคน โดยเฉพาะในกรุงเทพมีเฉียด 5 แสนคน แต่หลังการแพร่ระบาดของโรคช่วง 2-3 ปี ก่อนหน้าอัตราแรงงานจึงลดลงเหลือราว 1.4 ล้านคน หรือกว่า 52% เหตุเพราะนอกจากความน่ากลัวของโรคแล้วบรรดาองค์กรหลายแห่งต้องมีการปรับตัว เปลี่ยนแนวทางการจ้างงาน รวมถึงจำนวนไม่น้อยต้องหยุดการทำงานชั่วคราว

กระทั่งหลังความรุนแรงของโรคลดน้อยลง แนวโน้มแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในเมืองไทยกลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง จากสถิติช่วงไตรมาส 1 ปี 2566 กระทรวงแรงงาน ระบุว่ามีแรงงานต่างด้าวเข้ามาอยู่ทำงานมากกว่า 2.7 ล้านคน คิดเป็น 6.92% ของแรงงานทั้งหมดในเมืองไทย สูงกว่าช่วงก่อนโรคระบาดด้วยซ้ำ ซึ่งกลุ่มธุรกิจที่ให้ความสำคัญ ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้าง การเกษตร ปศุสัตว์ และงานด้านบริการต่าง ๆ

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของแรงงานต่างด้าว

จากสถิติและตัวเลขที่ระบุเอาไว้คงพอเห็นภาพชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับความต้องการแรงงานต่างด้าวมีอัตราสูง ขณะที่ตัวแรงงานเองก็ยินดีเข้ามาหารายได้ในประเทศไทย ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถวิเคราะห์ถึงปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนแรงงานต่างด้าว ดังนี้

1. อัตราค่าแรงในประเทศไทยสูงกว่า

หากเทียบเฉลี่ยอัตราค่าแรงในเมืองไทยขั้นต่ำ 300 บาท สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านติดอันดับ 5 ของอาเซียน ส่งผลถึงแรงงาน 3 ประเทศยอดนิยมที่เข้ามาทำงาน นั่นคือ เมียนมาร์ ค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ย 90 บาท / วัน ลาว ค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ย 144 บาท / วัน และกัมพูชา ค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ย 217 บาท / วัน จึงนิยมเข้ามาหารายได้ที่เมืองไทยมากกว่า คุ้มค่ากับการลงแรง แถมค่าครองชีพก็ไม่ได้หนีห่างกันมากนัก

2. ความเข้ากันได้ของแรงงานไทยและต่างด้าว

มีรายงานยืนยันจากองค์กรที่เกี่ยวข้องระบุว่าแรงงานต่างด้าวกับแรงงานไทยสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ คนต่างด้าวเองมักไม่ค่อยสร้างปัญหาหรือชวนทะเลาะเบาะแว้งใด ๆ มากนักเนื่องจากพวกเขาเกรงใจและกลัวหากมีปัญหาแล้วจะถูกส่งตัวกลับประเทศ ขณะที่แรงงานไทยจำนวนมากก็มีอัธยาศัยดี เห็นอกเห็นใจผู้อื่น นายจ้างจำนวนไม่น้อยดูแลลูกจ้างทุกคนเหมือนกับคนในครอบครัว ผลลัพธ์จึงออกมาน่าพึงพอใจทุกฝ่าย 

3. ทักษะการทำงานมีมาตรฐานชัดเจน

หากได้ศึกษาการหาแรงงานต่างด้าวตามแผน MOU จะรู้ว่ากว่าจะได้แรงงานมาสักคนต้องผ่านการประเมินทักษะและความเชี่ยวชาญในระดับหนึ่ง ดังนั้นนายจ้างที่เลือกแรงงานถูกกฎหมายเหล่านี้จึงมั่นใจเต็มร้อยเลยว่าพวกเขามีทักษะมากพอในการทำงานให้เกิดผลลัพธ์อันน่าพึงพอใจสูงสุด ขณะที่บางเรื่องหากมีข้อสงสัย ไม่มั่นใจ ก็พร้อมเรียนรู้ เปิดรับสิ่งใหม่เพื่อสร้างทักษะให้กับตนเองอยู่เสมอ นั่นหมายถึงกรณีที่นายจ้างมีปัญหากับตำแหน่งงานของแรงงานบางคนก็สามารถทดแทนด้วยทักษะของแรงงานต่างด้าวแบบไม่ต้องกังวลใจ หรืออย่างน้อยงานสามารถเดินได้ต่อ

4. ความขยันและความต่อเนื่องในการทำงาน

หากลองสังเกตแรงงานตามโรงงาน แรงงานแคมป์ก่อสร้าง หรืออีกหลายธุรกิจจะพบว่ากลุ่มแรงงานต่างด้าวมีความขยัน อดทน ซื่อสัตย์ ตั้งใจทำงานของตนเองเป็นอย่างยิ่ง สามารถทำให้เนื้องานเดินหน้าด้วยความต่อเนื่อง ไม่ต้องหยุดงานเนื่องจากขาดคน ต่างกับแรงงานไทยบางกลุ่มมีนิสัยหลบงาน อู้งาน ลาโดยไม่มีสาเหตุอันเหมาะสม รวมถึงการเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ ซึ่งบ่อยครั้งก็ดูเกินความจำเป็นมากไป จึงไม่แปลกที่นายจ้างจำนวนมากจะหันมาใช้บริการของกลุ่มคนต่างด้าวมากกว่า

5. ความคุ้มค่าในการจ้างงาน

ปัจจัยสุดท้ายที่อยากอธิบายคือความคุ้มค่าในการจ้างแรงงาน ไม่ใช่มองแค่เรื่องค่าแรงที่นายจ้างต้องจ่ายตามกฎหมาย แต่ด้วยความขยัน อดแทน มีทักษะดี เรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ ส่งผลให้เกิดความคุ้มค่าในมุมมองเชิงธุรกิจ ตัวอย่างง่าย ๆ คือ คนไทยไม่ทำงานที่มีความสกปรกหรือไม่ถูกสุขลักษณะ แรงงานต่างด้าวจึงต้องรับผิดชอบหน้าที่ตรงนี้แทน ไปจนถึงการทำงานในสภาพแวดล้อมไม่ปลอดภัย เป็นต้น ด้วยเหตุนี้เมื่อประเมินกับต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายแล้วยังไงก็คุ้มกว่าหลายเท่าแบบไม่ต้องมีข้อสงสัยอื่นใด

เมื่อแนวโน้มของแรงงานต่างด้าวในเมืองไทยเพิ่มสูงขึ้น ปริมาณแรงงานย่อมต้องถูกมองหาเพิ่มเป็นเรื่องปกติ องค์กรไหนที่กังวลใจเรื่องความยุ่งยากตั้งแต่จัดเตรียมเอกสาร ข้อกำหนดตามกฎหมาย และอื่น ๆ ขอแนะนำบริการจาก Jobsworker ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดหาแรงงานต่างด้าวครบวงจรของเมืองไทย  ทั้งในเรื่องของการจัดหาแรงงานคุณภาพและเรื่องเอกสารแรงงานต่างด้าว เนื่องจากมีผลทางกฎหมาย จึงจำเป็นต้องใช้บริการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ  พร้อมให้คำปรึกษาทั้งฝั่งนายจ้างและลูกจ้าง เน้นความรวดเร็ว คัดสรรเฉพาะคนมีทักษะจริงเพื่อสร้างคุณภาพให้กับผลงาน

ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มลูกค้าก่อสร้างอาคาร อสังหาริมทรัพย์ ลูกค้าธุรกิจงานบริการ ร้านอาหาร โรงแรม รวมถึงกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมฝ่ายผลิต ใช้บริการที่นี่แบบเบ็ดเสร็จ One Stop Service คุ้มค่า ตอบโจทย์ในทุกมิติของการจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างแท้จริง ยืนยันโดยลูกค้าจำนวนมากที่เคยร่วมงานกับเรา