
18 พ.ค. เพราะอะไรทำไมถึงต้องทำเอกสารแรงงานต่างด้าวให้ถูกต้อง
เอกสารแรงงานต่างด้าว เป็นเรื่องสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ ผู้ประกอบการที่ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว จะต้องดำเนินการส่วนนี้ให้ถูกต้อง หากเลือกใช้บริการบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าวก็ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ เช่นเดียวกับ Jobsworker ที่ก่อตั้งมากว่า 20 ปี และทำงานร่วมกับบริษัทต่างๆ มากกว่า 20 แห่ง จึงค่อนข้างแม่นยำในเรื่องของการจัดทำเอกสารแรงงานต่างด้าวที่ถูกต้อง
ความสำคัญของเอกสารแรงงานต่างด้าว
แรงงานต่างด้าวเมื่อเข้าประเทศมาเพื่อทำงาน จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องจะมีเอกสารที่พิสูจน์ได้ว่าผ่านการขึ้นทะเบียนแล้ว ทำให้เอกสารแรงงานต่างด้าวมีความสำคัญ กรณีที่มีการตรวจสอบ และพบว่าแรงงานต่างด้าวไม่มีเอกสารที่ถูกต้อง จะถูกส่งกลับประเทศ ส่วนผู้ประกอบการเองก็จะถูกดำเนินคดีตามข้อบังคับกฎหมายแรงงานต่างด้าว
เอกสารแรงงานต่างด้าว มีอะไรบ้าง
- หนังสือเดินทาง (Passport) หรือเอกสารแทนหนังสือเดินทาง มีตราประทับ Non Immigrant L-A ที่ยังไม่หมดอายุ
- วีซ่าที่ยังไม่หมดอายุ
- ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) เล่มสีน้ำเงิน หรือใบอนุญาตทำงานที่ยังไม่หมดอายุ และต้องระบุนายจ้างตรงกับที่ทำงานปัจจุบัน
- บัตรประจำตัวซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู ต่างด้าว) ซึ่งด้านหลังมีใบอนุญาตทำงานและยังไม่หมดอายุ
เอกสารทั้ง 4 อย่างนี้จะแสดงให้เห็นว่าแรงงานต่างด้าวคนนั้น เป็นแรงงานต่างด้าวที่ผ่านการขึ้นทะเบียนแล้ว และสามารถทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
เอกสารที่ใช้ทำเรื่องขออยู่ต่อแรงงานต่างด้าว
แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือกรณีที่นายจ้างเป็นบุคคลธรรมดาและนายจ้างเป็นนิติบุคคล
กรณีนายจ้างเป็นบุคคลธรรมดา ต้องใช้เอกสาร ดังนี้
- หนังสือเดินทาง (Passport)
- แบบคำขอ ตม.7
- สำเนาหนังสือเดินทางและสำเนาบัตรขาออก (ตม.6) (สำเนาทุกหน้าที่มีข้อมูล)
- สำเนาใบอนุญาตทำงานปีปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ (สำเนาใบรับคำขอใบอนุญาตทำงานพร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน)
- สำเนา ทร.38/1 (ต้องรับรองสำเนา)
- สำเนาใบรับรองแพทย์ (ต้องรับรองสำเนา)
- แผนที่หรือสำเนาแสดงที่ทำงานและที่พักของแรงงานต่างด้าว
- หนังสือรับรองแรงงานต่างด้าวเข้าทำงาน (นายจ้างเป็นผู้ลงนามเท่านั้น)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของนายจ้าง (ต้องรับรองสำเนา)
- สำเนาทะเบียนบ้านของนายจ้าง (ต้องรับรองสำเนา)
- สำเนาใบโควตาปีปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ (ต้องรับรองสำเนา)
- หนังสือมอบอำนาจ (กรณีนายจ้างมาไม่ได้)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
กรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคล ต้องใช้เอกสาร ดังนี้
- หนังสือเดินทาง (Passport)
- แบบคำขอ ตม.7
- สำเนาหนังสือเดินทางและสำเนาบัตรขาออก (ตม.6) (สำเนาทุกหน้าที่มีข้อมูล)
- สำเนาใบอนุญาตทำงานปีปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ (สำเนาใบรับคำขอใบอนุญาตทำงานพร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน)
- สำเนา ทร.38/1 (ต้องรับรองสำเนา)
- สำเนาใบรับรองแพทย์ (ต้องรับรองสำเนา)
- แผนที่หรือสำเนาแสดงที่ทำงานและที่พักของแรงงานต่างด้าว
- หนังสือรับรองแรงงานต่างด้าวเข้าทำงาน (นายจ้างเป็นผู้ลงนามเท่านั้น)
- สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนของนิติบุคคล เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดฉบับนายทะเบียนรับรอง ไม่เกิน 6 เดือน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของนายจ้าง (ต้องรับรองสำเนา)
- สำเนาทะเบียนบ้านของนายจ้าง (ต้องรับรองสำเนา)
- สำเนาใบโควตาปีปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ (ต้องรับรองสำเนา)
- หนังสือมอบอำนาจ (กรณีนายจ้างมาไม่ได้)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
หมายเหตุ กรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคล เอกสารรายการที่ 8-13 ต้องประทับตราบริษัทด้วย
กรณีคนต่างด้าวไม่มีเอกสารอะไรเลย
สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังหาคนต่างด้าวมาทำงาน แต่พบว่าคนต่างด้าวไม่มีเอกสารอะไรเลย ให้สันนิษฐานว่าเป็นการหลบหนีเข้าเมืองแบบผิดกฎหมาย กรณีนี้จะต้องส่งตัวกลับประเทศไปก่อน และทำเรื่องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าว MoU มาใหม่
เพื่อการจ้างแรงงานต่างด้าวที่ถูกต้องตามกฎหมาย ผู้ประกอบการควรดำเนินการเรื่องเอกสารให้ถูกต้อง ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่ซับซ้อน แนะนำสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการจัดการเรื่องนี้ด้วยตนเอง สามารถใช้บริการ Jobsworker ผู้ให้บริการจัดหาแรงงานต่างด้าวมืออาชีพ รองรับการทำเอกสารต่างด้าว one stop service ที่มาพร้อมประสบการณ์กว่า 20 ปี ให้บริการครบวงจร และพร้อมให้คำปรึกษาด้านการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว ดำเนินการด้านเอกสาร ไปจนถึงต่ออายุพาสปอร์ตต่างด้าว