การต่อวีซ่าและใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวให้ทันเวลา นายจ้างต้องปฏิบัติและเตรียมตัวอย่างไร

การต่อวีซ่าและใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวให้ทันเวลา นายจ้างต้องปฏิบัติและเตรียมตัวอย่างไร

ปัจจุบันมีหลายองค์กรที่เลือกการจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน รวมถึงกลุ่มนิติบุคคล เช่น ร้านค้าทั้งหลาย ด้วยเหตุผลสำคัญคือแรงงานเหล่านี้จะมีความขยันขันแข็ง หนักเบาเอาสู้ มีฝีมือได้คุณภาพตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ อย่างไรก็ตามเหล่าลูกจ้างต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในเมืองไทยทุกคนต้องมีการทำวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ซึ่งจะมีอายุตามกำหนดเวลาของเอกสารนั้น ๆ และเมื่อใกล้หมดอายุก็ต้องรีบดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอน คำถามที่นายจ้างหลายคนสงสัยคือ แล้วตอนนี้มาตราการล่าสุดในการต่อวีซ่ากับใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวตนเองต้องปฏิบัติและเตรียมพร้อมอย่างไรเพื่อให้ทันเวลา ลองมาหาคำตอบกันเลย

นายจ้างเตรียมตัวและปฏิบัติในการต่อวีซ่าของแรงงานต่างด้าวให้ทันเวลา

วีซ่าถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยบ่งบอกได้ชัดเจนว่าบุคคลต่างสัญชาติสามารถเข้ามาพำนักอาศัยในเมืองไทยได้เป็นการชั่วคราวตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งแรงงานต่างด้าวเองหากคิดทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายก็ต้องขอเอกสารตัวนี้ให้เรียบร้อย และเมื่อใกล้จะหมดอายุยังมีหน้าที่ต้องรีบดำเนินการต่ออายุให้เสร็จสิ้นก่อน ตรงนี้เองที่นายจ้างก็ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งเรื่องการเตรียมตัวและการปฏิบัติตามขั้นตอน

  1. ทำการตรวจเช็กวันหมดอายุของวีซ่าแรงงานต่างด้าวทุกคนเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถดำเนินการได้ทัน และควรรีบต่ออายุก่อนวันหมดอายุจริงอย่างน้อย 30 วัน 
  2. พาแรงงานของตนเองไปทำการตรวจสุขภาพตามเงื่อนไขที่กำหนด
  3. ให้แรงงานถ่ายรูปหน้าตรงเห็นหน้าชัดเจนขนาด 1.5 นิ้ว พื้นหลังสีขาว 1 รูป และรูปถ่ายครึ่งตัว พื้นหลังสีขาว พิมพ์ลงบนกระดาษ A4 1 รูป
  4. นายจ้างและลูกจ้างจัดเตรียมเอกสารของตนเองให้ครบถ้วน ได้แก่
  • เอกสารนายจ้างต้องใช้หนังสือรับรองบริษัทอายุไม่เกิน 3 เดือน ประทับตราบริษัท (สำหรับนิติบุคคล) บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน และทะเบียนการค้า (ถ้ามี)
  • เอกสารแรงงานต่างด้าวใช้หนังสือเดินทางตัวจริง ใบอนุญาตทำงานตัวจริง รูปถ่ายตามที่ระบุ ใบรับรองแพทย์และใบเสร็จค่าตรวจร่างกาย
  1. นายจ้างติดต่อกับบริษัทรับดำเนินการต่อวีซ่าคนต่างด้าว (จะสะดวกที่สุด) จากนั้นทางบริษัทจะมีเอกสารแบบฟอร์มให้เซ็นและชำระเงินค่าบริการ เพียงเท่านี้ทางบริษัทต่อวีซ่าก็จะดำเนินการให้จนเสร็จสิ้น

นายจ้างเตรียมตัวและปฏิบัติในการต่อใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวให้ทันเวลา

นอกจากวีซ่าแล้วใบอนุญาตทำงานหรือ Work Permit ก็เป็นอีกสิ่งที่ขาดไม่ได้เป็นอันขาด เพราะนี่คือเอกสารที่ใช้ยืนยันว่าชาวต่างชาติหรือแรงงานต่างด้าวสามารถทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการเตรียมตัวของนายจ้างเองก็ใกล้เคียงกับการต่อวีซ่า โดยต้องดำเนินการดังนี้

การเตรียมตัวและปฏิบัติของนายจ้างบุคคลธรรมดา

เอกสารของคนต่างด้าว

  • หนังสือเดินทาง
  • แบบคำขอ ตม.7 
  • สำเนาหนังสือเดินทางและสำเนาบัตรขาออก (ตม.6) (สำเนาต้องใช้ทุกหน้าที่มีข้อมูล)
  • สำเนาใบอนุญาตทำงานปีปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ (สำเนาใบรับคำขอใบอนุญาตทำงานพร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน)
  • สำเนา ทร.38/1 รับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาใบรับรองแพทย์ รับรองสำเนาถูกต้อง
  • แผนที่หรือสำเนาแสดงที่ทำงานและที่พักของคนต่างด้าว

เอกสารของนายจ้าง

  • หนังสือรับรองคนต่างด้าวเข้าทำงาน (นายจ้างต้องเป็นผู้ลงนามเท่านั้น) 
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของนายจ้าง รับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาทะเบียนบ้านของนายจ้าง รับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาใบโควตาปีปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ รับรองสำเนาถูกต้อง
  • หากนายจ้างไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองต้องทำหนังสือมอบอำนาจตามแบบของ สตม. และติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

การเตรียมตัวและปฏิบัติของนายจ้างนิติบุคคล

เอกสารของคนต่างด้าว

  • หนังสือเดินทาง
  • แบบคำขอ ตม.7 
  • สำเนาหนังสือเดินทางและสำเนาบัตรขาออก (ตม.6) (สำเนาต้องใช้ทุกหน้าที่มีข้อมูล)
  • สำเนาใบอนุญาตทำงานปีปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ (สำเนาใบรับคำขอใบอนุญาตทำงานพร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน)
  • สำเนา ทร.38/1 รับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาใบรับรองแพทย์ รับรองสำเนาถูกต้อง
  • แผนที่หรือสำเนาแสดงที่ทำงานและที่พักของคนต่างด้าว

เอกสารของนายจ้าง

  • หนังสือรับรองคนต่างด้าวเข้าทำงาน (นายจ้างต้องเป็นผู้ลงนามเท่านั้น) 
  • สำเนาหลักฐานจดทะเบียนนิติบุคคล อาทิ หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท 
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของนายจ้าง รับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาทะเบียนบ้านของนายจ้าง รับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาใบโควตาปีปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ รับรองสำเนาถูกต้อง
  • หากนายจ้างไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองต้องทำหนังสือมอบอำนาจตามแบบของ สตม. และติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

ทั้งนี้ เอกสารของนายจ้างนิติบุคคลทุกแผ่นยกเว้นสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจต้องมีการประทับตราบริษัททุกแผ่น

เมื่อเอกสารครบถ้วนแล้วสามารถทำการยื่นเอกสารทั้งหมดได้ทั้งผ่านช่องทางออนไลน์ (บริษัทต้องลงทะเบียน) เพื่อขอเข้าใช้ระบบ หรือเดินทางไปยังสำนักจัดหาแรงงานด้วยตนเองพร้อมกับแรงงานต่างด้าว จากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำในการทำตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง

เมื่อตัดสินใจจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานให้กับองค์กรของตนเอง การต่อวีซ่าและใบอนุญาตพวกเขาก็เป็นอีกสิ่งสำคัญที่นายจ้างทุกคนต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าแรงงานทุกคนสามารถทำงานอย่างไร้กังวล ผลลัพธ์ของงานออกมามีประสิทธิภาพ ธุรกิจเติบโตและพัฒนามากขึ้นกว่าเดิม