แนะนำอาชีพที่แรงงานต่างด้าวสามารถทำได้ในสายงานบริการ

แนะนำอาชีพที่แรงงานต่างด้าวสามารถทำได้ในสายงานบริการ

กลุ่มธุรกิจบริการคืออีกประเภทที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของเมืองไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวด้วยเมืองไทยของเราแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย ยิ่งหลังการแพร่ระบาดที่ธุรกิจประเภทนี้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งธุรกิจจึงเกิดความต้องการแรงงานเป็นอย่างมาก แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีงานบางประเภทที่พนักงานคนไทยไม่ค่อยนิยมทำจนต้องอาศัยแรงงานต่างด้าว คำถามคือจะมีอาชีพไหนที่แรงงานเหล่านี้ทำได้บ้าง?

เช็กลิสต์อาชีพของแรงงานต่างด้าวในปัจจุบัน

ประกาศฉบับล่าสุดจากกระทรวงแรงงานได้มีการกำหนดห้ามแรงงานต่างด้าวประกอบอาชีพจำนวน 40 รายการ โดยมีอาชีพห้ามเด็ดขาดอยู่ 27 รายการ และงานให้ทำได้แบบมีเงื่อนไข 13 รายการ แบ่งออกได้ ดังนี้

1. อาชีพห้ามแรงงานต่างด้าวทำเด็ดขาด

  • งานแกะสลักไม้ 
  • งานขับขี่ยานยนต์ ยกเว้นงานขับรถยก (Forklift) 
  • งานขายทอดตลาด 
  • งานเจียระไนเพชร / พลอย 
  • งานตัดผม / เสริมสวย 
  • งานทอผ้าด้วยมือ 
  • งานทอเสื่อ หรืองานทำเครื่องใช้ด้วยกก หวาย ฟาง ไม้ไผ่ ขนไก่ เส้นใย ฯลฯ 
  • งานทำกระดาษสาด้วยมือ 
  • งานทำเครื่องเขิน 
  • งานทำเครื่องดนตรีไทย 
  • งานทำเครื่องถม 
  • งานทำเครื่องทอง / เงิน / นาก 
  • งานทำเครื่องลงหิน 
  • งานทำตุ๊กตาไทย 
  • งานทำบาตร 
  • งานทำผ้าไหมด้วยมือ 
  • งานทำพระพุทธรูป 
  • ทำร่มกระดาษ/ผ้า 
  • งานนายหน้า/ตัวแทน 
  • งานนวดไทย 
  • งานมวนบุหรี่ 
  • งานมัคคุเทศก์ 
  • งานเร่ขายสินค้า 
  • งานเรียงอักษร 
  • งานสาวบิดเกลียวไหม 
  • งานเลขานุการ 
  • งานบริการทางกฎหมาย

2. อาชีพห้ามแรงงานต่างด้าวทำโดยมีเงื่อนไข

เป็นอาชีพที่ให้แรงงานต่างด้าวทำได้จากข้อตกลงตามพันธกรณีระหว่างประเทศตามบทบัญญัติกฎหมาย ได้แก่

  • วิชาชีพบัญชี
  • วิชาชีพวิศวกรรม
  • วิชาชีพสถาปัตยกรรม

3. อาชีพห้ามแรงงานต่างด้าวทำโดยมีเงื่อนไข

จะมีลักษณะคล้ายกับประเภท 2 แต่เงื่อนไขนี้เกี่ยวข้องกับงานฝีมือหรือกึ่งฝีมือซึ่งต้องมีนายจ้างชัดเจน ได้แก่

  • งานกสิกรรม 
  • งานช่างก่ออิฐ / ช่างไม้ / ช่างก่อสร้างอาคาร 
  • งานทำที่นอน 
  • งานทำมีด 
  • งานทำรองเท้า 
  • งานทำหมวก 
  • งานประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย 
  • งานปั้นเครื่องดินเผา

4. อาชีพห้ามแรงงานต่างด้าวทำโดยมีเงื่อนไข

เงื่อนไขนี้แรงงานต้องมีนายจ้างและมีการอนุญาตให้เข้าประเทศตามกฎหมายคนเข้าเมืองภายใต้ข้อบันทึก ข้อตกลง บันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยได้ทำกับรัฐบาลประเทศนั้น ๆ (MOU) ได้แก่

  • งานกรรมกร
  • งานขายของหน้าร้าน

อาชีพสายงานบริการที่แรงงานต่างด้าวทำได้

จากประเภทอาชีพต่าง ๆ ที่กล่าวมาจะเห็นว่ามีอยู่พอสมควรที่แรงงานต่างด้าวไม่สามารถทำได้เนื่องจากทางรัฐบาลมองว่าจะเป็นการแย่งอาชีพคนไทย ส่งผลเสียระยะยาวกับประเทศในอนาคตอันใกล้ อย่างไรก็ตามงานบริการหลายอาชีพก็ยังคงสามารถจ้างงานได้ตามปกติ ซึ่งอาชีพที่อยากมาแนะนำ ประกอบด้วย

1. พนักงานยกกระเป๋าโรงแรม

หนึ่งในอาชีพที่ส่วนมากพบเห็นแรงงานต่างด้าวได้ทั่วไป ยิ่งโรงแรมขนาดกลางจนถึงขนาใหญ่เป็นตำแหน่งสำคัญคอยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่เข้ามาพัก มีตั้งแต่การยกกระเป๋าจากรถที่มาส่ง ยกจากเคาน์เตอร์ด้านหน้าส่งถึงห้องพัก เป็นต้น

2. พนักงานทำความสะอาดร้านอาหาร โรงแรม ห้างสรรพสินค้า

แม้ด้วยตำแหน่งไม่เชิงให้บริการกับตัวบุคคลโดยตรง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าอาชีพแม่บ้านหรือพนักงานทำความสะอาดคือสิ่งที่ทุกคนพบเห็นได้ ยิ่งทำความสะอาดดีเท่าไหร่ลูกค้าก็รู้สึกประทับใจและอยากกลับมาใช้บริการต่อเนื่องในอนาคต แรงงานต่างด้าวจึงมีความสำคัญมากทีเดียว

3. พนักงานเสิร์ฟ

อาชีพด้านบริการที่ธุรกิจสามารถจ้างแรงงานต่างด้าวได้ พบเห็นทั่วไปในร้านอาหารหลายแห่ง ไม่เข้ากฎข้อห้ามใด ๆ ด้วยไม่มีการรับเงิน ทอนเงิน มีแค่นำเงินไปให้กับฝ่ายบัญชีของร้านเท่านั้น หากร้านไหนยอดขายดี มีคนเยอะ การจ้างงานก็สูงตามไปด้วย

4. พนักงานบริการอื่น ๆ

นอกจาก 3 อาชีพบริการหลักที่แรงงานต่างด้าวสามารถทำได้ สามารถพบเห็นได้ทั่วไปก็ยังมีอาชีพอื่น ๆ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายระบุเอาไว้ด้วย เช่น งานขายของหน้าร้านค้า ร้านของฝากทั่วไปตามบันทึกข้อตกลง MOU งานลูกมือช่างเสริมสวย ช่างตัดผม รวมถึงการนวดมือ นวดเท้า เพื่อบริการความสบายให้กับลูกค้า เป็นต้น งานเหล่านี้นับเป็นสิ่งที่พี่น้องต่างด้าวสามารถสมัครแล้วเริ่มหาเงินให้ตนเองเลย

นายจ้างและแรงงานปฏิบัติตามกฎหมายลดความเสี่ยงโทษ

การกำหนดอาชีพสำหรับแรงงานต่างด้าวขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนสามารถปฏิบัติตามได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่เป็นงานแย่งงานคนไทยทำ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติตามอย่างยิ่ง ไม่เช่นนั้นอาจต้องรับโทษตามกฎหมาย เช่น 

  • นายจ้างทำการจ้างแรงงานต่างด้าวโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือให้ทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำ โทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท / แรงงานต่างด้าวหนึ่งคน หากกระทำผิดซ้ำต้องมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามจ้างแรงงานต่างด้าวทำงานเป็นเวลา 3 ปี 
  • คนต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำ โทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท และยังถูกผลักดันส่งกลับประเทศต้นทางด้วย

หากธุรกิจบริการใดสนใจจ้างแรงงานต่างด้าวถูกต้องตามกฎหมาย หรืออยากทราบว่าทำไมต้องทำเอกสารแรงงานต่างด้าวให้ถูกต้อง อยากดำเนินการรวดเร็ว ไม่ต้องยุ่งยากตามขั้นตอนทั้งหมดด้วยตนเอง  Jobswoker ผู้ให้บริการจัดหาแรงงานต่างด้าวครบวงจร ยินดีแนะนำ ปรึกษา เพื่อความถูกต้องและจ้างงานอย่างมีประสิทธิภาพ