ทำธุรกิจ ทำไมต้องใส่ใจสิทธิมนุษยชนของแรงงานต่างด้าว

การประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ไม่เพียงแต่จะต้องคำนึงถึงคุณภาพของสินค้าหรือบริการเท่านั้น แต่การเอาใจใส่เรื่องสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มแรงงาน ก็เป็นอีกหนึ่งพื้นฐานที่สำคัญเช่นกัน  เพราะการปฏิบัติต่อแรงงานจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กรด้วย ดังนั้น องค์กรควรมีแนวทางการทำธุรกิจที่สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างครอบคลุมตามกฎหมายของประเทศและหลักการสากล 

สิทธิมนุษยชนคืออะไร

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกับสิทธิมนุษยชนกันก่อน สิทธิมนุษยชน หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่มีมาแต่กำเนิด และความเสมอภาคที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ ศาสนา เพศ สีผิว ภาษา เผ่าพันธุ์ หรือสถานะอื่นใด โดยปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าร่วมภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน ที่คุ้มครองบุคคลที่อยู่ในเขตอำนาจรัฐ 7 ด้าน ได้แก่

  1. สิทธิเด็ก
  2. สิทธิสตรีที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ 
  3. สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง 
  4. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
  5. สิทธิคนพิการ 
  6. การห้ามเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ
  7. การห้ามการทรมาน การปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรี

จะเห็นได้ว่าทั้งแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวชาติใด ๆ ต่างก็มีสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานกันทั้งนั้น จึงเป็นเรื่องที่นายจ้างไม่ควรมองข้าม 

ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นบ่อย

ปัจจุบันพบว่าองค์กรภาคธุรกิจหลายแห่งได้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลายด้านและเกิดขึ้นหลายครั้ง ซึ่งรวมถึงการละเมิดสิทธิแรงงานต่างด้าวด้วย เช่น ไม่มีสัญญาจ้าง การจ้างงานไม่เป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายแรงงาน หรือการขัดขวางจัดตั้งสหภาพแรงงาน ผู้หญิงได้รับค่าจ้างต่ำกว่าผู้ชายหรือเลิกจ้างเมื่อตั้งครรภ์ รวมไปถึงความปลอดภัยในการทำงาน เช่น การทำงานติดต่อเป็นเวลานานเกินไปจนเจ็บป่วย และการเลือกปฏิบัติต่อลูกจ้างจากอคติทางเชื้อชาติ เพศ ศาสนา อายุ ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมในองค์กร ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจได้อย่างคาดไม่ถึง

อย่างไรก็ตามประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น ไม่ได้มีเพียงด้านแรงงานเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สิทธิในที่อยู่อาศัยและการประกอบอาชีพ และสิทธิของผู้ใช้บริการอีกด้วย โดยประเทศไทยได้มีมติประกาศใช้แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน หรือแผน NAP ระยะที่ 1 ช่วงระหว่างปี 2562-2565 เพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ

ทำไมธุรกิจต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน

เรื่องสิทธิมนุษยชนสามารถเชื่อมโยงกับเรื่องอื่น ๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบและปัญหาต่าง ๆ ตามมาในการทำธุรกิจ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม ควรเรียนรู้และใส่ใจเกี่ยวกับกฎหมายสิทธิมนุษยชน ยึดเป็นหลักปฏิบัติหนึ่งขององค์กร โดยการเคารพสิทธิมนุษยชนในองค์กรนั้นอาจมีส่วนในการสร้างสรรค์ผลงาน พัฒนาศักยภาพของแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจมากมาย ดังนี้

  • เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการสร้างผลตอบแทนทั้งทางการเงินและสังคม
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้เสีย
  • สร้างภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดี รวมทั้งได้รับความไว้วางใจจากสาธารณชน
  • ปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงเพื่อสร้างความน่าสนใจในการลงทุนมากขึ้น
  • สร้างการมีส่วนร่วมและขวัญกําลังใจ รวมถึงความปลอดภัยและสุขอนามัยที่ดีให้กับพนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย
  • ส่งผลในทางบวกต่อการสรรหา จูงใจ และรักษาพนักงาน ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถด้านทรัพยากรบุคคล

การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม

การอยู่ในสภาพการทำงานที่ดี มีความยุติธรรม และการเลือกทำงานได้ตามความต้องการนั้น เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงาน ธุรกิจต้องปฏิบัติตามกฎหมายและเคารพสิทธิของแรงงาน โดยมีขอบเขตการปฏิบัติต่อแรงงาน ดังนี้ 

ขอบเขตของการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม

1. เคารพสิทธิในการทำงานตามหลักสิทธิมนุษยชน และตามปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การ แรงงานระหว่างประเทศ 

  • การไม่เลือกปฏิบัติ ได้แก่ การไม่แบ่งแยก กีดกัน สร้างอคติ หรือลำเอียงในการจ้างงาน
  • การไม่ใช้แรงงานบังคับ คือ ไม่เกี่ยวข้องหรือได้รับผลประโยชน์ อันเกิดจากการเกณฑ์แรงงาน โดยวิธีขู่เข็ญว่าจะลงโทษ ซึ่งทำให้บุคคลผู้นั้นขาดความสมัครใจที่จะทำงาน  
  • การไม่ใช้แรงงานเด็ก หมายถึงกำลังแรงงานนั้นต้องเป็นผู้ที่มีอายุไม่น้อยกว่า 15 ปีและต้องจบการศึกษาภาคบังคับแล้ว  
  • การเคารพในสิทธิและเสรีภาพของพนักงานที่จะรวมกลุ่มเป็นสมาคมและเจรจาต่อรองร่วม โดยทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างต่างมีสิทธิ ที่จะจัดตั้งองค์กรของตนที่ตนเป็นผู้เลือก ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายและ/หรือกฎระเบียบกิจการ  

2. ให้ความคุ้มครองทางสังคม การคุ้มครองสภาพการทำงานของลูกจ้าง 

  • การจ่ายค่าจ้างและค่าตอบแทนในรูปแบบต่าง ๆ เวลาทำงาน การหยุดพักผ่อน วันหยุด 
  • การลงโทษทางวินัย  
  • การให้ออกจากงาน 
  • การคุ้มครองแรงงานหญิงตั้งแต่ตั้งครรภ์ไปจนถึงคลอดบุตร
  • การจัดสวัสดิการต่าง ๆ เช่น น้ำ ดื่มที่สะอาดปลอดภัย อาชีวอนามัยในสถานประกอบการ โรงอาหาร การเข้าถึงบริการทาง การแพทย์ที่สถานประกอบการจะจัดหาให้ตลอดจนการให้หลักประกัน ความมั่นคง เมื่อต้องว่างงาน เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ชราภาพ หรือสูญเสียชีวิต

3. ให้ความคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน

  • การส่งเสริมและรักษามาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีของแรงงาน ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ  
  • การป้องกันไม่ให้มีการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนปลอดจากความเสี่ยงด้านสุขภาพ

จะเห็นได้ว่าสิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน เจ้าของธุรกิจจึงต้องคำนึงถึงเรื่องนี้อยู่เสมอ เพราะนอกจากจะเป็นการทำตามหลักจริยธรรมแล้ว ยังช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่น ผู้ประกอบการที่ต้องการจ้างแรงงานสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา จึงควรเลือกบริษัทที่สามารถนำเข้าแรงงานต่างด้าวได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายอย่างบริษัท นำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ จ๊อบส์ เวิร์คเกอร์ เซอร์วิส จำกัด เพราะเราดูแลแรงงานดุจญาติมิตร ดูแลนายจ้างประหนึ่งหุ้นส่วน สนใจติดต่อ 02-018-8688