มติ ครม. ล่าสุด เห็นชอบแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าว

มติ ครม. ล่าสุด เห็นชอบแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าว

ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันแรงงานต่างด้าวยังคงถือเป็นกำลังสำคัญในหลายภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ ทว่านับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคส่งผลกระทบโดยตรงต่อปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าว นั่นจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ทางคณะรัฐมนตรีต้องมีการประชุมเรื่องนี้กันอย่างเร่งด่วน กระทั่งมีมติ ครม. ออกมาล่าสุดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 เห็นชอบให้มีการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานต่างด้าวด้วยการปรับข้อกฎหมายบางตัวรองรับตามความเหมาะสมของสถานการณ์ในปัจจุบัน มาศึกษามติในเรื่องนี้กันได้เลย

มติ ครม. ล่าสุด 5 กรกฎาคม 2566 แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานต่างด้าว

คณะรัฐมนตรีได้มีการลงมติเห็นชอบในเรื่องแนวทางบริหารจัดการเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมายจากการเสนอของกระทรวงแรงงาน ทั้งกลุ่มแรงงานเถื่อน แรงงานที่ไม่มีเอกสาร การเข้ามาเมือไทงแบบผิดกฎหมาย แรงงานที่อยู่ตามสัญญา MOU 4 หรือ 6 ปี แล้วแจ้งออกเกิน 60 วัน รวมถึงผู้ที่ยังดำเนินการตามมติต่าง ๆ ไม่เรียบร้อย ประกอบด้วย

1. เห็นชอบด้านบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

กลุ่มแรงงานที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ประสงค์ทำงานต่อสามารถอยู่ได้ชั่วคราวจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 แต่มีเงื่อนไขต้องดำเนินการตามประกาศที่กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงานได้ออกไว้ ได้แก่

1.1 แรงงานต่างด้าว 4 สัญชาติ ทั้งที่มีพาสปอร์ตหรือเอกสารแทน จะหมดอายุหรือไม่ก็ตาม มีตราประทับ การอนุญาตให้ทำงานหรืออยู่อาศัยสิ้นสุดตามผลกฎหมาย เช่น ลาออกจากนายจ้างเดิมแต่ยังหานายจ้างใหม่ไม่ได้ตามเวลาที่กำหนด หรือทำงานต่อไม่ได้เพราะการดำเนินงานของ ครม. ที่ผ่านมายังไม่ครบถ้วน

1.2 แรงงานต่างด้าว 4 สัญชาติ มีพาสปอร์ตหรือเอกสารแทน มีตราประทับ ระยะเวลาในการอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยหมดลงแต่ยังไม่ได้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร

1.3 แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา) เข้าเมืองมาแบบผิดกฎหมายหรือกาอนุญาตให้อยู่ในประเทศหมดแล้ว แต่ยังทำงานกับนายจ้างก่อนมีมติเห็นชอบจากทาง ครม. 

2. เห็นชอบด้านการดำเนินงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2.1 กระทรวงมหาดไทย

ทางกระทรวงได้ออกประกาศโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี ดังนี้

  • คนต่างด้าวตามข้อ 1 อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นพิเศษถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 เพื่อให้ดำเนินการตามประกาศของกระทรวงแรงงาน
  • ผู้ติดตาม (บุตร) ของต่างด้าวตามข้อ 1 อายุไม่เกิน 18 ปี อยู่ในราชอาณาจักรได้ตามเวลาที่พ่อแม่ของบุคคลนั้นได้รับอนุญาต ซึ่งตัวผู้ติดตามหรือพ่อแม่ชาวต่างด้าวต้องดำเนินการตามแนวทางที่กระทรวงแรงงานกำหนดไว้
  • นำเอามาตรา 12 (10) และมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ 1/2558 เรื่อง การไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาในราชอาณาจักร ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 เข้ามาใช้งานกับคนต่างด้าว และมีการกำหนดการสิ้นผลสำหรับการอยู่ในเมืองไทยเป็นกรณีพิเศษ

ปล. กระทรวงมหาดไทยได้ทำการยกร่างประกาศเรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม สามารถอยู่ต่อได้แต่มีเงื่อนไขคือต้องรีบดำเนินการให้แล้วเสร็จ รวมถึงต้องมีการขอ Namelist ให้ทันก่อนวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566

2.2 กระทรวงแรงงาน

มีการออกประกาศของกระทรวง อาศัยอำนาจตามมาตรา 14 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดเอาไว้ดังนี้

  • นายจ้างต้องทำการยื่นบัญชีรายชื่อและรูปถ่ายเพื่อแสดงความประสงค์ในการจ้างแรงงานต่างด้าวกับกรมการจัดหางาน
  • กรมการจัดหางานทำการตรวจและอนุมัติบัญชีรายชื่อที่นายจ้างแจ้งเอาไว้ถึงความประสงค์ในการจ้างแรงงานต่างด้าว และให้แรงงานเหล่านี้ใช้บัญชีรายชื่อเป็นหลักฐาน เป็นการแสดงตัวตนว่าแรงงานต่างด้าวถูกผ่อนผันให้ยังคงอยู่อาศัยและทำงานในราชอาณาจักรไม่เกินวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 

ปล. กระทรวงแรงงานได้ทำการยกร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566

มติ ครม. เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวล่าสุด

นอกจากประกาศตามมติของ ครม. ในเรื่องของการให้อยู่อาศัยและทำงานของแรงงานต่างด้าวจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 แล้ว ก็ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมน่าสนใจเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวอัปเดตล่าสุดมาให้ผู้ประกอบการได้เตรียมวางแผนเอาไว้ มีแรงงานคุณภาพทำงานเพื่อพัฒนาศักยภาพขององค์กรต่อไป

  • ครม. มีการอนุมัติให้ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 ตามประกาศกระทรวงแรงงานออกมาให้ทำการยื่นบัญชีรายชื่อ แต่ตอนนี้ยังอยู่ในขั้นที่ให้เตรียมเอกสารเพื่อรอการขึ้นทะเบียนเท่านั้น ยังไม่มีการแจ้งขั้นตอน ระยะเวลาการอยู่อาศัย และค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น อย่าหลงกลมิจฉาชีพเด็ดขาด
  • สำหรับแรงงานต่างด้าวที่เตรียมสำหรับขึ้นทะเบียนใหม่กรณีสัญชาติเมียนมาร์ ลาว กัมพูชา มีพาสปอร์ตหรือไม่มีก็ตาม ปัจจุบันอยู่แบบผิดกฎหมาย ยกเว้นสัญชาติเวียดนามต้องมีพาสปอร์ตแต่ปัจจุบันยังอยู่ในสถานะผิดกฎหมาย ด้านขั้นตอนแบบครบถ้วนรอประกาศอีกครั้ง

สรุปประกาศของกระทรวงแรงงาน เรื่อง การขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว

ขอสรุปประกาศของกระทรวงแรงงาน เรื่อง การขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวให้เป็นไปตามมติ ครม. วันที่ 5 กรกฎาคม 2566 ประกอบด้วย

  • ทำการยื่นบัญชีรายชื่อผ่านระบบออนไลน์ (นายจ้างสามารถทำด้วยตนเองได้ แต่ถ้าไม่สะดวก Jobsworker พร้อมดูแลให้แบบครบวงจร)
  • เอกสารต้องยื่นก่อนวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 
  • ระหว่างนี้ยังคงทำงานได้ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 แบบไม่ผิดกฎหมายใด ๆ (แต่ถ้าพลาดรอบบนี้อาจต้องรอมติให้ยื่นขึ้นทะเบียนใหม่ ซึ่งยังไม่สามารถระบุวัน-เวลาที่แน่ชัดได้)
  • กลุ่มที่ขึ้นทะเบียนไม่ต้องแจ้งเข้าบัตรสีชมพู

จากมติ ครม. ล่าสุด ถือว่าช่วยให้ทั้งนายจ้างแรงงานพร้อมดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด และสามารถจ้างงานต่อเนื่องได้แบบไม่ต้องกังวลใจเรื่องใดทั้งสิ้น ทั้งนี้หากธุรกิจบริการใดสนใจจ้างแรงงานต่างด้าวแบบถูกต้องตามกฎหมาย แต่ยังขาดความเข้าใจ ไม่อยากเสียเวลาเตรียมเอกสารและดำเนินการด้วยตนเองให้ยุ่งยาก Jobsworker ในฐานะผู้ให้บริการจัดหาแรงงานต่างด้าวครบวงจรยินดีดูลในเรื่องนี้เพื่อการจ้างงานที่มีประสิทธิภาพ สบายใจกว่าแน่นอน