
23 ธ.ค. อัพเดตล่าสุด กฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ 2562 นายจ้างควรรู้
ถึงเวลาที่นายจ้างจะต้องอัพเดตข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานต่างด้าว เพราะใบอนุญาตทำงานของลูกจ้างกำลังจะหมดอายุลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า นอกจากนี้ ในปี 2562 ได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายแรงงานต่างด้าวในหลายประเด็น หากนายจ้างละเลย ไม่ติดตามข่าวสาร อาจส่งผลให้ทำผิดกฎหมายโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ กฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ 2562 มีความสำคัญและมีหลายเรื่องที่นายจ้างควรรู้ ดังนี้
จ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ถ้าไม่ต่อใบอนุญาตก่อนมีนาคม 2563
นายจ้างที่มีแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา เมียนมาร์ และลาวที่อยู่ในกลุ่มดังต่อไปนี้จะต้องดำเนินการขอใบอนุญาตทำงานใหม่ก่อนที่ใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุ
- กลุ่มบัตรชมพู หมดอายุวันที่ 30 กันยายน 2562
- กลุ่มบัตรชมพู หมดอายุวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562
- กลุ่มบัตรชมพู หมดอายุวันที่ 31 มีนาคม 2563
กฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ 2562 กำหนดให้การขอใบอนุญาตทำงานในครั้งนี้เป็นการทำ MOU กรณีพิเศษ คือ แรงงานต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยไม่ต้องกลับไปประเทศต้นทาง ช่วยให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยได้ไม่เกิน 2 ปี โดยสามารถประทับตราขออยู่ต่อได้ครั้งละไม่เกิน 1 ปี แรงงานต่างด้าวกลุ่มที่ใบอนุญาตทำงานหมดอายุก่อนวันที่ 31 มีนาคม 2563 จะได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 ส่วนกลุ่มที่หมดอายุตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2563 จะได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565
สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ไม่ต้องการต่ออายุใบอนุญาตจะต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง หากยังอยู่ต่อจะถือว่าทำผิดกฎหมาย มีโทษทั้งนายจ้างและลูกจ้าง คือ
- นายจ้าง: ปรับ 10,000-100,000/ลูกจ้าง 1 คน ถ้าพบว่าทำผิดครั้งที่สอง ปรับ 50,000-200,000/ลูกจ้าง 1 คน จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามนำเข้าแรงงานต่างด้าวเป็นเวลา 3 ปี
- ลูกจ้าง: ปรับ 5,000-50,000 บาท และถูกส่งกลับประเทศ รวมถึงห้ามขอใบอนุญาตทำงานเป็นเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับโทษ
นายจ้างควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดเพื่อจะได้ดำเนินการได้อย่างถูกต้องทุกขั้นตอน หากไม่สะดวกหรือไม่แน่ใจว่าการต่ออายุใบอนุญาตทำงานต้องทำอย่างไรบ้างสามารถให้บริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าวที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นมืออาชีพช่วยจัดการให้
กฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ 2562 คุ้มครองลูกจ้างมากกว่าเดิม
นายจ้างบางคนอาจจะยังไม่ทราบว่าแรงงานต่างด้าวได้รับสิทธิคุ้มครองตามกฎหมายเหมือนกับแรงงานไทย ซึ่งกฎหมายแรงงานฉบับใหม่ได้เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับลูกจ้างมากกว่าเดิม เพื่อให้ลูกจ้างมีความมั่นคงในการทำงานและมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยกฎหมายคุ้มครองแรงงานปี 2562มีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้
- กรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทน
หากนายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทนตามเวลา รวมไปถึงกรณีที่นายจ้างไม่คืนหลักประกันที่เป็นเงิน ไม่จ่ายเงินกรณีเลิกสัญญาโดยไม่บอกล่วงหน้า ไม่จ่ายค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด หรือเงินชดเชยกรณีหยุดกิจการ นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยให้ลูกจ้างในระหว่างเวลาที่ผิดนัด 15% ต่อปี - กรณีเปลี่ยนนายจ้าง
หากมีการเปลี่ยนตัวนายจ้างจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง และนายจ้างใหม่ต้องให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่ลูกจ้างเคยได้รับจากนายจ้างเดิม - กรณีบอกเลิกสัญญา
หากนายจ้างบอกเลิกสัญญาโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับตั้งแต่วันที่ให้ลูกจ้างออกจากงานจนถึงวันที่การเลิกสัญญาจ้างมีผล - กรณีหยุดกิจการชั่วคราว
หากนายจ้างมีความจำเป็นที่ต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่า 75% ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการ ตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้าง - การลากิจ
ลูกจ้างมีสิทธิลากิจได้ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน และจะได้รับค่าจ้างตามปกติหากลาไม่เกิน 3 วันทำงานในหนึ่งปี - การลาคลอดบุตร
ลูกจ้างหญิงลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน 98 วัน ซึ่งรวมถึงวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรด้วย โดยนายจ้างจ่ายเงินให้เท่ากับค่าจ้างไม่เกิน 45 วัน - ความเท่าเทียมของลูกจ้างชายและหญิง
ลูกจ้างชายและหญิงต้องได้รับค่าจ้างในอัตราที่เท่ากัน รวมไปถึงค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด หากงานที่ทำมีลักษณะ คุณภาพ และปริมาณเท่ากัน
ค่าแรงขั้นต่ำแรงงานต่างด้าวเท่ากับแรงงานไทยหรือไม่ ?
นอกจากจะได้รับสิทธิคุ้มครองตามกฎหมายแล้ว แรงงานต่างด้าวยังได้รับค่าแรงขั้นต่ำเทียบเท่ากับแรงงานไทย ถึงแม้ว่าจะทำให้นายจ้างมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ทำให้นายจ้างมีโอกาสเลือกแรงงานต่างด้าวที่มีคุณภาพ เพราะค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้แรงงานต่างด้าวจำนวนมากสนใจเข้ามาทำงานในประเทศไทย รวมถึงทำให้นายจ้างมีลูกจ้างทำงานบางประเภทที่แรงงานไทยไม่อยากทำ เช่น งานก่อสร้าง งานในโรงงานอุตสาหกรรม งานขนของ เป็นต้น
แต่ละจังหวัดมีอัตราค่าแรงขั้นต่ำแตกต่างกัน นายจ้างควรตรวจสอบข้อมูลให้ดีว่าจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่มีอัตราค่าแรงขั้นต่ำเป็นเท่าไร ปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอยู่ที่ 325 บาทต่อวัน แต่เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2562 ได้มีการปรับขึ้นค่าแรงทั่วประเทศ โดยค่าแรงขั้นต่ำของกรุงเทพมหานครและปริมาณฑลอยู่ที่ 331 บาทต่อวัน มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป
นายจ้างหรือผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างเป็นแรงงานต่างด้าวจะต้องอัพเดตข่าวสารอยู่ตลอด จะได้ปฏิบัติตนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อผลประโยชน์ของตัวนายจ้างเองและแรงงานต่างด้าว หากใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานต่างด้าวสามารถสอบถามกระทรวงแรงงานได้ที่เบอร์ 1506 หรือโทรมาที่เบอร์ 02-018-8688 เพื่อปรึกษาจ๊อบส์ เวิร์คเกอร์ เซอร์วิส บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ ที่ให้บริการครบวงจรตั้งแต่นำเข้าแรงงานต่างด้าวไปจนถึงให้คำปรึกษาแก่นายจ้างและแรงงานอย่างเท่าเทียม เพราะเราดูแลแรงงานดุจญาติมิตร ดูแลนายจ้างเหมือนหุ้นส่วนร่วมลงทุน