ความต้องการแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย

ความต้องการแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย

หากพูดถึงความต้องการแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยนั้น นับว่ายังมีตัวเลขที่สูงและมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง Jobsworker ยังคงตอบโจทย์ในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้บุกเบิกธุรกิจบริการจัดหาแรงงานต่างด้าวแบบครบวงจร ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2544 นับเป็นเวลากว่า 20 ปีที่เราทำงานตรงนี้ และทำงานร่วมกับลูกค้านิติบุคคลเราน่าจะเคยทำงานให้มาเกิน 1000 แห่ง จึงสั่งสมประสบการณ์เรื่อยมาจนเกิดความเชี่ยวชาญ

ความต้องการแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง พบข้อมูลที่เผยในเว็บไซต์กรมจัดหางานเกี่ยวกับการรายงานผลสำรวจจากกระทรวงแรงงานในปี 2564 ที่แสดงถึงความต้องการแรงงานต่างด้าวสูงกว่า 4 แสนราย แบ่งเป็น สัญชาติเมียนมา 256,029 คน สัญชาติกัมพูชา130,138 คน และสัญชาติลาว 38,536 คน 

หากย้อนกลับไปในอดีตจะพบว่าประเทศไทย มีความต้องการแรงงานต่างด้าวที่สูงขึ้นทุกปี จากข้อมูลของสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน ซึ่งเผยในเอกสารรายงานสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจ การแรงงานระหว่างประเทศ และการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ บนเว็บไซต์กระทรวงแรงงาน พบว่า สถิติจำนวนแรงงานข้ามชาติ ในประเทศไทยย้อนหลังตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2554 จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2563 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จำนวนแรงงานข้ามชาติเฉลี่ย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี มีบางช่วงเวลาที่มีจำนวนของแรงงานข้ามชาติเพิ่มขึ้นอย่างมาก นั่นคือช่วงต้นปี พ.ศ.2555 หลังเหตุการณ์มหาอุทกภัยครั้งใหญ่ปี พ.ศ.2554 ที่ผู้ประกอบการต้องการเร่งฟื้นฟูกิจการ

ต่อมาในช่วงกลางปี พ.ศ.2562 เป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่จำนวนแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่าง ผิดปกติ เนื่องจาก คณะรัฐมนตรีได้มีมติผ่อนปรนแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของแรงงานต่างด้าว ปี พ.ศ.2562 – 2563 โดยได้ยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา และยกเว้นค่าเปรียบเทียบปรับการอยู่เกินกำหนด (Over Stay) 

จากข้อมูลหลายด้านจะเห็นว่าแรงงานต่างด้าว คือความต้องการที่สำคัญของประเทศไทย โดยมีผลโดยตรงกับเศรษฐกิจไทย เนื่องจากเกี่ยวพันกับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน จากลักษณะงานบางอย่างที่ไม่สามารถหาแรงงานไทยมาใช้บริการได้ และแรงงานต่างด้าวคือกำลังสำคัญในสายงานนั้น 

ทั้งนี้กรมจัดหางานได้จัดทำเอกสารรายงานสถิติการทำงานของคนต่างด้าวประจำเดือน เมษายน พ.ศ.2566 และได้เผยถึงข้อมูลจำนวนแรงงานต่างด้าว MoU ทั้งหมด 567,509 คน ทั้งยังไ้ด้แสดงถึงข้อมูลประเภทอาชีพที่ได้รับอนุญาตทำงานมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กิจการก่อสร้างจำนวน 102,891 ตำแหน่ง กิจการต่อเนื่องการเกษตรจำนวน 99,923 ตำแหน่ง และการให้บริการต่างๆ จำนวน 49,419 ตำแหน่ง

ด้วยความต้องการแรงงานต่างด้าวที่สูงของผู้ประกอบการในไทย ทำให้รัฐบาลเข้มงวดในเรื่องของการนำเข้าแรงงานต่างด้าวมากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศและความปลอดภัยของประชาชน เนื่องจากสถานการณ์การจ้างแรงงานต่างด้าวยังคงมีผู้ประกอบการบางรายที่ลักลอบนำเข้าแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย โดยกระทรวงแรงงานได้ออกคำเตือนต่อนายจ้างถึงการกระทำดังกล่าว ว่ามีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 –100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน หากทำผิดซ้ำมีโทษถึงจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 – 200,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามจ้างคนต่างด้าวทำงานอีก 3 ปี 

ทำให้ภาระการนำเข้าแรงงานต่างด้าวเป็นหนึ่งเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบ ซึ่งในปัจจุบันก็มีบริการจัดหาแรงงานต่างด้าวหลายรายในท้องตลาด แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงให้มากที่สุด ก็คือการเลือกผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญ ทั้งในเรื่องของการจัดหาแรงงานคุณภาพและเรื่องเอกสารแรงงานต่างด้าว เนื่องจากมีผลทางกฎหมาย จึงจำเป็นต้องใช้บริการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ

หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ที่มีความต้องการหาแรงงานต่างด้าวหรือหาคนงานต่างด้าว แนะนำบริการ Jobsworker ผู้ให้บริการนำเข้าแรงงานต่างด้าวครบวงจร พร้อมจัดทำเอกสารแรงงานต่างด้าว one stop service ครอบคลุมการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว การทำบัตรชมพู ต่างด้าว และต่ออายุพาสปอร์ตต่างด้าว