
03 พ.ค. การส่งต่อแรงงานต่างด้าวที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์ กับการจ้างงานผ่านตัวแทน(บนจ.)ที่ถูกกฎหมายและปลอดภัย
ในครั้งนี้ทางบทความจะพูดถึงแรงงานข้ามชาติหรือแรงงานต่างด้าว โดยจะเป็นเนื้อหาที่เปรียบเทียบระหว่างการส่งต่อแรงงานต่างด้าวและการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านตัวแทน ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ในแง่ของผู้ประกอบการ ควรเลือกแบบไหนถึงจะดีกว่า ซึ่งเนื้อหาส่วนนี้ค่อนข้างสำคัญ เพราะผู้ประกอบการหลายคนยังไม่รู้ถึงความสำคัญของการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านตัวแทน โดยเฉพาะในแง่ของการกฎหมาย และอาจยังไม่รู้ถึงผลกระทบที่จะตามมาในภายหลัง
แรงงานต่างด้าว คืออะไร?
แรงงานต่างด้าว ก็คือคนทำงานในพื้นที่ที่ไม่ใช่พื้นที่ที่ตัวเองถือสัญชาติ อย่างในประเทศไทยหากมีคนทำงานชาติอื่นที่ไม่ใช่สัญชาติไทย ก็คือแรงงานต่างด้าว ทั้งนี้ยังได้มีการกำหนดความหมายตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 เอาไว้ว่า “คนต่างด้าว” หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย และกำหนดไว้ว่า คนต่างด้าวจะทำงานได้เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมการจัดหางานหรือเจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีมอบหมายเท่านั้น
นอกจากนี้องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ได้ให้ความหมายของ “แรงงานข้ามชาติ” ไว้ในอนุสัญญาฉบับที่ 97 ว่าด้วยการอพยพเพื่อการทำงาน (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) มาตรา 11 คือ หมายถึง บุคคลที่ย้ายถิ่นจากประเทศหนึ่งเพื่อที่จะไปทำงานมากกว่าที่จะไปใช้จ่ายเงินของตนเอง และรวมถึงบุคคลใดๆ ที่โดยปกติแล้วได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้อพยพเพื่อทำงาน
การส่งต่อแรงงานต่างด้าว คืออะไร?
การส่งต่อแรงงานต่างด้าว คือ การจัดหาแรงงานต่างด้าวแบบไม่ผ่านตัวแทนที่เป็นรูปบริษัทขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย เป็นการจัดหาผ่านบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ส่งต่อแรงงานต่างด้าวไปยังอีกบุคคลหนึ่ง ผู้ประกอบการมักจะหาแรงงานต่างด้าวจากคนรู้จัก หรือคนรู้จักของคนรู้จักอีกที แล้วทำการส่งต่อแรงงานต่างด้าวมาให้เป็นทอดๆ ผู้จัดหาแรงงานต่างด้าวก็ได้ค่านายหน้าไปเป็นค่าตอบแทน ซึ่งส่วนมากการส่งต่อแรงงานต่างด้าวในลักษณะนี้มักไม่ถูกกฎหมาย หรือมักจะเป็นแรงงานเถื่อนนั่นเอง
ข้อดี
การส่งต่อแรงงานต่างด้าว ผ่านคนรู้จักหรือคนรู้จักของคนรู้จักอีกที มักมีราคาถูกกว่าการไปหาแรงงานผ่านตัวแทนที่เป็นรูปบริษัทซึ่งมีการขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย เพราะไม่มีการดำเนินการในเรื่องของเอกสาร และไม่มีการขึ้นทะเบียนที่ถูกต้อง จึงไม่มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ นายหน้าที่จัดหาแรงงานต่างด้าวมาให้จึงตั้งค่านายหน้าเอาไว้ต่ำกว่าอัตราจัดหาแรงงานต่างด้าวผ่านตัวแทน โดยข้อดีที่พบมีเพียงเรื่องของค่านายหน้าที่ถูกกว่าเท่านั้น ขณะที่ข้อเสียที่พบมักมีมากกว่า
ข้อเสีย
ผู้ประกอบการได้แรงงานต่างด้าวเถื่อน ที่ไม่ผ่านการขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย ซึ่งแรงงานเถื่อนมีข้อเสียหลายอย่างมาก เนื่องจากการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว ทางการได้มีการกำหนดคุณสมบัติต่างๆ เอาไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แรงงานที่สามารถขึ้นทะเบียนได้จะต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม ทำให้ข้อเสียของการจ้างแรงงานต่างด้าวจากการส่งต่อแรงงานต่างด้าวแบบกันเอง ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน คือได้แรงงานที่ไม่ผ่านการคัดกรองตามมาตรฐาน อาจมีปัญหาบางอย่าง เช่น แรงงานที่มีประวัติอาชญากรรม แรงงานที่ไม่ผ่านการตรวจสุขภาพและมีโรคติดต่อร้ายแรง เป็นต้น
หรือบางครั้งผู้ประกอบการอาจจะนำแรงงานต่างด้าวมาจากนายหน้า และดำเนินการขึ้นทะเบียนเอง ซึ่งสามารถทำได้เช่นกัน แต่ผู้ประกอบการจะต้องเสียเวลาในการดำเนินเรื่องเอง หากสะดวกหรือไม่ขัดข้องเรื่องนี้ หนทางนี้ก็ถือเป็นทางเลือกที่ดี แต่ถ้าหากไม่สะดวก เพราะไม่แม่นเรื่องเอกสารหรือไม่แม่นเรื่องวิธีการ ก็ควรหลีกเลี่ยงที่จะดำเนินเอกสารเอง เพราะอาจตกหล่นได้และส่งผลเสียในด้านกฎหมาย
ข้อเสียอีกหนึ่งเรื่องคือกรณีที่ผู้จัดหาแรงงานต่างด้าวมาให้หรือนายหน้าหลอกลวงว่าเป็นแรงงานต่างด้าวที่ผ่านการขึ้นทะเบียนแล้ว เพื่อตั้งค่านายหน้าที่สูงขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนที่ถูกต้อง ทำให้ผู้ประกอบการได้แรงงานเถื่อนที่มีราคาสูงกว่าปกติอีกด้วย
การจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านตัวแทน คืออะไร?
การจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านตัวแทน คือ การจัดหาแรงงานต่างด้าวแบบผ่านตัวแทนที่เป็นรูปบริษัทขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย หรือที่เรียกว่าการบริการนำเข้าแรงงานต่างด้าว (MOU) ซึ่งบริษัทเหล่านี้จดทะเบียนดำเนินการนำเข้าแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมาย มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของเอกสาร และมีความรู้ด้านกฎหมายการจ้างแรงงานต่างด้าว มีความน่าเชื่อถือสูง
มีบริการนำเข้าแรงงานต่างด้าวแบบครบวงจร ผู้ประกอบการเพียงแค่ติดต่อกับทางบริษัท ก็สามารถรอรับแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายได้เลย ไม่ต้องดำเนินการด้านเอกสารเอง
ข้อดี
ได้แรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายแน่นอน โดยที่ผู้ประกอบการหรือผู้ว่าจ้างไม่ต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนด้วยตัวเอง ช่วยลดระยะเวลาในการดำเนินการเรื่องดังกล่าว ไม่ต้องเสี่ยงโดนนายหน้าหลอกลวงเรื่องการนำเข้าแรงงานต่างด้าวขึ้นทะเบียน (แต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนจริง) มาให้
ข้อเสีย
มักมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการจัดหาแรงงานจากการส่งต่อแรงงานต่างด้าวผ่านบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
สรุปข้อดีข้อเสียการส่งต่อแรงงานต่างด้าว
ข้อดี
เสียค่านายหน้าต่ำกว่าการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านตัวแทน
ข้อเสีย
- ได้แรงงานต่างด้าวเถื่อน มีความเสี่ยงทางด้านกฎหมาย
- เสี่ยงต่อการได้แรงงานต่างด้าวที่มีประวัติอาชญากรรม
- เสี่ยงต่อการได้แรงงานต่างด้าวที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น เป็นโรคติดต่อร้ายแรง
- หากต้องการเปลี่ยนแรงงานเถื่อนให้ถูกกฎหมาย ผู้ว่าจ้างต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนเอง ซึ่งมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและซับซ้อน
- เสี่ยงถูกนายหน้าหลอกลวงว่าเป็นแรงงานต่างด้าวที่ผ่านการขึ้นทะเบียนแล้ว แต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนจริง
สรุปข้อดีข้อเสียการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านตัวแทน
ข้อดี
- ได้แรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมาย
- ได้แรงงานต่างด้าวที่ผ่านการคัดกรองเรื่องประวัติอาชญากรรม
- ได้แรงงานต่างด้าวที่ผ่านการคัดกรองด้านสุขภาพ เพราะแรงงานต่างด้าวผ่านตัวแทนต้องตรวจสุขภาพตามข้อกำหนด
- ผู้ว่าจ้างไม่ต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนเอง ซึ่งมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและซับซ้อน
- ไม่ต้องเสี่ยงถูกนายหน้าหลอกลวงว่าเป็นแรงงานต่างด้าวที่ผ่านการขึ้นทะเบียนแล้ว แต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนจริง
ข้อเสีย
เสียค่านายหน้าสูงกว่าการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านตัวแทน
ทั้งหมดนี้ก็เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการส่งต่อแรงงานต่างด้าวกับการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านตัวแทน ซึ่งเปรียบเทียบให้มองเห็นภาพชัดขึ้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้ว่าจ้างหรือผู้ประกอบการที่กำลังมองหาแรงงานต่างด้าว สุดท้ายนี้ขอแนะนำอีกครั้งว่าการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านตัวแทนย่อมดีกว่าการจัดหาแรงงานต่างด้าวผ่านบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยเฉพาะในแง่ของกฎหมาย
Jobs Worker เป็นกำลังใจให้นายจ้างและแรงงานต่างชาติทุกคนนะคะ และถ้ามีใครต้องการ บริการจัดหาแรงงานต่างด้าวแบบครบวงจร ติดต่อ จ๊อบส์ เวิร์คเกอร์ เซอร์วิส ได้เลยวันนี้